ผู้หญิงกับรอยสัก ประวัติศาสตร์ของศิลปะบนเรือนร่างและจุดยืนทางสังคม

ผู้หญิงกับรอยสัก ประวัติศาสตร์ของศิลปะบนเรือนร่างและจุดยืนทางสังคม
 
เอาเรื่องประวัติรอยสักก่อน ถ้าย้อนกลับไป นักโบราณคดีบอกว่า ตั้งแต่ก่อนปี 1991 การสัก น่าจะเกิดขึ้นเมื่อ 2,000-3,000 ปีก่อน (ก็คือหมายความว่ามีมาก่อนคริสตศักราช) โดยมีการค้นพบจากเครื่องเคลือบดินเผาของจีน ซึ่งมีรูปคนที่มีลายสักและมีการพบมัมมี่ที่มีลายสักในอียิปต์อีกด้วย
 
ที่นี้รอยสักของผู้หญิง เริ่มมาตอนไหน มันเริ่มจากที่กรีก ตอนนั้นรอยสักทำหน้าที่เหมือนเป็นสัญลักษณ์บนใบหน้าของทาสและอาชญากร ผ่านมาสักพักการใช้รอยสักรูปแบบนี้ก็เริ่มแพร่หลายในทวีปยุโรปมากขึ้นนั่นเอง สรุปก็คือตอนนั้นรอยสักก็ถูกทำให้เป็นสัญลักษณ์ของนักโทษและผู้รับใช้
 
ส่วนในไทย แต่ก่อนการสักก็ไม่ต่างกัน ก็จะมีการสักหลายตำแหน่งเลย ทั้งสักที่ข้อมือ (แสดงการขึ้นทะเบียนเป็นไพร่) ทั้งสักที่หน้าผาก (แสดงว่าเป็นนักโทษจําคุก) มันคือการประจานความผิดตามกฎมณเฑียรนั่นแหละ ซึ่งจะเป็นผู้ชายที่ถูกทำแบบนี้
 
มาถึงการสักของผู้หญิงบ้าง เรื่องซ่อนเร้นของรอยสักที่อยู่บนตัวผู้หญิง มันมีนัยะของการเป็นสัญลักษณ์เชิงเสริมอำนาจในยุคสตรีนิยม ที่ผู้หญิงสักเพื่อเรียกร้องสิทธิของตัวเองที่ไม่ยอกถูกกดขี่ไม่ว่าจะเรื่งออะไรก็ตาม ไม่ยอมรับการถูกบังคับทำแท้ง การถูกทำร้ายจากผู้ชาย รวมถึงอำนาจกดขี่
 
ซึ่งมันก็สะท้อนให้เห็นถึงของความเข้มแข็งของผู้หญิงสมัยก่อนมาก ๆ การสู้กับความเหลื่อมล้ำทางเพศ สุดท้ายก็มีผู้หญิงคนแรกที่สักเกิดขึ้นจริง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า Olive Oatman เธอเป็นผู้หญิงผิวขาวที่มีรอยสักสักสีน้ำเงินบริเวณคางที่มีไว้เพื่อระบุตัวตนในชีวิตหลังความตายของเธอนั่นเอง
 
จากรอยสักของโลกจนมาถึงผู้หญิงมันเดินทางไกลมาก ตอนนี้จากเมื่อ 20 ปีที่แล้วก็เหมือนกัน ผู้หญิงก็ยังไม่เยอะ แทบจะไม่มีใครสักเลย แต่การสักของผู้หญิงก็ถูกใจอีกครั้งตอนที่อาจารย์หนู กันภัย สักให้แองเจลีนา โจลี ดาราฮอลลีวูด จากนั้นเราก็เริ่มเห็นผู้หญิงพากันไปสักยันต์ 5 แถวกัน โดยที่ใช่เพื่อบูชาอย่างเดียว แต่กลายเรื่องแฟชั่น ซึ่งตอนนั้นเราก็ทันที่แบบเห็นคนแห่กันไปสักจริง ๆ
 
พอมาในปัจจุบัน การสักกลายเป็นแค่เรื่องความสวยงาม ศิลปะไปแล้ว ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงรสนิยมและตัวตนมากกว่าความเชื่อต่าง ๆ จากในอดีตที่รอยสักอาจเคยเป็นสัญลักษณ์ในด้านที่ไม่ดี แต่พอความคิดที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ทำให้หลายคนเริ่มมองเห็นและยอมรับว่าการสักก็เหมือนเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ช่างสักบรรจงสร้างสรรค์ผลงานออกมาบนร่างกายของเราแค่นั้นเอง

Related Posts