Name-Calling ให้การบูลลี่จบที่รุ่นเรา

‘ไอแว่น’ ‘เนิร์ด’ ‘ไอกะเทย’ ‘ไอตี๋’ ‘สลิ่ม’ ‘ไอสามกีบ’ เคยตั้งชื่อให้ใครเพื่อเรียกเค้าคนนั้นมั้ย โดยที่เจ้าตัวยังไม่ได้แสดงการยอมรับกับชื่อนั้นแต่ก็เรียกจนชิน รู้มั้ยว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นของการบูลลี่

ตั้งแต่เรายังเด็ก หลายครั้งที่เรามักจะเจอการใช้ชื่อเรียกอื่นจากในความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมาก ๆ มาตลอด อย่างในครอบครัว กลุ่มเพื่อน โรงเรียน จนมายันที่ทำงาน ไม่ว่าจะเรียกด้วยฉายา เรียกด้วยท่าทางที่คนนั้นแสดงออก หรือแม้แต่เรียกด้วยชื่อบุพการี สิ่งนี้เป็นสถานการณ์พฤติกรรมที่เกิดขึ้นที่แทบจะทุกคนแล้วต้องเคยเจอมาก่อน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะผ่านมันไปได้ยังมีอีกหลายคนที่ยังเจ็บปวดกับมัน

ช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยยังคงต่อสู้เพื่อปกป้องการถูกบูลลี่ให้กับหลายคนที่ได้รับความเจ็บปวดกับสิ่งนี้ อย่าง 2 ปีที่แล้ว ตอนปี 2563 บ้านเราขึ้นเป็นอันดับ 2 ของโลกที่เป็นประเทศที่มีการบูลลี่บูลลี่ด้วยการใช้ตัวอักษรผ่านโซเชียลมีเดียมากที่สุดรองจากญี่ปุ่น จนมีเคสที่ต้องเข้ารักษาจิตใจ ยันเคสที่เลือกจากไปเพราะทนความเจ็บปวดจากการถูกบูลลี่ไม่ไหว

สิ่งนี้สะท้อนให้เรากลับไปมองจุดเริ่มต้นว่าการบูลลี่มันเริ่มจากอะไร และเราจะหยุดมันได้ยังไง

แม้ไม่ใช่คำด่าหรือการบูลลี่โดยตรงอย่างการล้อเลียนรูปลักษณ์ (Body shaming) ที่เราพยามยามรณรงค์มาตลอด แต่ Name-Calling หรือการตั้งชื่อและเรียกโดยที่คนที่เป็นเจ้าของตัวตนนั้นไม่ต้องการ หรือไม่ได้ยอมรับแสดงออกว่าให้เรียกได้

หลายคนเรียกใครด้วยชื่อที่ตัวเองคิดและตั้งให้จนชินแล้ว โดยที่ไม่รู้เลยว่านี่ก็ถือเป็นการบูลลี่รูปแบบหนึ่งและเป็นจุดเริ่มต้นของการบูลลี่ด้วยซ้ำที่สร้างความเจ็บปวดจนทำให้คนที่โดนต้องรู้สึกลบกับตัวเอง รวมถึงรู้สึกว่ากำลังถูกตีตรา

พอมองเรื่องนี้ตามแนวคิดที่อธิบายถึงลำดับขั้นของการโต้แย้งจากพีระมิดของ Pual Graham ก็พูดว่า Name-Calling (การเรียกด้วยฉายา) นี่แหละเป็นพื้นฐานของการแสดงพฤติกรรมผ่านคำพูดที่อยู่ระดับล่างสุด มันใช้ความคิดน้อยที่สุดด้วย แต่ผลของมันก็คือเป็นการแปะป้ายกับคนนั้น ที่สุดท้ายแล้วทำให้คนที่ถูกเรียกรู้สึกเสียคุณค่าในตัวเอง นับถือตัวเองต่ำลง และส่งผลระยะยาวกับสุขภาพจิต

เราเห็นกันแล้วว่าต่อให้ไม่ใช่แค่ชื่อเรียกที่ตั้ง ฉายา แต่ทั้งคำเหยียดเพศ คำหยาบ ล้อเลียนรูปลักษณ์ เหยียดรสนิยม เชื้อชาติ หรือแม้แต่มุกตลกและคำประดิษฐ์เชิงลบ พวกเราทุกคนหยุดวงจรนี้ได้ด้วยการไม่ส่งต่อ ไม่ใช้มัน ย้ำเตือนและประณามคนที่ใช้ถ้อยคำเหล่านี้ว่ามันเป็นอาวุธร้ายที่ควรจบลงที่รุ่นเราได้แล้ว

อย่าส่งต่อการบูลลี่และอย่ามองว่ามันเป็นแค่เรื่องตลกจนใช้เป็นเครื่องมือทำร้ายใคร

Related Posts