ทำไมเด็กฝึกงานไม่ควรทำงานฟรี

ในช่วงการฝึกงานทุกคนได้เจอการทำงานจริงตามตำแหน่ง ไม่ใช่การถ่ายเอกสารหรือชงกาแฟอีกแล้ว การที่ไม่มีสวัสดิการเข้าไปรองรับก็ทำให้ได้รับกระทบในการแบกรับภาระค่าใช้จ่าย นี่จึงเป็นช่องว่างระหว่างพนักงานในองค์กรและนักศึกษาฝึกงานที่ต้องทำงานฟรี

ทำไมการฝึกงานฟรีควรหมดไปได้แล้ว 🧒🏻

เริ่มต้นแล้วการเข้าฝึกงานมีขั้นตอนและกระบวนการหลายอย่าง ตั้งแต่การเดินทางและในบบขั้นตอนการสมัคร การยื่นเอกสาร ประวัติการทำงาน ไปจนถึงกระบวนการคัดเลือกอีกหลายครั้งอย่างต่ำอย่างน้อย 4 ขึ้นไป มีทั้งการทำแบบทดสอบ ทดสอบระดับ IQ และ EQ ความรู้เฉพาะทางวิชาชีพ ทดสอบความเข้ากันได้กับวัฒนธรรมองค์กร การสัมภาษณ์ที่ดูทั้งภาวะความเป็นผู้นำและการตัดสินใจ เราจะเห็นว่าทุกอย่างล้วนมีค่าใช้จ่าย ในขณะที่องค์กรเองก็ต้องการคนที่มีความสามารถเข้าไปทำงาน

ดังนั้น คนฝึกงาน ซึ่งคือต้นน้ำของห่วงโซ่อุปทานแรงงาน ถูกให้ความสำคัญก่อนที่จะเข้าไปเป็นแรงงานถูกต้องตามกฎหมาย แต่ ณ ตอนนี้คนฝึกงานยังคงไม่ใช่แรงงานตามกฎหมาย ซึ่งตรงนี้ก็เป็นช่องว่างที่ยังทำให้หลายองค์กรไม่ได้ให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่คนฝึกงานควรที่จะได้รับจากงานที่ทำลงไป

เมื่อเราดูข้อมูลบริษัทที่คนรุ่นใหม่อยากทำงานด้วยมากที่สุดในปี 2020 ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น Google, Line, Apple, ปตท., agoda, Shopee, ไทยเบฟเวอเรจ, Facebook, กลุ่มเซ็นทรัล และแสนสิริ ต่างก็จุดร่วมเดียวกันก็คือ เงินเดือนและสวัสดิการ ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่คนฝึกงานได้รับไม่ต่างกับพนักงานตามกฎหมายในองค์กร

ตอนนี้เรากำลังมีกลุ่มสมัชชาIntern ที่กำลังทำการสื่อสารและช่วยผลักดันร่าง พ.ร.บ. ฝึกงาน ให้กลายความหวังใหม่ที่จะยกระดับคุณภาพสวัสดิการของคนฝึกงานในประเทศไทย ภายใต้ข้อเสนอที่จะคุ้มครองผู้ฝึกงานใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ฝึกงาน, ข้อตกลง สัญญาการฝึกงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรอันชอบด้วยกฎหมายและ สิทธิขั้นพื้นฐานของการเป็นแรงงานที่ยุติธรรม ซึ่งมี 11 ข้อดังนี้

1. ให้มีสัญญาการฝึกงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างนายจ้าง ผู้ฝึกงาน และสถานศึกษา,
2. ให้ผู้ฝึกงานต้องมีอายุ 15 ปีขึ้นไป
3. ระยะการฝึกงานต้องไม่น้อยกว่า 2 เดือนและไม่เกิน 1 ปี ยกเว้นนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาชีพที่มีเงื่อนไขเฉพาะ
4. เวลาทำงานวันปกติไม่เกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
5. มีเวลาพักไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน หลังจากที่ทำงานมาแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมง
6. ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง หากลาป่วยเกิน 3 วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์แสดงต่อนายจ้าง
7. ห้ามทำงานในพื้นที่และรายละเอียดงานที่มีความเสี่ยงต่อันตราย
8. ห้ามฝึกงานในบ่อนการพนัน สถานที่ที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยมีผู้บำเรอปรนนิบัติลูกค้า อาบอบนวด
9. ค่าตอบแทนของการฝึกงานคิดเป็นรายชั่วโมงละ 50 บาท
10. มีบทลงโทษตามกฎหมายหากนายจ้างละเมิดผู้ฝึกงาน
และ 11.ระบุขอบเขตหน้าที่การฝึกงานอย่างชัดเจนในสัญญา

การผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.ฉบับนี้นั้น จะส่งผลให้คนฝึกงานได้มีสวัสดิการที่ดี และสร้างแรงงานที่มีคุณภาพให้กับองค์กร ผู้ประกอบการ หน่วยงาน รวมถึงการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับแรงงานในประเทศด้วย

นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอ โครงการค่าจ้างผู้ฝึกงานคนละครึ่งมีจุดประสงค์ในการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการฝึกงานขององค์กรผู้ประกอบการ ให้มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐบาล โดยการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายขององค์กรที่เปิดรับฝึกงานให้มีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลในอัตราส่วน 50% เป็นเงินไม่เกิน 5,000 บาท

กรณีที่องค์กรผู้ประกอบการตกลงที่จะเข้าร่วมโครงการ มีเงื่อนไขการเข้าร่วมให้องค์กรต้องเปิดให้นักศึกษาฝึกงานเข้าทำงานต่อหลังจากจบระยะเวลาฝึกงาน ซึ่งไม่ว่านักศึกษาจะเลือกทำงานต่อหรือไม่ก็ตาม องค์ที่ตกลงเข้าร่วมโครงการก็จะสามารถรับสิทธิในการลดค่าจ้างคนละครึ่งได้

การฝึกงานก็ถือเป็นการเข้าไปเป็นแรงงานในองค์กร ต่อให้จะเป็นนักศึกษาฝึกงานสุดท้ายก็เป็นแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าฝึกงานในระยะเวลาช่วงหนึ่งก็ตามก็ควรถูกมองว่าเป็นแรงงานคนหนึ่งที่เป็นฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้องค์กรไปข้างหน้า ดังนั้นสิทธิและสวัสดิการที่แรงงานได้รับ คนที่ฝึกงานก็ควรจะได้รับด้วยเช่นกัน

มาร่วมกันติดตาม ผลักดัน และพูดถึงเรื่องนี้กันต่อไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นสิทธิที่ควรได้รับของพวกเราคนฝึกงาน ได้ที่ สมัชชาIntern

Related Posts