เข้าใจคนใกล้ตัวที่เป็นแพนิคว่าเป็นอาการวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจริง ไม่ได้คิดไปเอง

เข้าใจคนใกล้ตัวที่เป็นแพนิคว่าเป็นอาการวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจริง ไม่ได้คิดไปเอง

รู้ไหมจริง ๆ อาการแพนิคเริ่มต้นเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และทุกคนมีสิทธิเป็นหรืออาจจะเคยผ่านมาแล้ว เคาส์ เบิร์นเฮาร์ดท์ (Klaus Bernhardt) ผู้เชี่ยวชาญโรควิตกกังวล เจ้าของคลินิคสถาบันเฉพาะทางบำบัดอาการหวาดกลัวกังวล กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน อธิบายว่าในชีวิตทุกคนจะเคยผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้สัมผัสกับอาการแพนิคเฉียบพลันมาก่อนอาจเห็นได้ชัดบ้างไม่ชัดบ้าง

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพนิค มาจากการกระตุ้นมีหลายอย่างมาก ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าการแพ้ยาอย่างยาปฏิชีวนะ การขาดวิตามินบี 12 ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ หรือแม้แต่การกินแป้งเยอะ ๆ จนท้องอืดก็ทำให้เกิดการแพนิคได้

ส่วนอาการแพนิคที่เกิดขึ้นคนที่เป็นจะมีความรู้สึกกังวล กลัว ตัวชา เกร็ง ใจสั่น ปวดท้อง ปวดกระเพาะ แน่นหน้าอก บางทีก็เจ็บแปลบขึ้นมา เวียนหัวหรืออาจะมีคันที่แขนขาร่วมด้วย

ที่ผ่านมาหลายคนจะเกิดความคิดอคติกับคนที่เป็นแพนิคมองว่าเป็นการคิดไปเอง นอกจากปัจจัยจากการแพ้หรือทางร่างกายที่เราพูดไปแล้ว เราเลยอยากให้มาเข้าใจคนที่แพนิคเพิ่มขึ้นผ่านความคิดของคนที่เป็นดูว่าเป็นยังไง

ในแง่ของความคิดของคนที่เป็น ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นเป็นประจำ อย่าแรกอาจะมีสาเหตุมาจากความคิดและความรู้สึกเชิงลบ มันส่งผลทำให้สมองสร้างสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่หลั่งแบบเดียวกับตอนที่มีความเครียดสูงทำให้กลายเกิดความวิตกกังวลได้ ซึ่งมันไม่ได้ออกมาทันทีแต่จะผ่านการเป็นชุดความกลัวที่ฝังสะสมไว้แล้วสุดท้ายก็เกิดอาการแพนิคขึ้น

ต่อมาสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง เราอาจจะคิดว่าคนที่แพนิคจะมีอาการตอนที่เจอสถานการณ์ที่กดดัน ตกใจ หรือเครียดเท่านั้น ในความจริงเวลาที่สงบ ๆ แพนิคก็เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะการที่นั่งอยู่เงียบ ๆ เวลากลางคืน เวลาอยู่บนถนนที่รถติดนาน ๆ หรือก่อนนอน เหตุผลเพราะว่าปกติแล้วสมองของเราปฏิกิริยาตลอดเวลา ไม่ใช่แค่เฉพาะตอนกดดันและเครียดเท่านั้นแต่เวลาที่เราสงบก็ด้วย

เลยทำให้กลายเป็นว่าเวลาที่คนที่เป็นแพนิค บางทียุ่งกับงาน วุ่นวายมากกับการทำบางอย่างจนในจิตใต้สำนึกมีเรื่องให้ต้องคิด ต้องทำ มากมายหลายอย่างเลยทำให้เป็นอิสระจากความวิตกกังวลอาการแพนิคเลยไม่โผล่ออกมา แต่เวลาที่กลับมาอยู่กับตัวเองเงียบ ๆ คนเดียว มันมีเวลามากพอที่จะครุ่นคิดจนความคิดต่าง ๆ นั้นกระตุ้นให้เกิดความกลัว วิตกกังวล และอาการแนพิคขึ้นมาได้นั่นเอง

ที่ทำความเข้าใจต่อสำหรับการกระตุ้นที่ให้เกิดแพนิค หลายครั้งก็มาจากการรับรู้ด้วยประสัมผัส โดยเฉพาะภาพ กลิ่น และรสชาติ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีตัวกระตุ้นที่ต่างกัน บางคนจะแพนิคผ่านภาพที่ตัวเองคิดอยู่ในหัวจากการพูดคุยจนกลัว หรือบางคนแพนิคจากการได้กลิ่น รับรสชาติ โดยกลิ่นและรสชาติเป็นแบบเดียวกับที่ตัวเองเคยเจอจากเหตุการณ์ร้ายแรง อุบัติเหตุ หรือถูกทำร้ายมาก่อน

นอกจากนี้อาการแพนิคก็มีส่วนที่เกิดขึ้นได้จากการเลี้ยงดูหลายครั้งอาการแพนิคเป็นผลมาจากประสบการณ์ในวัยเด็กหรือความทรงจำที่ไม่ดี การถูกบังคับจนทำให้เกิดความกลัว สูญเสียความมั่นใจจากตัวเองในเรื่องนั้น ส่งผลให้ฝังอยู่จิตใต้สำนึก และโผล่ขึ้นมาเป็นแพนิคได้พอถูกกระตุ้น

หรือบางครั้งอาการแพนิคก็เกิดขึ้นได้กับคนที่ติดเซฟโซนบางอย่าง โดยอาการแพนิคที่เกิดขึ้นจะทำหน้าที่ในการช่วยให้คนที่เป็นได้เลี่ยงการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่ค้างคา ไม่กล้าทำ ไม่ได้ทำมานาน อาการก็จะเกิดขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอาการถึงจะค่อย ๆ หายไป

ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพนิคได้ ซึ่งถ้าจากที่เราเคยได้ยินหรือที่เราเข้าใจ ว่าเวลาเจอคนที่มีอาการแพนิคต้องทำให้รู้สึกสงบให้ได้ด้วยการฝึกหายใจ ให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือพยายามให้คนที่แพนิคค้นเรื่องอดีตที่เกี่ยวกับความกลัวนั้นขึ้นมาพูดคุยและรักษาไปด้วยกัน มันเป็นวิธีที่ไม่มักจะไม่ได้ผลและเข้าใจผิดด้วย

ถึงตรงนี้ใครอยากรู้วิธีการและเทคนิคเอาชนะอาการแพนิคต่อ ขอให้อ่านต่อจากเล่มนี้จริง ๆ เราจะเข้าใจคนที่เป็นแพนิคเพิ่มขึ้นและได้รู้จักวิธีช่วยเหลือด้วย

 

อ้างอิง
เคาส์ เบิร์นเฮาร์ดท์. (2565). วิธีเอาชนะโรควิตกกังวลและอาการแพนิคเฉียบพลัน (Panikattacken und andere Angststörungen loswerden). ปวีณา ชุณศาสตร์ แปล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แอร์โรว์

Related Posts