เวลาได้ยินเพลงเศร้าในร้านชาบู ทำไมเราอินกว่าเดิม จนจะซดน้ำตาแทนน้ำซุป
เดี๋ยวนี้เพลงกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าเราจะตั้งใจฟังจากเพราะทำงาน เดินทาง หรือไม่ได้ตั้งใจแต่ได้ยินจากร้าน ห้าง เดินเล่น เพลงก็ถูกเปิดอยู่ในทุกที่ตามสาธารณะ หลัก ๆ มันเข้าถึงง่ายมากขึ้นด้วยสตรีมติ่ง ทำให้บางคนฟังเพลงเฉลี่ยถึง 18 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ แล้วบางคนอาจมากกว่านี้สองเท่าเลยด้วยซ้ำ
งานวิจัยนี้ที่เราหยิบมาเล่าเป็นวิจัยร่วมของ PLOS (Public Library of Science) วารสารวิทยาศาสตร์และการแพทย์ระดับโลกที่ศึกษาคนกว่า 398 คน พยายามตอบข้อโต้เถียงหลายแบบมาก ๆ ระหว่างคนที่รักฟังเพลงจากเซ็ตลิสต์ของตัวเองกับคนที่รักการได้ฟังเพลงจากการสุ่มที่ต่างอายุกันออกมา
แล้วก็ได้คำตอบออกมาว่า เหตุผลที่เราและเพื่อนอีกหลายคนรู้สึกอิน ใจหวิว ๆ เป็นพิเศษเวลาได้ยินเพลงที่ตัวเองชอบในที่สาธารณะมันเกิดขึ้นได้ อย่างเวลาที่เรากำลังซดตี๋น้อยแล้วเพลงเศร้าเพลงโปรดขึ้นมา เพราะมันเป็นปฏิกริยาที่เสียงดนตรีมีผลกับสมองและอารมณ์ของเราโดยตรง ซึ่งมันจะเกิดขึ้นกับคนที่ฟังเพลงเพื่อตอบสนองความรู้สึกของตัวเองและความสัมพันธ์เท่านั้น
ดนตรีและเนื้อหาของเพลงจะทำหน้าที่กระตุ้นความทรงจำ ความเหงา การตื่นตัว อันตราการเต้นของหัวใจ ยันความฟุ้งซ่าน เลยเป็นเหตุผลที่ทำให้เราทั้งรู้สึกดี(ตอนได้ยินเพลง) รู้สึกอิน แล้วก็รู้เจ็บจี๊ด ถ้าเพลงนั้นมันคือเพลงเศร้าที่เรารักมันมากตอนที่เราอกหัก นอกจากนี้ไม่ใช่ตัวเพลงที่ทำให้เรารู้สึกแบบนี้ มันอาจจะรวมถึง MV หรือการที่เพลงนั้นเป็นซาวด์แทร็กประกอบหนังที่เราดูก็มีส่วนที่ทำให้เรารู้สึกเชื่อมโยงพิเศษกับมัน ทำให้รู้สึกอินเวลาที่ได้ยินมันสุ่มมาจนไม่อยากข้ามหรือหยุดฟัง
แล้วก็มันไม่ใช่แค่พวกเพลงเศร้าที่ทำให้เรารู้สึกอินพิเศษเวลาได้ยินในที่สาธารณ์นะ เพลงรักหรือเพลงที่สดใสที่เราชอบก็ให้ผลแบบเดียวกันด้วย ถ้าเราบังเอิญได้ยินเวลาที่เราเดินห้าง นั่งในร้านอาหาร ที่ไหนก็ตามมันก็จะทำให้เรารู้สึกฟิน ผ่อนคลาย และอารมณ์ดีเป็นพิเศษด้วยเหมือนกัน
สุดท้าย นี่เลยเป็นช่องเล็ก ๆ ที่แอปฯ สตรีมมิ่งเพลงอย่าง Spotify เอาเรื่องอารมณ์ของเราไปเป็นส่วนหนึ่ง นอกเหนือจากความสนใจตามแนวเพลงและศิลปิน ตรวจจับผ่าน Data Analysis ใช้ Beta GLMM เพื่อให้อัลกอลิทึ่มสุ่มเพลงมาให้ตรงใจจนเราหยุดฟังไม่ได้นั่นเอง