รู้จักกับ พี่ป๊อด BALLOON BOY
รู้จักกับ พี่ป๊อด Pod Thanachai Ujjin เวอร์ชั่นเบาสบายที่สุดผ่าน Balloon Boy โปรเจกต์อัลบั้มเดี่ยวครั้งแรก ที่จะเป็นเหมือนเพื่อนคนหนึ่งที่เข้าใจและพร้อมโอบกอดเราในทุกช่วงเวลาของชีวิต : ถ้าต้องแนะนำ Balloon Boy ให้ทุกคนรู้จักในฐานะเพื่อนสนิทของพี่ป๊อด จะแนะนำยังไงบ้าง พี่ป๊อด – สำหรับเรา Balloon Boy เค้าเป็นวัยรุ่นที่เป็นคนง่าย ๆ สบาย ๆ ใจเปิดกว้าง ชอบทดลองสิ่งใหม่ ๆ ชอบการเรียนรู้ รักอิสระและรักเสียงเพลง เป็นคนใจโล่งๆ โปร่งเบาเหมือนกับลูกโป่ง ความรู้สึกของเรามองว่าเค้าเป็นเพื่อนที่อยู่ด้วยกันแบบสบายๆ เป็นเพื่อนที่เข้าอกเข้าใจ ในขณะเดียวกันก็ให้พื้นที่ และมีความอิสระต่อกัน : เล่าเกี่ยวกับ Balloon Boy โปรเจกต์เดี่ยวของพี่ป๊อดให้ฟังหน่อย คอนเซปต์หรือที่มาที่ไป พี่ป๊อด – โปรเจกต์นี้เป็น Side project ของผม มันเริ่มต้นมาจากการที่เราอยากลองทำอะไรใหม่ ๆ ในฐานะคนทำเพลง ผมเลยทำออกมาเป็นงานแบบมินิมอลที่ใช้แล็บท็อบตัวเดียวในการสร้างเพลง และผมก็เลือกที่จะสร้างอวตารตัวหนึ่งขึ้นมาเป็นตัวแทนในการถ่ายทอด แทนตัวเราที่ต้องการจะพูดอะไรก็ตามที่ไร้ข้อจำกัด โดยที่ผมไม่ต้องคำนึงถึงรูปแบบผลงานของตัวเองที่ผ่านมา ให้มันเป็นอิสระอย่างที่เราอยากจะพูด อย่างเช่น […]
Aire ท่วงทำนอง INSTRUMENTAL ROCK กับการ RE-UNIONครั้งสุดท้ายในงาน we were here last live
ลิโด้แนะนำ aire ศิลปินที่สร้างสรรค์ดนตรีได้อบอุ่นร้อยเรียงเป็นท่วงทำนอง Instrumental rock กับการ Re-union ใน “We Were Here” Last Live กล่าวคำอำลาครั้งสุดท้ายที่เต็มไปด้วยความทรงจำและโอบกอดคนฟัง สมาชิกReo กีต้าร์Tatsuo กีต้าร์Van เบสPhil คีย์บอร์ดGinn กลอง : หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก aire มาก่อน ขอย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น มารวมตัวกันได้ไงที่ตัดสินใจทำวงนี้ด้วยกัน Reo – เริ่มจาก Ginn Tatsuo และผมเล่นดนตรีกันก่อน 3 คนทำเพลงไปประมาน 3 เพลงในระยะเวลา 1 เดือน แต่เราก็ยังขาดมือเบสอยู่ Ginn เลยได้ชวน Van กับ Phil มาร่วมวง ซึ่ง 2 คนนี้เคยอยู่วงชื่อ Ghost Story มาก่อน เป็นวงที่ผมชื่นชอบมาตลอดก็ไม่ติดใจอะไรเลย Tatsu – ตอนอยู่ที่ญี่ปุ่นผมชอบฟังและเล่นดนตรี […]
ทำไมมนุษย์เราถึงชอบกินเค็ม?
ทำไมมนุษย์เราถึงชอบกินเค็ม 🧂 ใครติดกินเค็ม ยิ่งเค็ม ยิ่งชอบ รู้เหตุผลรึเปล่าว่าทำไมเราถึงติดใจความเค็มจนหยุดกินไม่ได้ นี่เป็นธรรมชาติของพวกเราคนที่ติดเค็มส่วนหนึ่งอาจมากจากกรรมพันธ์ุได้เหมือนกัน มีงานศึกษาในเกาหลีที่ศึกษาคนกว่า 1,580 คนจากคนที่มียีนรับรส TAS2R38 (Supertaster) คนที่รับรสได้ดีก็พบว่าคนกลุ่มนี้ไม่ได้ชอบกินหวาน และไม่ใช้ความหวานเพื่อกินคู่กับอาหารที่ออกรสขมอย่างผักบางชนิดด้วยแต่ใช้เกลือเพื่อความเค็มกินคู่แทน ซึ่งงานศึกษานี้ก็ขยายต่อด้วยนะ ในแง่ที่อธิบายว่าการชอบความเค็มอาจเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ เฉพาะคนที่โตขึ้นมาเท่านั้น โดยเด็กก็ยังคงติดหวานอยู่จากอาหารการกินอาหารที่มีน้ำตาลจำพวกซูโครสมากกว่า ซึ่งอันนี้ก็อาจจะได้อิทธิพลมาจากการเลี้ยงดูผ่านอาหารที่ได้กินนั่นเอง แต่เราก็เจออีกรายงานหนึ่งที่รองรับด้วยเหมือนกันว่าไม่ใช่เด็กทั้งหมดที่ติดหวาน เด็กอีกหลายคนธรรมชาติแล้วก็อาจจะชอบรสเค็มมากกว่าตั้งแต่ทารกเลย โดยที่ตอนนั้นถ้าใครกินอาหารจำพวกแป้งมาก ๆ พอช่วงอายุ 6 เดือนขึ้นไปก็มีแนวโน้มทที่จะเลือกกินเกลือ เลียความเค็มจากอาหารก่อน พอรับรู้รสเค็มแล้วชอบก็ส่งผลให้โตขึ้นมาชอบกินเกลือและติดเค็มได้ นอกจากนี้ความต้องการความเค็มของคนที่โตขึ้นมา ไม่ว่าจะในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ก็อาจมีผลมาจากความเครียดด้วย เวลาที่เราเครียด กดดัน แน่นอนเวลาที่เราเครียดมันลดความอยากอาหารเราได้ แต่ในขณะเดียวพอเราเครียดร่างกายเราหลั่งสารคอร์ติซอลออกมา (ฮอร์โมนความเครียด) ซึ่งมันส่งผลต่อต่อมหมวกไตและความสามารถในการควบคุมโซเดียมในร่างกายของเรา ทำให้อยากกินเกลือ อยากได้อะไรที่เค็ม ๆ และกระหายน้ำขึ้นมานั่นเอง รวมถึงในเวลาเรารู้สึกเบื่อเหมือนกันมันส่งผลให้เราอยากความเค็มได้ด้วยธรรมชาติที่เราคุ้นเคยกับรสเค็มและกลิ่นเค็ม จุดจบของเราก็เลยมักจะลงเอยด้วยการกินขนมขบเคี้ยว โดยที่หลายคนจะรู้สึกเพลินกับการกินขนมที่มีรสเค็มเป็นหลักมากกว่ารสหวาน ซึ่งมันก็ทำให้เรายิ่งติดเค็มมากขึ้นไปอีก รู้ว่าเค็มมันเพลิน มันอร่อย มันนัว แต่ใครรู้ตัวว่าติดเค็มอยู่ ลองค่อย ๆ ลดดู อย่าเผลอปรุงเติมเค็มมากไป อยากให้นึกไว้ตลอดว่ากินเค็มมาก ๆ โซเดียมสูงมันกระทบต่อสุขภาพเรื่องความดันโลหิตสูง ซึ่งมันเป็นสาเหตุสาเหตุของโรคหัวใจนะ […]
เดือนเมษายน พาใครบางคนกลับมา (Genki Kawamura)
“ฉันอยากเจอกับตัวเอง อยากเจอกับตัวฉันในตอนนั้นที่เคยชอบเธอ อยากเจอตัวเองที่ยังตรงไปตรงมากับความรู้สึกของตัวเอง” – เดือนเมษายน พาใครบางคนกลับมา (Genki Kawamura) เคยเก็บใครสักคนไว้ในความทรงจำโดยที่ไม่ได้คิดจะหยิบเขาขึ้นมา แต่พอเข้าฤดูบางฤดูแล้วเขาจะกลับมาทุกครั้งปรากฎชัดเจนในความทรงจำของเราไหม อาทิตย์นี้ลิโด้ขอแนะนำหนังสือ เดือนเมษายน พาใครบางคนกลับมา ของคาวามูระ เก็งคิ นักเขียนจากเรื่อง ถ้าโลกนี้ไม่มีแมว ยังคำความรู้สึกตอนเริ่มรักใครบางคนได้อยู่ไหม เราตื่นเต้นแค่ไหน ใจเต้นแรงแค่ไหน พอย้อนกลับยังชอบความรู้สึกแบบนั้นกับตัวเองอยู่หรือเปล่า ส่วนตัวเลยเรื่องนี้เล่นกับความรู้สึกเราเชิงนี้เยอะมาก เพื่อน ๆ เองมีใครบางคนในความทรงจำที่มีผลกับความรู้สึกแบบที่ยังสะสางไม่เรียบร้อยเหมือนกันไหม เรื่องนี้มันจะจี้จุดเราตรงนี้แหละ มันจะพาเราย้อนกลับไปมากับความสัมพันธ์ของตัวละครพร้อมกับที่ทำให้เรานึกเชื่อมโยงถึงเรื่องของตัวเองจนมันเหมือนทำให้เราค้นความรู้สึกเราลงไปลึก ๆ สะท้อนกับตัวเองแบบนิ่ง ๆ ทั้งในเรื่องความรัก ความสัมพันธ์รอบตัว และความสวยงามของชีวิตผ่านฤดู สุดท้ายตอนจบของเรื่องนี้ช่วยให้เราได้ลองบอกตัวเองให้มีความกล้าหาญมากพอที่จะหาทางปลดปล่อยตัวเองจากคนในความทรงจำที่เราฝังลึกไว้อยู่ และช่วยให้เราอยากตั้งใจที่จะใช้เวลาในชีวิตอย่างมีคุณค่าที่สุดด้วย เพื่อน ๆ มีใครที่ยังเก็บไว้ในใจแล้วเขากลับมาเมื่อเดือนนั้นมาถึงแบบนี้บ้างอยู่ไหม อ้างอิงหนังสือคาวามูระ เก็งคิ. (2564). เดือนเมษายน พาใครบางคนกลับมา. ธีราภา ธีรรัตรสถิต และสกล โสภิตอาชาศักดิ์ แปล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บิบลิโอ
เพื่อนยิ่งอวย รูปออกมายิ่งสวย จิตวิทยาแห่งการอวยก่อนถ่ายรูป
อวยไปเลย อวยกันเยอะ ๆ เพื่อนยิ่งอวย รูปออกมายิ่งสวย จิตวิทยาแห่งการอวยก่อนถ่ายรูปกับ 4 How to อวยเพื่อนยังไงให้ได้รูปแบบปัง ๆ แบบมั่นใจ เพื่อนคนไหนไม่ชอบการอยู่หน้ากล้องเลย เกร็งง่าย ทำท่าไม่ถูก เวลาไปถ่ายรูปกันอยากได้รูปบ้างหรืออยากให้รูปรวมที่ถ่ายออกมาน่ารัก ปัง ๆ ธรรมชาติ สดใสแต่ไม่รอดสักที ลองใช้วิธีชมดู ใครเป็นตากล้อง อยู่หลังกล้อง ให้ชม อวยกันไปเลย เพราะอวยแล้วทำให้รูปได้ออกมาดีขึ้น มีงานศึกษาที่บอกว่าการชมเป็นกลไลทางจิตวิทยาของพวกเราอยู่แล้วที่ส่งผลกับการเข้าสังคม การชมมันสัมพันธ์กับความมั่นใจและร่างกายของเราในแง่ที่จะช่วยให้คนถูกชมมีอัตราการเต้นหัวใจที่คงที่ รู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งมันส่งผลให้มีความรู้สึกที่ดีกับตัวเองและอารมณ์ดีมากพอที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ นั่นเอง แล้วทีนี้ชมเพื่อนยังไงบ้างดีตอนถ่ายรูป ชมตรง ๆ ชมได้เลยพร้อมแนะนำ พูดไปเลย สวยเพื่อน ท่านี้ดี ปังมาก เอาอีก ๆ ยิ้ม หล่อแล้ว ดูเท่มาก น่ารักมาก ชวนเพื่อนมูฟ ขยับเบา ๆ จะได้ไม่เกร็ง ไม่ต้องให้ยินนิ่ง ๆ สบาย หลายครั้งพอให้ยืนแข็ง ๆ […]
เป็นลูกคนกลางไม่เคยง่าย ความเดียวดายของคนที่ถูกลืมในบ้านคนจีน
เป็นลูกคนกลางไม่เคยง่าย ความเดียวดายของคนที่ถูกลืมในบ้านคนจีน กลายเป็นเรื่องที่ยังติดอยู่ในใจหลายคน ความรู้สึกของการเป็นลูกคนกลางที่มีพี่น้อง เราก็เป็นหนึ่งในนั้นกับความคิดที่มาตั้งคำถามว่าทำไมการดูแล เลี้ยงดู ปฏิบัติของพ่อแม่ ผู้ใหญ่ในบ้านเราเองถึงไม่เท่ากันแล้วเรารู้สึกเหมือนถูกใส่ใจน้อยที่สุด ซึ่งนี่เป็นปรากฎการณ์ที่ยังเกิดขึ้นมาตลอดจนถึงตอนนี้กับครอบครัวโดยเฉพาะครอบครัวเอเชียและครอบครัวที่มีลูกหลานหลายคนเพื่อการสืบสกุล อิทธิพลของ Middle Child Syndrome ส่งผลกระทบมากกับสุขภาพจิตและบุคลิกภาพกับคนที่เป็นคนกลางด้วยความรู้สึกที่อยู่ตรงกลางระหว่างความสับสนว่าจะต้องผลักดันตัวเองให้มีความเป็นผู้นำ เก่ง มีความสามารถในการดูแลสมาชิกครอบครัวตามแบบอย่างของพี่คนโตหรือการสร้างตัวเองให้เป็นที่รัก ที่ห่วงใยของคนในบ้านแบบน้องคนเล็ก รวมถึงก็ต้องแสดงออกถึงความเป็นพี่ที่สามารถให้ความดูแลกับน้องคนเล็กสุดได้ด้วย ท่ามกลางความรู้สึกเดียวดายของการเป็นลูกคนกลาง หลายครั้งก็ถูกคาดหวังที่สุดในบ้านด้วยในฐานะคนกลางที่ใกล่เกลี่ย ประนีประนอมระหว่างพี่น้องหรือสื่อสารระหว่างผู้ใหญ่ เราพบข้อมูลจากการรวบรวมของ Insider’s ว่าลูกคนกลางทำหน้าที่นี้ได้ดีจริง ๆ มีความอ่อนโยน รู้วิธีใกล่เกลี่ย และมีความเห็นอกเห็นใจสูงด้วย แต่มันมาจากความคาดหวังของคนในบ้าน ในขณะที่ตัวเองก็ความต้องการมีตัวตนปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้หลายคนที่ลูกคนกลางรู้สึกเหงาเวลา รู้สึกเหมือนถูกกีดกัน เก็บตัวเวลาที่อยู่ในบ้าน และไร้แรงบันดาลใจในการสร้างตัวตนหรือค้นหาตัวตนของตัวเอง ซึ่งเราเข้าใจความรู้สึกนี้ดี หัวใจหลักที่เราได้จากงานศึกษาที่เราก็คิดว่าเป็นประโยชน์กับคนที่เป็นพ่อแม่ ผู้ปกครองที่เราอยากให้ลองเรียนรู้ไปด้วยกันก็คือ อยากให้รู้จักใช้การชื่นชมและให้คำแนะนำลูกหลานทุกคนอย่างเท่า ๆ กัน เพื่อสร้างความมั่นใจให้เขารู้สึกว่าเขาก็เป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวจริง ๆ กับทุกความสำเร็จของเขาแม้จะเป็นก้าวเล็ก ๆ ให้ชื่นชมและให้กำลังใจในเวลาที่เขาพลาดพลั้งโดยไม่ตำหนิหรือใส่ความคาดหวังให้กับเขา ไม่ว่าจะลูกคนโต คนกลาง หรือคนเล็กทุกคนก็มีความต้องการนับถือจากคนบ้านเหมือนกันนะ อ้างอิงhttps://bit.ly/3C9Fneihttps://bit.ly/3SLJPpBhttps://bit.ly/3Pessehhttps://bit.ly/3Piruxt
NATIONAL LAZY DAY ฉลองให้กับความขี้เกียจ
ขี้เกียจเป็นนิสัยธรรมชาติของเรา เรื่อยเปื่อยบ้างจะเป็นไรไปไม่ต้องรู้สึกผิดหรอก ความขี้เกียจมันเป็นธรรมชาติตามสัญชาตญาณของเราที่มีขึ้นมาเพื่อรักษาพลังงานของตัวเอง เรื่องมีงานศึกษาด้วยว่ามันเป็นวิวัฒนาการของเราจริงที่มีที่มาเพื่อเก็บพลังงานร่างกายก่อนทานอาหารและทำกิจกรรมประจำวัน วันขี้เกียจวันนี้มีขึ้นมาก็เพื่อบอกว่า เราขี้เกียจได้ พักผ่อนได้ ไม่ต้องโปรดักทีฟตลอดก็ได้ รู้จักขี้เกียจบ้าง ช่วยให้เราไม่หมดไฟนะ แถมช่วยเรื่องความจำด้วย แต่วันนี้เป็นวันทำงานหรือวันที่เรียนของหลายคน ยังไงขอให้ไม่หนักมากและได้มีเวลาให้ขี้เกียจพอที่จะพักเหนื่อยหย่อนตัวเล่นนะ สุขสันต์วันขี้เกียจทุกคน อ้างอิงhttps://bit.ly/3zJTyE7https://bbc.in/3BRi0pNhttps://bit.ly/3vWXrob
“อย่าปล่อยให้ใครหน้าไหนทำให้คุณรู้สึกว่าดีไม่พอ”
“อย่าปล่อยให้ใครหน้าไหนทำให้คุณรู้สึกว่าดีไม่พอ อย่าได้รู้สึกว่าคุณต้องประสบความสำเร็จมากกว่านี้ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ มีความสุขกับตัวเองไม่ต้องอัปเกรด” – Matt Haig หนึ่งในบทเรียนจาก Notes on a Nervous Planet (แด่เธอบนดาวเคราะห์ช่างกังวล) หนังสือที่ทำให้เราอยากโอบกอด ใจดีกับตัวเองให้มากขึ้นในวันที่โลกหมุนไปเร็วจนเรารู้สึกเหนื่อยล้าและอยากพักผ่อนบ้าง ส่วนตัวลิโด้อยากแนะนำหนังสือเล่มนี้มาก เพราะรู้สึกพออ่านไปแล้วเหมือนได้สำรวจตัวเองผ่านการนั่งฟังเพื่อนคนหนึ่งเล่าเรื่องราวโดยที่ไม่รู้สึกว่ากำลังถูกสอนอยู่เลย เราขอพาสำรวจเนื้อหาบางตอนจากเล่มนี้ที่ทำให้เราได้เห็นวิธีการที่เราจะฟื้นฟูตัวเองจากความเศร้าและความกังวลที่เจอมาในแต่ละวันว่าเราจะทำได้ยังไง ในวันที่เรารู้สึกแย่กับตัวเอง แมตต์เล่าให้เราฟังว่า ทุกวันนี้การเสพโซเชียลมีเดีย หลายครั้งทำให้เราเผลอเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นโดยที่บางครั้งเราก็ไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ ซึ่งมันทำให้เรารู้สึกว่าคุณค่าของตัวเองลดลงไป รวมถึงชีวิตผู้คน โลกรอบตัวมันก็หมุนไปไวมาก มีวงจรของตลาด โลกแห่งบริโภคนิยม และการแข่งขันสูงที่ทำให้เราเหน็ดเหนื่อย แม้โลกจะพยายามทำให้เราไม่ยอมรับตัวเองจนทำให้เราต้องการและอยากเป็นอย่างที่เราพยายามวิ่งตาม ขอให้เรามองตัวเองอย่างอิสระ ปลดปล่อยตัวเองเพื่อมีความสุขมากขึ้นโดยที่ไม่รู้สึกเจ็บปวดหรือรู้สึกบกพร่อง แด่เธอบนดาวเคราะห์ช่างกังวล อ้างอิงหนังสือแมตต์ เฮก. (2565). แด่เธอบนดาวเคราะห์ช่างกังวล. ศิริกมล ดาน้อย แปล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บุ๊คสเคป
ต่างประเทศไม่มีสถานะคนคุย คำว่า “คนคุย” สุดท้ายมันคือไม่ได้คบรึเปล่า
คุยแล้วชอบหาย ทำไมต่างชาติไม่ใช้คำว่า “คนคุย” เพราะสุดท้ายมันไม่ได้คบรึเปล่า หลายคนอาจจะชินกับคำว่า คนคุยและการเป็นคนคุยไปแล้ว ในบ้านเรานิยมใช้คำนี้ในช่วงเริ่มความสัมพันธ์กันมาก ซึ่งเราก็พอรู้กันว่ามันหมายความว่าเรากำลังคุย ๆ กันหรืออยู่ดูใจกันอยู่ เรื่องนี้มองได้หลายมิติมาก ถ้าลากยาวไปยันเรื่องผังเมืองก็มีส่วนเกี่ยว ถ้าเราลองมองที่จุดเริ่มต้นของสถานะคนคุยในบริบทนี้ หลายครั้งก็มาจากออนไลน์ (Online dating) ต่าง ๆ ระดับในความสัมพันธ์มันก็เลยเริ่มมาจากการรู้จักกันผ่านการพูดคุยจากแอพฯ ในขณะที่ต่างประเทศหลายที่ มีผังเมืองและพื้นที่สาธารณะที่เอื้อมากพอที่จะให้ผู้คนได้มาเดินเล่น ทำกิจกรรม พบเจอจนประทับใจกันก่อนที่จะชวนกันไปออกเดทได้ ซึ่งถ้าเดทกันแล้วรู้สึกว่าไม่ใช่ก็จะไม่ได้คุยกันต่อ จริง ๆ มันก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้างระหว่าง การออกเดทกับสถานะแบบคนคุย ซึ่งการออกเดทมันก็เป็นขั้นตอนของการดูใจ ดูนิสัยเหมือนกัน ถ้าเริ่มชอบก็คุย เดทกัน มีเซ็กส์กันได้ (ซึ่งในขั้นนี้ก็ตกลงกันได้ว่าทั้งคู่จะมุ่งหมายแค่กันและกันหรือสามารถเดทกับคนอื่นไปด้วยได้) สุดท้ายถ้าไม่ใช่ก็ยอมรับแล้วแยกย้ายกันไป กลับกันถ้ารู้สึกรู้ดี อยากชัดเจนก็เลื่อนสถานะเป็นการคบหาดูใจแบบจริงจัง (ที่ไม่ศึกษาคนอื่นไปด้วยแล้ว) แต่สำหรับสถานะคนคุย (ในบ้านเรา) พอมาดูก็มีหลายขั้น (Stage) มาก อย่างการคุยจนโอเคแล้ว พร้อมที่จะมาเจอกันเพื่อเดทกันในกรณีนี้เราเจอบ่อยกับความสัมพันธ์จากแอพฯ หรืออีกกรณีคนคุยก็เป็นแบบที่เป็นคนคุยแล้วก็จบที่คุย (แบบยังไม่ทันไม่ได้เดท) กันก็มี สรุปแล้วคำว่าคนคุยในต่างประเทศมันก็คือการเดท ดูใจเลย ซึ่งสุดท้ายก็อาจแยกย้ายกัน แต่เราเข้าใจว่าหลายคนก็บอบช้ำมากจากเป็นคนคุยแล้วไม่ได้คบ ยิ่งกว่าไม่ได้คบคือยังไม่ทันได้เจอกันเลย มันขึ้นอยู่การตกลงกันและระดับที่ผูกมัดกันด้วยแหละ ยังไงถ้าใครมีประสบการณ์แล้วอยากแชร์ […]
เด็กรุ่นใหม่มีภูมิต้านทานไม่กลัวทัวร์ลง
อะไรทำให้เด็กรุ่นใหม่มีภูมิต้านทานไม่กลัวทัวร์ลง กล้าที่จะเชื่อในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูก เดี๋ยวนี้โซเชียลไปไวมาก พอพูดคำว่าทัวร์ลง เตรียมเจ๊เกียวมาจอด ถูกแบน หลายคนคงกลัวและพยายามเลี่ยงคอมเมนต์ขึ้นสเตตัสที่ให้แสงจนล่อเป้าตัวเองให้เจอแรงลบกระแทกจากทุกคนจากการถูกคอนเมนต์กลับในเชิงลบ ถึงแม้ตอนนี้กฎหมาย พ.ร.บ.คอมฯ จะถูกใช้อย่างจริงจังและลงโทษอย่างหนักแล้ว แต่เรื่องนี้เราก็มองว่ามันท้าทายกับจิตใจเราหลายอย่างมาก บางครั้งเราสนุกกับการอเสพทัวร์ที่ไปลงกับใครสักคน แต่เราก็หวั่น ๆ กลัวว่าตัวเองจะโดนเหมือนกัน ซึ่งที่ผ่านมาเราก็จะเห็นเคสที่โดนทัวร์ลงหลายเคส ผลกระทบของทัวร์ลงหลัก ๆ คือมันสร้างความบอบช้ำทางอารมณ์และจิตใจให้ที่โดน การรับความคิดเห็นลบ ๆ ในโซเชียล ไม่ว่าจะจากถูกตำหนิ ถูกใช้คำด่า คำหยาบคาย หรือคำแช่งต่าง ๆ จากใครบ้างก็ไม่รู้ที่เราอาจที่ไม่รู้จัก จนทำให้เราให้รู้สึกดาวน์ ติดใจกับคำพูดหลาย ๆ คำ เครียด เสียใจ มูฟออนไม่ได้ กังวล ไปจนถึงซึมเศร้าได้ แต่หลายครั้งเราก็จะเห็นการเปิดพื้นที่ของตัวเองจากแอคเคาท์ส่วนตัวในการต้องรับทัวร์เหมือนกัน เราก็ตั้งคำถามว่าหรือจริง ๆ คนรุ่นใหม่ก็พร้อมที่จะเจอทัวร์จากคนในโซเชียลโดยไม่กลัว เราเลยลองดูจากผลการศึกษาแล้วก็เจอของ McKinsey บริษัทปรึกษาการจัดการระดับโลกที่ทำให้เราเข้าใจมากขึ้นถึงเหตุผลที่ทำไมคนรุ่นใหม่สามารถรับการถูกทัวร์ลงได้ ซึ่งจากรายงานก็บอกว่าคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ Gen Z ก็ไม่ได้มองว่าโลกเชิงบวกเท่ากับคนรุ่นก่อน.เหตุผลเพราะหลายครั้งความต้องการทางสังคมของคนรุ่นใหม่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองหรือรับได้โอกาสได้ยากจากการแข่งขันสูงจากการเรียน การกินอยู่ การทำงาน การเดินทาง การสนับสนุนทางสังคม รวมถึงสังคมในโซเชียลมีเดียที่เป็นความแตกต่างทางที่คนรุ่นใหม่ต้องเจอ ก็ส่งเลยส่งผลให้คนรุ่นใหม่อย่าง Gen […]