เพลงที่เราชอบฟังตอนวัยรุ่น จะกลายเป็นเพลงที่เราเลือกฟังไปตลอดชีวิต

ทำไมเพลงที่เราชอบฟังตอนวัยรุ่น จะกลายเป็นเพลงที่เราเลือกฟังไปตลอดชีวิต

เพลงก็เหมือนเพื่อน อยู่กับเราในหลายช่วงเวลาสำคัญในชีวิต หนีไม่พ้นจริง ๆ ต่อให้เป็นคนที่ชอบฟังเพลงใหม่ ๆ สำรวจโลกดนตรีก็เป็นไปได้ที่สุดท้ายเราจะกลับไปฟังเพลงตามแนวที่ตัวเองชอบฟังตอนวัยรุ่น

เรื่องนี้มีเหตุผลทางจิตวิทยาที่อธิบาย ในช่วงวัยรุ่น ตั้งแต่ที่เราอายุ 12-22 ปี เป็นช่วงที่สมองของเรามีการพัฒนา ระบบความจำมีประสิทธิภาพสูงสุดในชีวิต (คาบเกี่ยวเป็นช่วงวัยรุ่นตอนปลายจนถึงผู้ใหญ่ตอนต้น) ทำให้เพลงที่เราฟังมีความเชื่อมโยงกับความทรงจำของเรามากที่สุด เราฟังเพลงแบบไหน เราเลยมีประการณ์ร่วมกับแนวเพลงนั้นเป็นพิเศษ

อธิบายเพิ่มว่ายิ่งเราฟังเพลงได้เพราะเท่าไหร่ สารโดปามีน (Dopamine) สารเคมีในสมองของเราก็ยิ่งหลั่งออกมา ซึ่งมันทำให้เราทำให้เรารู้สึกตื่นตัว มีสมาธิ และไวต่อสิ่งกระตุ้นรอบตัว และทำให้มีแพชชั่นมากขึ้นด้วย

ส่วนในแง่ความสัมพันธ์ ระหว่างเพลงที่เราฟังจะผูกติดกับเหตุการณ์ในชีวิตเราอย่างละเอียดมาก ๆ ผ่านความทรงจำมันเลยทรงพลังและยืนยาวมาก ๆ จนทำให้เวลาที่เราฟังเพลงเหมือนที่เราเคยฟังตอนนั้น เราจึงคุ้นชิน สบายใจ สำรวจความทรงจำ และรู้สึกเหมือนได้ย้อนกลับไปเสมอ

ยิ่งกว่านั้นเพลงก็ทำหน้าที่สร้างความผูกพันของเรากับคนใกล้ชิด ไม่ว่าจะแฟน เพื่อน ครอบครัว หรือคนที่เราเคยสนิท เพลงในตอนนั้นก็เลยฝังความทรงจำของเราให้ผูกพันกับคนเหล่านั้นมาตลอด

หรือในเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ อย่างเวลาที่เราเสียใจ ผิดหวัง เป็นเรื่องปกติที่เรามักฟังเพลงที่มีเนื้อหาหรือทำนองที่เศร้า ไม่จะเป็นแนวไหนก็ตาม สุดท้ายซาวด์ ทำนองเหล่านั้นก็กลายเป็นเพื่อนที่พาเรากลับไปหาความทรงจำที่เหมือนมาผ่านมาด้วยกันระหว่างเรากับเพลง นี่เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมเพลง เสียงดนตรี หลายครั้งถูกนำไปใช้เพื่อฟื้นฟู บำบัด คนที่เป็นอัลไซเมอร์หรือผู้ป่วยที่เสียความทรงจำ

นอกจากนี้ถ้าอธิบายในเชิงพฤติกรรม ช่วงวัยรุ่นก็เป็นช่วงที่เรากำลังค้นหาตัวตน อัตลักษณ์ของตัวเอง รวมถึงระบบความเชื่อด้วย ซึ่งเพลงที่เราฟังในช่วงนี้ก็เข้ามามีบทบาทและอิทธิในการสร้างสิ่งนี้ของเราด้วยนั่นเอง

และต่อให้ถึงปีเหล่านั้นผ่านไปแล้ว แต่ทุกครั้งที่ได้ยินเพลงที่เราชอบจากตอนนั้นก็ทำให้เราอยากที่จะฟังเพลงแนวเดิมอีก 🎧

 

อ้างอิง

Related Posts