ทำไมเราหิวทุกครั้งเวลาเห็นโดนัท 🍩

ทำไมเราหิวทุกครั้งเวลาเห็นโดนัท  เรื่องนี้สามารถอธิบายได้จากงานวิจัย Supra-Additive Effects of Combining Fat and Carbohydrate on Food Reward ในมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ที่ได้ทำการศึกษาการทำงานของสมองของกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครด้วยการให้ดูภาพอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ได้แก่ ลูกอม ชีส และโดนัท แล้วทำการแข่งกันประมูลว่าต้องการกินอะไรเป็นอาหารว่าง ผลปรากฎว่าโดนัทเป็นอาหารที่กลุ่มอาสาสมัครทดลองพร้อมจ่ายและสู้ราคาประมูลมากที่สุด ซึ่งเมื่อเทียบกับอาหารอื่น ๆ ที่มีเพียงคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล หรือไขมันอย่างเดียว โดนัทมีทั้ง 3 อย่างในปริมาณที่สูง ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ว่าทั้งคาร์โบไฮเดรตและไขมันที่สูงจะกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมสมองของเรา โดยมันทำการกระตุ้นปมประสาทฐานสมอง (Striatum) ให้ส่งสัญญาณประสาทกระตุ้นความหิวพร้อมกับทำให้สมองของเราหลั่งสารโดปามีน ซึ่งเป็นสารความสุขออกมา นอกจากนี้การแต่งหน้าของโดนัทที่หลากหลายรสชาติและสีสัน ยิ่งทำให้เวลากินโดนัทเรายิ่งรู้สึกดี มีความสุขมาก ๆ เหมือนได้รับรางวัล แล้วก็ยังมีข้อมูลอธิบายเพิ่มว่า เพราะว่าเรามีวิวัฒนาการในการเป็นนักล่าและหาอาหารมาก่อนซึ่งส่วนใหญ่มันคือพืชและเนื้อสัตว์ การเจออาหารที่มีทั้งคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูงที่ เป็นเรื่องใหม่ของเรา เป็นระบบใหม่ที่ล่อเราได้ง่ายมาก ๆ ไม่แปลกที่เราจะต้านทานความหิวจากทุกครั้งเวลาที่เห็นโดนัทไม่ไหว หรือต่อให้ตัดใจไม่กินได้ เราก็มักจะหิวและจบลงด้วยการหาซื้อของกินหรือขนมที่มีทั้งแป้ง น้ำตาลและไขมันสูงอยู่ดี

TIKTOK เครื่องมือสำคัญ ที่กำลังพลิกอุตสาหกรรมดนตรีโลก

ใครกำลังมีเพลงจาก TikTok ติดอยู่ในหัวเอาออกไม่ได้บ้าง คิดว่ามันกำลังเปลี่ยนการฟังเพลงของเรามั้ย และเปลี่ยนวงการดนตรีในแง่ไหน การตลาด TikTok ใหญ่มากและกำลังกลายเป็นอีกเครื่องมือสำคัญที่มีอิทธิพลเปลี่ยนวงการอุตสาหกรรมดนตรีโลก เกือบ 5 ปีแล้วที่ติ๊กต็อกเติบโต มีผู้ใช้งานมากถึง 1 พันล้านคนทั่วโลกและยังคงได้รับความนิยม มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากแอปฯ ลิปซิงค์ กลายเป็นพื้นที่ของครีเอเตอร์ และสามารถช่วยทำให้ศิลปินและค่ายเพลงเติบโตได้ แนวโน้มของการหันมาสร้างผลงานที่สามารถเข้ากับแพลตฟอร์ม เพลงหลายเพลงถูกออกแบบทำนองดนตรีและเนื้อร้องให้ติดหู ท่าเต้นให้เต้นตามได้จนได้ความนิยมในติ๊กต็อก เพลงเป็นที่รู้จัก แล้วใช้เป็นช่องทางโปรโมทเพลงส่งเสริมการขายไปยังสตรีมมิ่งอื่น ในแง่ของฝั่งผลิต จากรายงานในปี 2020 ที่ผ่านมาค่ายเพลงใหญ่ ๆ อย่าง Interscope, Republic Records, Columbia และบริษัทในเครือก็มองช่องทางนี้ว่าเป็นอีกจุดที่น่าจับและได้เซ็นสัญญากับศิลปินใหม่ ๆ ที่กำลังมาแรงในติ๊กต็อก หรือแม้แต่ค่าย Sony Music เองที่มีคลังเพลงเยอะมากก็สนใจที่จะใช้ติ๊กต็อกเป็นช่องทางโปรโมตเพลงเก่า ๆ ของตัวเองให้กลับมาทำรายได้อีกครั้ง ส่วนศิลปินเองก็ได้ทั้งรายได้ ผู้ติดตามที่เพิ่มมากขึ้น และช่องทางในการผลิตผลงานจากความท้าทายที่ต้องผลิตผลงานที่ดึงดูดความสนใจชาวติ๊กต็อก ในขณะที่ในแง่ของคนฟัง การทำงานของอัลกอลิทึมติ๊กต็อกก็เสิร์ฟตามที่เราชอบและสนใจอยู่แล้ว แล้วมากกว่านั้นก็คือการนำเสนอเพลงใหม่ ๆ เพลงที่คนยังไม่รู้จัก หรือเป็นเพลงที่มียอดสตรีมมิ่งน้อย ต่อให้มากจากการอัปโหลดเพลงต้นฉบับของศิลปินก็สามารถถูกแชร์ให้ไปไกลกว่าเดิมได้ ซึ่งกว่า 67% จากผู้ใช้ทั้งหมดในติ๊กต็อกมีการค้นหาเพลงต่อในสตรีมมิ่งหลังเจอเพลงที่ใหม่ที่ชอบจากติ๊กต็อก และกว่าอีก 75% ก็ได้รู้จักศิลปินใหม่ […]

Boomer และ Gen Z คือเจนที่สนใจสิ่งแวดล้อมที่สุด

ไม่น่าเชื่อว่า Boomer และ Gen Z คือเจนที่สนใจสิ่งแวดล้อมที่สุดถึง 2 เจนนี้จะต่างกันมาก 👦🏻🧓🏻 หลังจากข่าวน้ำมันรั่ว นี่เป็นครั้งที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์บ้านเรารอบ 45 ปี เราได้เห็นความเคลื่อนไหวที่หลายคนหันมาสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ แล้วเราก็ตั้งคำถามว่าการ Call out และใส่ใจสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ทำอยู่เพียงรุ่นเดียวจริงหรอ เพราะที่ผ่านมาเรามักจะได้ยินมาตลอดว่าคนรุ่นใหม่ต้องเจอกับปัญหาสภาพอากาศที่คนรุ่นก่อนสร้างไว้ โดยที่คนรุ่นเก่าถูกมองว่ามีการเคลื่อนไหวสนใจสิ่งแวดล้อมว่าน้อยกว่าคนรุ่นใหม่ อย่างมิลเลนเนียลและ Gen Z แต่เราก็ได้เจอข้อมูลที่น่าสนใจว่าจริง ๆ แล้วเบบี้บูมก็รักโลกไม่ต่างกับเด็กเจนใหม่เลย แม้ทั้ง 2 จะมีทัศนคติและรูปแบบวิถีชีวิตที่ต่างกันสิ้นเชิง แต่ผลการศึกษาจากสถาบันนโยบายในวิทยาลัยคิงส์คอลเลจลอนดอน (King’s College London) ประเทศอังกฤษที่ทำการศึกษาคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปมากกว่า 4,000 คนในอังกฤษและอเมริกาเกี่ยวกับมุมมองสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมในการรักษาสิ่งแวดล้อม ผลที่ออกมาก็ทำให้เราคิดว่าการมองว่าคนรุ่นก่อนไม่สนใจสิ่งแวดล้อมเท่าคนรุ่นใหม่อาจเป็นที่เรากำลังเข้าใจกันผิด ผลปรากฎคนยุคเบบี้บูมเมอร์ (ช่วงอายุ 56-76 ปี) 3 ใน 4 คนสนใจสิ่งแวดล้อมและมองว่าปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเป็นเรื่องใหญ่ มองเป็นสัดส่วนก็สูงถึง74% ส่วน Gen Z 71% ซึ่งกลายเป็นว่าเบบี้บูมเมอร์มากกว่า แล้ว 7 […]

ตู้ความรักอัดกระป๋อง ช่วยคนเหงาให้เจอเนื้อคู่

ไม่ต้องพึ่งแอปฯ ก็ได้ ญี่ปุ่นวางตู้อัตโนมัติเอาความรักอัดกระป๋องขาย โอกาสใหม่ให้คนเหงาได้เจอเนื้อคู่ เราคงคุ้นเคยว่าตามถนน ทางเดินญี่ปุ่นเป็นเรื่องปกติที่จะได้เจอตู้อัตโนมัติขายน้ำดื่มตามในเขตเมือง แต่ล่าสุดมีตู้สีชมพูริมถนนตู้หนึ่งอยู่เขตคามาตะ (Kamata) ในโตเกียวที่ได้รับความสนใจและถูกพูดถึงมากในโซเชียลมีเดียเพราะเป็นตู้หาคู่ โปรเจคตู้นี้ออกแบบโดย MAP หรือ Matching Advisor Press เป็นบริษัทจัดหาคู่ในญี่ปุ่นที่มีบริการแมทช์และให้คำปรึกษากับลูกค้าที่เป็นคนโสด เพื่อเริ่มต้นเดต คบจริงจังกับใครสักคนจนได้แต่งงานกัน ซึ่งตู้นี้ก็มีเป้าหมายเหมือนกัน การทำงานแต่ละกระป๋องในตู้จะมีราคา 3,000 เยน (ประมาณ 870 บาท) ราคาต่างจากตู้น้ำดื่มทั่วไปที่มีราคาแค่ประมาณ 50 เยน (ประมาณ 15 บาท) โดยข้างนอกกระป๋องจะแบ่งออกเป็น 2 สีเพื่อแทนเพศ คือ สีชมพู (ผู้หญิง) และสีครีม (ผู้ชาย) มีลายดอกไม้ต่าง ๆ แพทเทิร์นตัวหนังสือเป็นแบบเดียวกันเขียนข้อความระบุเพศและอายุ ส่วนข้างในจะมีรูปของคนนั้น ด้านหลังเป็นชื่อและเบอร์โทรศัพท์ แต่ไม่ได้หมายความว่าพอได้เบอร์แล้วจะได้โทรคุยกันแล้วนัดเดตได้เลย การติดต่อครั้งแรกจะเป็นโควต้าที่พูดคุยได้ 1 ชั่วโมงแล้วก็อาจจะเป็นการคุยกับเจ้าตัวโดยตรงเองเลย หรือคุยที่ปรึกษาของ MAP หรือคุยกันทั้ง 3 ฝ่ายมี MAP เป็นตัวกลางคุยด้วย […]

หมดไฟ ไม่รู้จะโตไปเป็นผู้ใหญ่แบบไหนดี

ฉันไม่ได้อยากประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ แค่ใช้ชีวิตแต่ละวันให้ผ่านไปได้ก็ดีมากแล้ว หลังเรียนจบหลายคนคาดหวังว่ามันจะเป็นช่วงเวลาของโอกาสที่ตัวเองได้มีความสุขมากที่สุด อิสระ และใช้ชีวิตในแบบที่อยากใช้ได้อย่างเต็มที่มากกับงานและฐานะการเงินที่มั่นคงระดับหนึ่ง แต่พอถึงตอนนี้กลายเป็นว่าตัวเองกำลังเจอกับความเครียด กังวล เหนื่อย กดดันตัวเองจนหมดไฟ ไม่มีแรงจูงใจและเป้าหมายกับอาชีพที่ทำถึงขั้นรู้สึกว่าแค่ใช้ชีวิตแต่ละวันให้รอดก็ดีแค่ไหน นี่เป็นปรากฏการณ์วิกฤต Quarter-Life Crisis ที่เกิดขึ้นได้กับเราในช่วงอายุก่อน 30 ปี จากงานศึกษา LinkedIn พบว่ากว่า 75% ของคนอายุช่วง 25-33 ปีที่กำลังก้าวไปเป็นวัยผู้ใหญ่ยอมรับว่าตัวอยู่ภายใต้แรงกดดันที่ต้องประสบความสำเร็จในชีวิตให้ได้ทั้งเรื่องงาน การเงิน และความสัมพันธ์ และมีอัตราความกังวลที่ตัวเองจะหาเงินได้ไม่พอใช้สูงถึง 2 ใน 5 นอกจากนี้ยังรู้สึกกดดันตัวเองมากขึ้นไปอีกที่จะต้องทำตัวเองให้พร้อมแต่งงานและมีลูกในอายุ 30 ปีพอดี ส่วนที่เหลือก็กดดันตัวเองกับเรื่องงานที่อยากโตมากขึ้นและคิดเรื่องการย้ายที่อยู่หรือย้ายประเทศ ซึ่งวิกฤตนี้อยู่กับแต่ละคนเฉลี่ยแล้วประมาณ 2 ปี ส่งผลกระทบแตกต่างกันแต่ที่แย่ที่สุดคือนำไปสู่ปัญหาในการตัดสินใจ ภาวะหมดหวังและเป็นซึมเศร้า โดยวิกฤตนี้ไม่ได้เกิดขึ้นได้แค่เฉพาะจากความคาดหวังของตัวเองเท่านั้น ผลการศึกษายังชี้อีกว่ามีความเกี่ยวข้องกับแรงกดดันทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นผลจากการเลี้ยงดู ความคาดหวังของผู้ปกครอง Boomers และ Gen X ที่ได้รับแรงกดมาอีกทีเกี่ยวกับการประสบความสำเร็จในชีวิต ​รวมไปถึงภาพความสำเร็จจากสื่อโซเชียลมีเดีย และอาจสะท้อนถึงเรื่องการสนับสนุนคุณภาพชีวิตที่ดีจากรัฐสวัสดิการด้วย ทีนี้พอเราไล่ระดับของ Quarter-Life Crisis ซึ่งก็มี 4 ระยะที่เราต้องทำความเข้าใจ […]

ถึงเวลาที่ ‘ทางม้าลาย’ ควรปลอดภัยได้รึยัง?

ถึงเวลาที่ ‘ทางม้าลาย’ ควรปลอดภัยได้รึยัง? จากเหตุการณ์อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์บนทางม้าลายที่ทำให้เกิดการสูญเสียจนทำให้สังคมเรียกร้องการปรับปรุงทางเดินเท้าข้ามถนนในประเทศ พร้อมกับย้ำเตือนจิตสำนึกของคนใช้รถทุกชนิดให้เห็นความสำคัญของทางม้าลายและหยุดรถเพื่อให้คนข้าม เรื่องนี้ยิ่งย้ำว่าบ้านเรายังห่างไกลกับหลายประเทศที่มีความแข็งแรงเรื่องกฎหมายทางข้าม ทั้งที่นี่ไม่ใช่อุบัติเหตุข้ามทางม้าลายเคสแรกที่เกิดขึ้น เพราะประเทศไทยมีคนที่สูญเสียแบบนี้เกิดขึ้นซ้ำมาแล้วซ้ำ ๆ ยิ่งจากรายงาน Global Status Report on Road Safety ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2018 ประเทศไทยขึ้นเป็นประเทศที่มีคนเสียชีวิตบนท้องถนนสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียที่พบว่าคนเดินเท้าบนถนนมีโอกาสได้รับอุบัติเหตุสูงถึง 1 ใน 3 หรือคิดเป็น 34% และกรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่สูงที่สุดที่มีคนเดินเท้าเสียชีวิตเฉลี่ยถึงปีละ 250 คน เราเลยมองโมเดลตัวอย่างของกฎหมายการจราจรและทางข้ามในประเทศอื่น อย่างประเทศอังกฤษที่เป็นประเทศที่ติดอันดับการจราจรปลอดภัยที่สุดในโลกและเป็นประเทศแรกที่มีทางม้าลาย ที่ย้อนกลับไปจุดเริ่มต้นที่เป็นเหตุผลในการสร้างก็จากความต้องการที่จะลดการเกิดอุบัติเหตุชนคนบนท้องถนนในช่วงที่คนเริ่มใช้รถยนต์ส่วนตัวกันเยอะมากขึ้นในช่วงนั้น ซึ่งเริ่มจากการทดลองสร้างทางเดินข้ามถนนด้วยลวดลายต่าง ๆ มานานตั้งแต่ช่วงปี 1940 แทนเสาบอกทางเดินข้ามที่คนขับขี่ก็ยังไม่ค่อยสังเกตเห็น จนสุดท้ายก็ได้ออกมาเป็น ทางม้าลายหรือ Zebra crossing ด้วยเพราะมันสังเกตได้ชัดที่สุดในปี 1951 แม้จะลดอุบัติลงได้แต่ก็ยังมีเคสที่ต้องบาดเจ็บและสูญเสียบนทางข้ามอยู่ ทำให้ในปี 1969 มีการวางระบบสัญญาณไฟข้ามถนน และปี 1971 กระทรวงคมนาคมของอังกฤษได้ตีเส้นจราจรซิกแซ็ก (Zig zag line) ขึ้นก่อนถึงทางม้าลาย เพื่อควบคุมไม่ให้คนขับขี่นำรถมาจอดในพื้นที่ที่ตีเส้นไว้จนทำให้บดบังการมองเห็นคนข้ามถนน […]

รู้จักมีมแรกของโลกที่มีอายุกว่า100 ปี จุดเริ่มต้นอีกการสื่อสารของมนุษยชาติ

รู้จักมีมแรกของโลกที่มีอายุกว่าร้อยปี จุดเริ่มต้นอีกการสื่อสารของมนุษยชาติ หลายคนรู้จักมีมและเสพมันกันอยู่แล้วเพื่อความบันเทิง ไม่ก็ใช้เพื่อพูดคุยแบบสนุก ๆ กับเพื่อนและคนรอบตัว ไม่นานมานี้เพิ่งมีการค้นพบเรื่องราวที่เกี่ยวกับมีมไว้น่าสนใจมาก และคาดว่านี่อาจเป็นมีมแรกของโลก มีมนี้ถูกค้นพบจากในนิตยสารเสียดสี The Judge ฉบับปี 1921 จากผู้ใช้ Tumblr ที่ชื่อว่า Yesterday’s Print ที่สนใจหยิบสื่อสิ่งพิมพ์สมัยก่อนมาเผยแพร่ให้คนได้ดูและรู้จักกัน หลังปล่อยโพสต์ไปก็มีคนให้ความสนใจพูดถึงและถกเถียงกันว่านี่อาจเป็นมีมแรกหรือที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในตอนนี้ก่อนยุคอินเตอร์เน็ตด้วยซ้ำ ซึ่งนิตยสารฉบับนี้ตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยไอโอวา (University of Iowa) หลังจากนั้นมหาวิทยาลัยก็มีการนำมาสแกนเป็นไฟล์ดิจิตัลลงเผยเป็นแพร่ ส่วนเรื่องการคาดว่าเป็นน่าจะเป็นมีมที่เก่าแก่ที่สุด ถึงแม้จะมีเสียงแตกออกว่าอาจจะเป็นแค่การ์ตูน 2 ช่องธรรมดาก็ได้ แต่ก็มีคนที่แสดงความคิดเห็นว่ามันค่อนข้างมีความเป็นมีมอยู่เหมือนกันเพราะมันดูเหมือนดัดแปลงมาอีกที ยิ่งบวกกับใจความที่ต้องการจะสื่อระหว่างความคาดหวังกับความเป็นจริง (Expectations vs. Reality) ออกมาเป็น “What You Think You Look Like vs. What You Actually Look Like” นั่นเอง ซึ่งตอนนี้ก็มีอายุกว่า 101 ปีแล้ว วัฒนธรรมของมีมที่ถูกนิยามมาตั้งแต่ 1976 โดย Richard Dawkins นักชีววิทยาวิวัฒนาการชาวอังกฤษจากงาน The Selfish Gene […]

Name-Calling ให้การบูลลี่จบที่รุ่นเรา

‘ไอแว่น’ ‘เนิร์ด’ ‘ไอกะเทย’ ‘ไอตี๋’ ‘สลิ่ม’ ‘ไอสามกีบ’ เคยตั้งชื่อให้ใครเพื่อเรียกเค้าคนนั้นมั้ย โดยที่เจ้าตัวยังไม่ได้แสดงการยอมรับกับชื่อนั้นแต่ก็เรียกจนชิน รู้มั้ยว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นของการบูลลี่ ตั้งแต่เรายังเด็ก หลายครั้งที่เรามักจะเจอการใช้ชื่อเรียกอื่นจากในความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมาก ๆ มาตลอด อย่างในครอบครัว กลุ่มเพื่อน โรงเรียน จนมายันที่ทำงาน ไม่ว่าจะเรียกด้วยฉายา เรียกด้วยท่าทางที่คนนั้นแสดงออก หรือแม้แต่เรียกด้วยชื่อบุพการี สิ่งนี้เป็นสถานการณ์พฤติกรรมที่เกิดขึ้นที่แทบจะทุกคนแล้วต้องเคยเจอมาก่อน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะผ่านมันไปได้ยังมีอีกหลายคนที่ยังเจ็บปวดกับมัน ช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยยังคงต่อสู้เพื่อปกป้องการถูกบูลลี่ให้กับหลายคนที่ได้รับความเจ็บปวดกับสิ่งนี้ อย่าง 2 ปีที่แล้ว ตอนปี 2563 บ้านเราขึ้นเป็นอันดับ 2 ของโลกที่เป็นประเทศที่มีการบูลลี่บูลลี่ด้วยการใช้ตัวอักษรผ่านโซเชียลมีเดียมากที่สุดรองจากญี่ปุ่น จนมีเคสที่ต้องเข้ารักษาจิตใจ ยันเคสที่เลือกจากไปเพราะทนความเจ็บปวดจากการถูกบูลลี่ไม่ไหว สิ่งนี้สะท้อนให้เรากลับไปมองจุดเริ่มต้นว่าการบูลลี่มันเริ่มจากอะไร และเราจะหยุดมันได้ยังไง แม้ไม่ใช่คำด่าหรือการบูลลี่โดยตรงอย่างการล้อเลียนรูปลักษณ์ (Body shaming) ที่เราพยามยามรณรงค์มาตลอด แต่ Name-Calling หรือการตั้งชื่อและเรียกโดยที่คนที่เป็นเจ้าของตัวตนนั้นไม่ต้องการ หรือไม่ได้ยอมรับแสดงออกว่าให้เรียกได้ หลายคนเรียกใครด้วยชื่อที่ตัวเองคิดและตั้งให้จนชินแล้ว โดยที่ไม่รู้เลยว่านี่ก็ถือเป็นการบูลลี่รูปแบบหนึ่งและเป็นจุดเริ่มต้นของการบูลลี่ด้วยซ้ำที่สร้างความเจ็บปวดจนทำให้คนที่โดนต้องรู้สึกลบกับตัวเอง รวมถึงรู้สึกว่ากำลังถูกตีตรา พอมองเรื่องนี้ตามแนวคิดที่อธิบายถึงลำดับขั้นของการโต้แย้งจากพีระมิดของ Pual Graham ก็พูดว่า Name-Calling (การเรียกด้วยฉายา) นี่แหละเป็นพื้นฐานของการแสดงพฤติกรรมผ่านคำพูดที่อยู่ระดับล่างสุด มันใช้ความคิดน้อยที่สุดด้วย แต่ผลของมันก็คือเป็นการแปะป้ายกับคนนั้น […]

Quotidian Record บันทึกการเดินทางด้วย GPS ตลอด 1 ปี

ถ้าการเดินทางในชีวิตของคนเราแต่ละปี บันทึกเป็นเพลงได้ คิดว่ามันจะเพราะแค่ไหน Quotidian Record หรือ เสียงของทุกวัน เป็นบันทึกการเดินทางด้วย GPS ตลอด 1 ปี ของ Brian House ศิลปินมีเดียที่สนใจงานภูมิศาตร์และดนตรีทดลอง ได้สร้าง Soundtrack ชีวิตของตัวเองออกมาผ่านการเก็บข้อมูลสถานที่ที่ตัวเองไป เริ่มตั้งแต่ก้าวเท้าออกจากบ้านไปทุกที่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะไปที่ทำงาน อพาร์ตเมนต์ของเพื่อน นอกเมือง ต่างประเทศ รวมถึงสถานที่โปรดของตัวเอง เฮ้าส์ได้เอามาเชื่อมเข้ากับโน้ตเพลงถอดออกมาเป็นเสียงลงไวนิล โดยการหมุนของแผ่น 1 รอบเท่ากับเวลา 1 วัน และ 1 ปี (365 วัน) ออกมาเป็นประมาณ 11 นาที กลายเป็นเพลงประกอบฉากชีวิตที่น่าฟังและมีคุณค่า ทำให้เราได้สัมผัสสิ่งที่เฮ้าส์เจอ ความสม่ำเสมอของการเดินทางผ่านภาพจินตนาการกับเสียงเพลง ผลงานนี้ถูกมองว่าเป็นศิลปะร่วมสมัยที่ผสมผสานระหว่างตัวตนของเฮ้าส์กับดนตรีสมัยนิยมได้ออกมาเป็นจังหวะที่พริ้วไหวสวยงาม จนถูกตีพิมพ์ใน TIME, The New York Times, WIRED รวมถึงจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะชื่อดังอย่าง MoMA ในนิวยอร์ก, MOCA ลอสแองเจลิส และอีกหลายที่ในอเมริกา มาลองใช้เวลาไม่กี่นาทีซึมซับสุนทรียะเสียงจากชีวิตคนหนึ่งที่อยากถ่ายทอดให้กับเราได้สัมผัสความสวยงามของการเดินทางด้วยกัน https://bit.ly/3rjkIxC  อ้างอิงhttps://bit.ly/3GxKh4jhttps://bit.ly/3rjkIxC

NIKSEN ศาสตร์แห่งความสุขจากชาวดัตช์

ใครที่เครียดกำลังมาก ลองวางทุกอย่างลงสักแป๊บหนึ่งแล้วใช้ Niksen ศาสตร์แห่งความสุขจากชาวดัตช์ดูด้วยการอยู่เฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไรเลย หลายคนอาจสงสัยในเมื่อเรามีสิ่งที่ต้องทำอยู่ตลอด มีเรื่องในชีวิตให้คิด ทั้งเรื่องที่บ้าน เรื่องงาน ความรัก แล่นอยู่ในหัวเต็มไปหมดแล้วการให้อยู่เฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไรจะทำให้เสียเวลาหรือเปล่า คอนเซ็ปต์หลักของ Niksen (นิกเซน) เป็นการหยุดพักสั้น ๆ ช่วงขณะหนึ่งที่เราเปิดให้ตัวเองได้ลองกล้าวางจากทุกสิ่ง พักผ่อน สงบจิตใจลงด้วยการไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องมีเป้าหมายใด ๆ ทั้งสิ้น ปลดปล่อยความคิดและอารมณ์ของตัวเองซึ่งอาจจะเริ่มทำในช่วงแรกแค่ 1-2 นาทีก็ยังได้ Ruut Veenhoven นักสังคมวิทยาประจำมหาวิทยาลัย Erasmus Rotterdam ในเนเธอร์แลนด์ได้อธิบายว่า การทำนิกเซนจริง ๆ แล้วแค่นั่งบนเก้าอี้หรือมองเหม่อออกไปนอกหน้าต่าง หรือแม้แต่ปล่อยให้ใจของเราล่องลอยไปช่วงหนึ่งก็ถือเป็นการพักผ่อนตามแนวคิดนิกเซนแล้ว นอกจากนี้ยังบอกด้วยว่าเราทุกคนควรจะมีช่วงเวลาที่พักผ่อนเป็นของตัวเองระหว่างวัน ซึ่งการทำนิกเซนสามารถทำร่วมกับกิจกรรมอื่นได้ด้วยหากกิจกรรมนั้นเป็นการทำอะไรอย่างบางที่ทำเรื่อย ๆ ทำซ้ำ ๆ เช่น นั่งเหม่อในสวนดูคนที่ผ่านไปมาแบบไม่คิดอะไร ถักไหมพรมแล้วปล่อยความคิด หรือแม้แต่ฟังเพลงแล้วปล่อยไหลไปเรื่อย ๆ สำหรับประโยชน์ของนิกเซน ถ้าเราทำได้ มันไม่ได้ทำให้เราขี้เกียจขึ้น แต่ตรงกับข้ามเลยนิกเซนช่วยกระตุ้นเราได้ดีในแง่ของการทำงานและลดระดับความเครียด เนื่องจากช่วงเวลาที่เราทำนิกเซนจะทำให้เราผ่อนคลาย ฟื้นฟูเราจากตารางชีวิตวุ่น ๆ สมองได้พักและเข้าสู้โหมดจัดเรียงความคิด ซึ่งช่วยกระตุ้นพลังและความคิดสร้างสรรค์เมื่อกลับมาทำงานหรือใช้ชีวิตต่ออีกครั้ง และช่วยเราเรื่องภาวะหมดไฟหรือ Burnout Syndrome […]