ทำไมเราหิวทุกครั้งเวลาเห็นโดนัท
เรื่องนี้สามารถอธิบายได้จากงานวิจัย Supra-Additive Effects of Combining Fat and Carbohydrate on Food Reward ในมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ที่ได้ทำการศึกษาการทำงานของสมองของกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครด้วยการให้ดูภาพอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ได้แก่ ลูกอม ชีส และโดนัท แล้วทำการแข่งกันประมูลว่าต้องการกินอะไรเป็นอาหารว่าง
ผลปรากฎว่าโดนัทเป็นอาหารที่กลุ่มอาสาสมัครทดลองพร้อมจ่ายและสู้ราคาประมูลมากที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบกับอาหารอื่น ๆ ที่มีเพียงคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล หรือไขมันอย่างเดียว โดนัทมีทั้ง 3 อย่างในปริมาณที่สูง ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ว่าทั้งคาร์โบไฮเดรตและไขมันที่สูงจะกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมสมองของเรา
โดยมันทำการกระตุ้นปมประสาทฐานสมอง (Striatum) ให้ส่งสัญญาณประสาทกระตุ้นความหิวพร้อมกับทำให้สมองของเราหลั่งสารโดปามีน ซึ่งเป็นสารความสุขออกมา นอกจากนี้การแต่งหน้าของโดนัทที่หลากหลายรสชาติและสีสัน ยิ่งทำให้เวลากินโดนัทเรายิ่งรู้สึกดี มีความสุขมาก ๆ เหมือนได้รับรางวัล
แล้วก็ยังมีข้อมูลอธิบายเพิ่มว่า เพราะว่าเรามีวิวัฒนาการในการเป็นนักล่าและหาอาหารมาก่อนซึ่งส่วนใหญ่มันคือพืชและเนื้อสัตว์ การเจออาหารที่มีทั้งคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูงที่ เป็นเรื่องใหม่ของเรา เป็นระบบใหม่ที่ล่อเราได้ง่ายมาก ๆ
ไม่แปลกที่เราจะต้านทานความหิวจากทุกครั้งเวลาที่เห็นโดนัทไม่ไหว หรือต่อให้ตัดใจไม่กินได้ เราก็มักจะหิวและจบลงด้วยการหาซื้อของกินหรือขนมที่มีทั้งแป้ง น้ำตาลและไขมันสูงอยู่ดี