คิดว่าตัวเองต้องหลับกี่ชั่วโมงถึงจะรู้สึกว่านอนพอ

Ask คิดว่าตัวเองต้องหลับกี่ชั่วโมงถึงจะรู้สึกว่านอนพอ  18 มีนาคม วันนอนหลับโลก (World Sleep Day) เดี๋ยวนี้แต่ละคนนอนกันวันละกี่ชั่วโมงรู้มั้ยว่าเราควรนอนเท่าไหร่ตามนาฬิกาชีวภาพของเรา ถ้าเรานอนน้อยติดต่อกันจะส่งผลกระทบกับร่างกายเรามากแค่ไหน ถ้าเรานอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงติดต่อกัน 4 วันขึ้นไปในแต่ละอาทิตย์ ผลที่เกิดขึ้นกระทบกับร่างกายเราหลายอย่าง ทั้งอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ระดับฮอร์โมนเปลี่ยน สมอง ระบบความจำทำงานไม่เต็มที่ ประมวลผลช้าส่งผลกระทบต่อการเรียนและทำงาน รวมถึงระบบภูมิกันต่ำ เสี่ยงเพิ่มโอกาสในการโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคอัลไซเมอร์ด้วยนะ สำหรับรุ่นเราคนที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น (14-17 ปี) ควรนอน 8-10 ชั่วโมง ถ้ามากกว่านั้น (18 ปีขึ้นไปถึง 64 ปี) ควรนอน 7-9 ชั่วโมง ส่วนผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) ควรนอน 7-8 ชั่วโมง นี่เป็นระยะเวลาการนอนที่เหมาะกับเราตามอายุที่เราควรนอนแล้วจะเต็มอิ่มพอดีนะ ถ้าเรานอนมากเกินไปเราอาจกำลังอยู่ในภาวะ Hypersomnia ได้ อย่านอนน้อยจนปล่อยให้ตัวเองติดหนี้การนอน จัดสรรแบ่งเวลาเพื่อให้ตัวเองได้พักผ่อน ลองทำร่วมกับการใช้เทคนิคการนอนที่ดี ปรับสภาพแวดล้อมต่าง […]

ศิลปะบำบัดคืออะไร เราทำเองได้มั้ย?

ศิลปะบำบัดคืออะไร เราทำเองได้มั้ย? คุยกับพี่โดม นักจิตนักจิตวิทยา เจ้าของเพจ he, art, psychotherapy ว่าศิลปะสามารถทำให้เราเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกไม่ดีได้ยังไง รวมถึงแชร์มุมมองประสบการณ์การเข้าคอร์สบำบัดของตัวเองในฐานะนักจิตบำบัดด้วยศิลปะฝึกหัด

CAMERAPHOBIA โรคกลัวกล้องปมลึกในใจที่มาจากการบูลลี่

ทำความเข้าใจ Cameraphobia โรคกลัวกล้องที่หลายคนรู้สึกเกลียดการถ่ายรูป กลัวเวลาที่จะต้องอยู่หน้ากล้อง ปมลึกในใจที่อาจมาจากการเคยถูกบูลลี่ Cameraphobia ในอดีตช่วงแรกของการที่มีการถ่ายรูปเกิดขึ้น นี่เป็นภาวะของคนที่กลัวกล้องและการถูกถ่ายรูป ซึ่งเกิดขึ้นจากความเชื่อที่ผูกติดกับศาสนาที่มองว่าการถ่ายภาพเป็นสิ่งต้องห้ามและสำหรับคนตายเท่านั้น รวมถึงมองว่าถ้าเราคนเป็นที่ถูกถ่ายวิญญาณของเราจะถูกกักขังอยู่ในภาพนั้นไปตลอด นั่นเป็นความเชื่อในยุคก่อนที่มีต่อการถ่ายรูป แต่ตอนนี้ Cameraphobia กลายเป็นภาวะของคนที่เป็นที่มีสาเหตุหลักมักเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ ประสบการณ์การเคยถูกบูลลี่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมากอย่างในตอนเด็ก คนที่เคยถูกล้อเลียน ถูกบูลลี่เรื่องรูปร่าง หน้าตา ถูกถ่ายรูปไว้แล้วรูปนั้นกลายเป็นสิ่งที่คนรอบตัวเอามาล้อเลียน หรือการถูกบูลลี่รูปลักษณ์ต่อให้ไม่มีรูปก็กลายเป็นปมในใจที่ทำให้คนเป็น Cameraphobia เกลียดการถ่ายรูปมาก ไม่อยากให้ตัวเองถูกบันทึกภาพไว้ได้ อาการของคนที่เป็นภาวะนี้จะรู้สึกได้เลยว่าตัวเองประหม่า ใจเต้นแรง เหงื่อออก ใจสั่นและหวาดกลัวเป็นพิเศษเวลาที่ต้องอยู่หน้ากล้องและรู้ว่าจะถูกถ่ายรูป จนมีความวิตกกังวลต่อรูปลักษณ์ตัวเองที่จะถูกบันทึกภาพไว้ มีความคิดกลัวว่าจะมีคนเห็นจุดบางในร่างกายที่ตัวเองมองว่าไม่เพอร์เฟค เช่น แผลเป็น รอยต่าง ๆ บนหน้า ผิว รูปร่าง และอื่น ๆ สำหรับวิธีการที่จะช่วยให้เราพ้นจากภาวะนี้ได้เบื้องต้นคือ การผ่อนคลายกับตัวเอง เริ่มต้นด้วยการหลับตาเพื่อให้เราไม่ถูกกระตุ้นจากสิ่งรอบตัวในตอนที่เรากำลังจะต้องเข้าอยู่หน้ากล้องไปพร้อมกับการหายใจลึก ๆ ช้า ๆ จนกว่าเรารู้สึกว่าร่างกายทุกส่วนผ่อนคลายมากขึ้น จากนั้นก่อนที่เราจะได้ลองเผชิญหน้ากับความกลัวด้วยการถ่ายภาพ ให้เราลองบอกตัวเองว่าตอนนี้เราดูดีแล้วจริง ๆ และไม่ต้องกลัวเลย รูปที่ออกมามันคือเรา มันเป็นเรา ต่อให้รูปออกมาแล้วเราอยากลงโซเชียลของเรา เราก็ทำได้ แต่ถ้าเราลองพยายามแล้วแต่ยังรู้สึกกลัวและใจสั่นอยู่จนสุดท้ายก็ยังหนีกล้องออกมา […]

ช่วงนี้เครียดมั้ย? ลองไปทำเล็บดู เติมพลังบวกและพลังของเราให้เต็ม

มีใครชอบนั่งดูเล็บตัวเองทั้งวันเวลาทำเล็บมาใหม่แล้วรู้สึกอารมณ์ดีบ้าง จริง ๆ แล้วการทำเล็บเหมือนการให้รางวัลตัวเอง ช่วยเติมพลังบวกให้เราได้ ถึงการทาสีเล็บและทำเล็บจะดูเป็นกิจกรรมเล็ก ๆ เพื่อความสวยงาม แต่ในเวลาที่เราเครียดหรือรู้สึกแย่ การทำเล็บช่วยให้เราผ่อนคลายจากเรื่องพวกนี้ได้ อย่างแรกเวลาที่เราเลือก ลองสี ดูรูปทรงเล็บ และลายเพ้นท์ ทั้งหมดล้วนเป็นกระบวนการศิลปะที่ทำให้เราได้จดจ่อกับความคิดของตัวเองที่จะออกแบบให้เป็นไปตามที่เราต้องการ ในช่วงเราที่กำลังใช้เวลาทำเล็บ เราได้มองมือและเล็บของเราก็ทำให้โฟกัสตัวเองเป็นอับดับแรก ช่วยทำให้เราเกิดสมาธิและลดความกังวลจากเรื่องที่คิดอยู่ รวมถึงในขั้นตอนการทำเล็บก็มักจะมีการขัดเล็บและนวดบ้าง ซึ่งช่วยกระตุ้นระบบประสาทและระบบไหลเวียนเลือดได้ นอกจากนี้เวลาที่เราทำเล็บเสร็จแล้วได้มอง เราได้เห็นสีสัน ความสวยงามของเล็บจากการออกแบบของตัวเองก็จะส่งผลทำให้เราอารมณ์ดี มีพลังขึ้น รู้สึกถูกเติมเต็ม และชื่นชมตัวเองด้วย ยังไม่หมด ไม่น่าเชื่ออีกว่าการออกจากบ้านไปทำเล็บก็ยังเป็นผลดีในแง่ของการเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยในเรื่องการเข้าสังคมให้เรา ทั้งในกรณีที่นัดเพื่อนออกไปด้วยซึ่งทำให้เกิดการรวมตัว พูดคุย เม้าท์มอยกัน หรือต่อให้เป็นกรณีที่เราไปทำคนเดียวแต่การไปนั่งในร้าน ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีผู้คนก็ช่วยให้เราคุ้นเคยและรู้จักเข้าสังคมได้ดีขึ้น ช่วงนี้ใครเครียดแล้วมีแผนไปทำเล็บ ไม่ต้องลังเลเลย เลือกลาย เก็บเรฟ ออกแบบไว้แล้วลองไปทำเล็บดู ช่วยเติมพลังบวกและตัวตนของเราให้เต็มได้แน่นอน   อ้างอิงhttps://bit.ly/3Ka4leEhttps://bit.ly/3thnqoehttps://bit.ly/3K8paa5

เสพข่าวร้อนยังไง ไม่ให้ทำร้ายคนในข่าว

เสพข่าวร้อนยังไง ไม่ให้ทำร้ายคนในข่าว กรณีศึกษาจากประเด็นการหายตัวไปจากอุบัติเหตุบนเรือล่องแม่น้ำนักแสดงสาว หลายครั้งเวลาที่เราเสพข่าวและให้ความสนใจโดยพุ่งประเด็นหรือตั้งข้อสงสัยกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แม้จะด้วยความเป็นห่วงเหยื่อหรือจากความอยากรู้ของเราก็ตาม เชื่อมั้ยว่ามันสามารถเป็นอาวุธที่คนอีกกลุ่มคนนำไปใช้จนทำร้ายเหยื่อได้ เราแค่อยากติดตามข่าว ทำไมการเสพข่าวของเราถึงทำร้ายคนในข่าวได้1) ทุกประเด็นที่เราสนใจจะเป็นตัวตั้งต้นที่ทำให้สื่ออยากขุดคุ้ยและเอาไปเขียนข่าว ซึ่งถ้าเป็นชุดข้อมูลที่เป็นการรายงานตามจริง (Fact) และลำดับเหตุการณ์ (Timeline) ก็ถือเป็นข้อมูลรายงานเบื้องต้นอยู่แล้ว แต่ในการทำงานของสื่อหลายครั้งก็มักเลือกใช้ประเด็นอื่นนำเสนอด้วย ซึ่งประเด็นเหล่าส่วนหนึ่งก็มาจากพวกเราเองที่อยากรู้เพิ่มเติมยิ่งเราอยากรู้ ยิ่งขุดหา ยิ่งทำให้สื่อและนักข่าวเลือกที่จะหาข้อมูลซึ่งมักจะนำไปสู่การสัมภาษณ์ด้วยคำถามที่ไม่คำนึงความอ่อนไหวของเหยื่อและครอบครัว2) ทุกประเด็นที่เราอยากรู้และตั้งข้อสงสัย ข้อสังเกต มักจะนำไปสู่การคาดเดาเหตุการณ์ของเหยื่อ การสร้างข่าวปลอมหรือว่าเฟคนิวส์ (Fake news) และที่แย่ที่สุดคือการตีตราและตำหนิเหยื่อได้3) การเสพข่าวและให้ความสนใจของเราเป็นช่องทางในหาผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มซึ่งอาจทำร้ายเหยื่อและครอบครัวทางอ้อมได้ ตัวอย่างเช่น การที่หมอดูหลายสำนักใช้สถานการณ์เพื่อดูดวงให้เหยื่อ หรือมิจฉาชีพทำงานสวมรอยเป็นเจ้าหน้าที่ขอรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือเหยื่อ เป็นต้น4) นอกเหนือจากสถานการณ์ที่เกิดกับเหยื่อ หลายครั้งเหยื่อมักถูกสื่อและผู้คนขุดคุ้ยความสัมพันธ์ รสนิยม ศาสนา ความเชื่อ และการเมือง ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นข้อมูลส่วนตัวที่เหยื่อควรได้รับการปกป้อง ทั้งหมดนี้เป็นกรณีศึกษาที่ล้วนเกิดขึ้นจริงและทำร้ายคนในข่าวเสมอ มันสร้างความเจ็บปวดให้กับเหยื่อ ครอบครัว และเพื่อน การค่อย ๆ หยุดวงจรนี้เราสามารถทำได้ โดยเริ่มจากเราต้องรู้จักการตัอสินใจที่จะเลือกรับข้อมูลข่าว การพิจารณารับข้อมูลข่าว ไม่ควรอ่านแค่หัวข้อหัวข่าวหรือเกริ่นเท่านั้นเพราะนั่นอาจทำให้เราตีความข้อมูลคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งพอเราส่งต่อข้อมูลและแชร์ออกไปก็ยิ่งเป็นการสร้างวงจรข้อมูลข่าวที่ผิดและอาจส่งผลกับทั้งความรู้สึกของเหยื่อ ครอบครัว และเพื่อนของเหยื่อ รวมถึงรูปคดีด้วย ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือการเลือกรับข่าวจากแหล่งสื่อที่น่าเชื่อถือ สำนักข่าวที่มีจรรยาบรรณ และควรดูข้อมูลเปรียบเทียบกันหลาย ๆ สื่อด้วย ระมัดระวังบางสื่อที่มีแนวโน้มสร้างข่าวจาก 4 ที่เราพูดถึงไป และอีกข้อควรระวังที่มักเกิดขึ้นก็คือการแสดงความคิดเห็นในโซเชียลมีเดีย […]

BUD LIVEHOUSE #3 / #4

Be A Bud และ Lido Connect ร่วมสร้างวัฒนธรรมมัน ๆ แบบไลฟ์เฮ้าส์แห่งแรกใจกลางสยามกับประสบการณ์ทางดนตรีที่ไม่เหมือนใคร คอนเนกต์กับศิลปินผ่านเวทีวงกลมแบบ 360 องศาที่เดียวที่ BUD LIVEHOUSE พร้อมกับไลน์อัพที่จะเขย่าความสนุกของทุกคนกันทุกเดือน ตลอดปี 2022 #3 – 9 Mar 2022: Soft Pine / DOOR PLANT / FOLK9#4 – 23 Mar 2022 : Rocketman / Thebandeleven / quicksand bed  Ticket: 200 THB/day Location: Lido Connect Hall 3 ซื้อตั๋วได้เลยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนถึงวันงาน ที่  https://bit.ly/BLHmar22บัตรมีจำนวนจำกัดเพื่อการเว้นระยะห่าง โปรดรีบจับจองก่อนที่จะไม่เหลือ 2022 คอนเสิร์ตจะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง!

RELATIONSHIP 101 ยิ่งเจออุปสรรค ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ยืนยาว

“พอรักกันแล้วเราก็อยากให้เธอเล่าเรื่องที่เธอไม่สบายใจให้เราฟังด้วย” Relationship 101 กุญแจสำคัญที่ทำให้ความสัมพันธ์ยืนยาว เพราะอะไรคนรักกันถึงควรแบ่งปันทั้งพาร์ทสุขและทุกข์ ในเมื่อการมีความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคน แน่นอนว่าทั้งคู่มีชีวิตเป็นของตัวเองและมีเรื่องราว ประสบการณ์ที่ต้องพบเจอในแต่ละวัน ซึ่งอาจจะทำให้รู้สึกดีแต่ในหลาย ๆ ครั้งเวลาที่ต้องเจอเรื่องที่ทำให้รู้สึกแย่ กดดัน หรือเกิดความเครียด การเปิดเผยความรู้สึกด้าบลบให้กับอีกคนผ่านการเล่าให้ฟังก็ช่วยทำให้เรื่องหนักเบาลงได้และได้มอบพลังให้แก่กันด้วย เราเข้าใจว่ามันค่อนข้างเป็นเรื่องที่ยาก บางทีเราอาจรู้สึกว่าไม่อยากเล่าให้อีกคนฟังเพราะว่าเป็นเรื่องหนักแล้วกลัวว่าเขาจะมาเครียดไปกับเราด้วย อยากให้ลองค่อย ๆ เปิดใจแล้วใช้ความกล้าในการค่อย ๆ เล่าให้กันฟังว่าเรากำลังเครียดหรือรู้สึกแย่เรื่องอะไร เกิดขึ้นได้ยังไง และเพราะใคร ถ้าจุดเริ่มต้นด้วยเล่าเรื่องเลยอาจยังยากเกินไป ให้เริ่มต้นด้วยการลองบอกว่า “ตอนนี้เรามีเรื่องเครียดมาก เล่าให้ฟังได้มั้ย” ซึ่งอีกคนก็จะต้องตอบรับและรับฟังทั้งหมดโดยที่ไม่ตัดสิน มันคือการเปิดใจทั้งฟังคนเล่าและคนรับฟังโดยที่ไม่การตำหนิกันนะ และหากเราเป็นฝ่ายที่เห็นสีหน้าที่ไม่สบายใจของอีกคนก่อนเราก็ถามได้เหมือนกันว่า “วันนี้เป็นไงบ้าง มีอะไรที่อยากเล่าให้ฟังมั้ย เล่าได้นะ” ผลของการที่เราแชร์กันในพาร์ทช่วงเวลาที่อยากลำบากด้วยผ่านการเล่าความคิดและความรู้สึกของตัวเองให้อีกคนฟัง การเปิดใจต่อกันมันเป็นประตูแรกที่หมายถึงการที่เรายอมรับความสึกตัวเอง ไปพร้อมกับการให้อีกคนได้เข้ามาทำความรู้จักเรามากขึ้น ซึ่งมันก็ส่งผลโดยตรงถึงความสนิทสนมและการมีความไว้ใจต่อกัน สุดท้ายหลังจากแบ่งปันเรื่องราวที่ได้สบายใจขึ้นมันก็อาจนำไปสู่การเป็นเพื่อคู่คิด การช่วยเหลือ วางแผนด้วยกันได้ หรือแม้แต่เติมพลังให้กันทั้งทางการพูดปลอบโยนและสกินชิพ ยิ่งเปิดใจแชร์กัน ร่วมทั้งทุกข์และสุขด้วยกัน ไม่ใช่แค่ทำให้เราได้ยอมรับความรู้สึกและเข้าใจตัวเองมากขึ้น มันทำให้อีกคนยิ่งได้รู้จัก ได้เข้าใจกัน ได้รักกันมากขึ้น และมอบพลังให้กันด้วย

ลิโด้แนะนำ A girl has film แบรนด์ฟิล์ม ISO 200 135mm 📷🎞️

ลิโด้แนะนำ A girl has film 📷🎞️ แบรนด์ฟิล์ม ISO 200 135mm กับลูกเล่นสุดคิวท์ที่ใส่ขนความน่ารักลงมาอยู่บนฟิล์มจนได้เป็น 1 ในฟิล์มที่หลายคนให้เป็นลูกรักในวันพิเศษ 

ทีมไหนเม้าท์มอยในที่ทำงานเก่ง ยิ่งทำให้คุณภาพงานดีตามไปด้วย

จากงานสำรวจพฤติกรรม ทีมไหนเม้าท์มอยในที่ทำงานเก่ง ยิ่งทำให้คุณภาพงานในทีมดีตามไปด้วย ไม่น่าเชื่อว่าการพูดหยาบบ้างและคุยเล่น เม้าท์มอยที่ทำงานสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ จากงานสำรวจพฤติกรรมของ Ignite80 บริษัทด้านการพัฒนาและเรียนรู้องค์กรพบว่าพฤติกรรมเหล่านี้ในที่ทำงานช่วยให้สุดท้ายผลลัพธ์ที่ออกมางานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เหตุผลเพราะว่าการพูดคำหยาบ การสบถ และแม้แต่การนินทาบ้าง ทั้งหมดชี้ถึงความสนิทสนมและความสบายใจของทีม ซึ่งถึงแม้ว่าการกระทำเหล่านี้จริง ๆ แล้วเป็นเชิงลบ แต่ในแบบสำรวจกว่า 38% ของทีมที่ทำงานได้ดี ก็เพราะพวกนี้เป็นการสื่อสารที่ไม่ต้องเป็นการทาง รวดเร็ว ทำให้พูดคุยเกิดขึ้นได้อย่างไหลลื่น จริงใจ และดูเป็นมนุษย์มากขึ้นเวลาที่ทำงาน นอกจากนี้บางครั้งที่มีการเม้าท์มอยกันหรือคุยเล่นในที่ประชุม จากผลการสำรวจก็บอกว่าทีมรูปแบบนี้จะพูดคุยกันได้ง่ายมากกว่า ไม่ต้องวิธีการซ้ำซ้อนหรือลำดับในการรอประชุม ทำให้สามารถคุยงานได้เลยทันทีและมักได้ไอเดียใหม่ ๆ รวมถึงยังมีผลว่า 60% ของทีมที่สมาชิกใช้อีโมจิ และ 52% ที่ใช้ GIFs ในการแชทพูดคุยกัน จะทำให้ทีมนั้นสามารถทำงานสำเร็จได้ตามกำหนดและงานที่ออกมาก็มีคุณภาพด้วยต่อให้ไฟลนก็ตาม แต่ยังไงก็ตามจะเม้าท์มอย พูดหยาบ หยอกกันเล่นก็ต้องระวังไม่ให้ไปถึงการบูลลี่และการคุกคามคนในทีมนะ ถ้าทีมมีการกำหนดขอบเขต และทุกคนตระหนักรู้ร่วมกันว่าจะไม่บูลลี่และคุกคามกันผ่านคำพูดก็เป็นวิธีขั้นต้นที่จะทำให้สมาชิกทีมมีความสัมพันธ์ที่ดี มีความไว้วางใจและทำงานกันต่อไปได้อย่างไหลลื่นจ้า 

ภายใน 5 ปี ทุกคนจะใช้ชีวิตใน METAVERSE อย่างน้อยวันละชั่วโมง

ทำความเข้าใจ Metaverse ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด ภายใน 5 ปีทุกคนจะได้ใช้ชีวิตในนี้อย่างน้อยวันละชั่วโมง พอพูดคำว่า Metaverse หลายคนอาจจะรู้จักและได้เข้าไปอยู่ในนั้นบ้างแล้วแต่หลายคนอาจจะยังแค่เคยได้ยิน คุ้นหูเท่านั้น เราจะพามาทำความรู้จักว่า Metaverse จริง ๆ แล้วคืออะไรและใกล้ตัวเรามากแค่ไหน คำว่า Metaverse ถูกสร้างขึ้นจากเรื่อง Snow Crash ปี 1992 ซึ่งเป็นนวนิยายแนวดิสโทเปีย ซึ่งในนี้จะสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงในโลกดิจิตัลแบบ 3 มิติ ทั้งภาพและเสียงกลายเป็นพื้นที่ทางสังคมอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้คนมาพูดคุย เจอกัน และทำกิจกรรมประจำวันต่าง ๆ แบบออนไลน์ การเติบโตของ Metaverse มีกูเกิลเป็นเจ้าแรกที่ปลุกกระแสเมื่อปี 2013 ในตอนนั้นผ่าน Virtual reality ด้วยการซื้อ Ingress แอพฯ เกมที่ให้คนเล่นเดินรอบเมืองเพื่อหาพลังและให้ผู้เล่นแต่ละฝ่ายในพื้นที่นั้นร่วมมือกันยึดฐานอีกฝั่งมาเป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นเกม MMO ที่คนทั้งโลกเล่นร่วมกันในเซิร์ฟเวอร์เดียว ต่อมาปี 2014 Facebook ได้ซื้อ Oculus VR ซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าที่ผลิต Rift หูฟังสำหรับเล่นเกมแล้วก็พัฒนา VR […]