ทำไมรู้สึกเศร้าเวลาฝนตก ? ชวนทำความรู้จักโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

ทำไมรู้สึกเศร้าเวลาฝนตก ? ชวนทำความรู้จักโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

เคยเป็นไหมที่รู้สึกเศร้า เหนื่อยล้า ไม่อยากพูดคุยกับใคร และรู้สึกอยากแยกตัวจากสังคม โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวหรือฤดูฝน ไม่แน่ว่าคุณอาจเป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลหรือ Seasonal Affective Disorder (S.A.D) ก็ได้นะ ☔

งานวิจัยของต่างประเทศบอกว่า แสงแดดมีผลต่อการใช้ชีวิต เนื่องจากมีวิตามิน D ที่ส่งผลต่อการหลั่งสารสื่อประสาทอย่างเซราโทนิน (Seratonin) หรือสารเคมีแห่งความสุข เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูที่มีแสงแดดน้อย ไม่ว่าจะฝนตก เมฆครึ้ม อากาศหนาว สภาพแวดล้อมนั้นอาจส่งผลให้เซราโทนินหลั่งผิดปกติ ทำให้เราอารมณ์อ่อนไหว หรือเศร้าง่ายมากขึ้น

แถมการขาดแสงแดดอาจกระตุ้นการผลิตเมลาโทนิน (Melatonin) มากเกินไปในบางคน โดยปกติแล้วร่างกายจะหลั่งสารนี้ในเวลากลางคืนเพื่อให้ร่างกายเกิดความต้องการนอนหลับ เพราะงั้นฤดูกาลที่เปลี่ยนไปอาจทำให้สารในร่างกายเปลี่ยนแปลง เราจึงอาจรู้สึกเฉื่อยชา เหงาซึม หรือง่วงนอนมากกว่าเดิม

ถ้าเรารู้ตัวว่าเริ่มรู้สึกเศร้าเพราะปัจจัยเหล่านี้ อยากให้ลองปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เริ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่สร้างความผ่อนคลาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเพื่อให้เหงื่อออกสักหน่อย แม้แต่การพักผ่อนที่เพียงพอ หรือฟังเพลงที่ชอบก็สามารถช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าตามฤดูกาลนี้ได้

หากรู้สึกว่าไม่ไหว การรักษาด้วยการเข้าพบนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ก็ไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่จะทำให้เราได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ที่สำคัญอย่าลืมนะ ไม่ว่าอากาศจะเป็นอย่างไรก็ควรรักษาสุขภาพกายและสุขภาพใจให้มีความสุขอยู่เสมอ 🫶🏻

Related Posts