เดทแรก เลี้ยงข้าว VS แชร์กัน ? เมื่อความเป็นเพศแฝงอำนาจในความสัมพันธ์

เดทแรก เลี้ยงข้าว VS แชร์กัน ? เมื่อความเป็นเพศแฝงอำนาจในความสัมพันธ์

เดทแรก เลี้ยงข้าว VS แชร์กัน ? 💏 ถึงที่ผ่านมาระบบอำนาจและระบบความเชื่อในโลกธุรกิจยังแฝงด้วยมุมมองเรื่องเพศ และผูกติดอยู่กับแนวคิดชายเป็นศูนย์กลาง (Androcentric) เพราะคำว่าสุภาพบุรุษที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยที่ทำให้เกิดชุดความคิดของที่คาดหวังการเป็นดูแลอีกฝ่าย ทำให้ผู้หญิงและคนที่มีความหลากทางเพศถูกมองว่ามีอำนาจน้อยกว่าในที่สาธารณะ และความสัมพันธ์ ย้อนกลับไปใกล้ ๆ ที่มีผลสำรวจเมื่อสองปีก่อนความเชื่อที่ว่าเดทแรกผู้ชายควรเป็นคนจ่ายก็ยังสูง 78% แล้วเป็นฝั่งผู้ชายที่เชื่อเองด้วย เพราะไม่อยากรู้สึกผิด รวมถึงรู้สึกว่ามันเป็นวิธีการที่จะปกป้องและแสดงความมีน้ำใจกับอีกฝ่าย แต่ถึงตอนนี้ที่เราตระหนักในเรื่องของความเท่าเทียมทางเพศ มันก็ทลายความเชื่อเดิม เพศไหนก็หารายได้และมีอาชีพเป็นของตัวเองแล้ว ดังนั้น นอกเหนือจากการตกลงแชร์ค่าใช้จ่ายอย่างเท่า ๆ กันเวลาออกเดทที่ถูกมองว่าแฟร์ที่สุดกับทั้งสองฝ่าย มันก็อาจจะเป็นความเต็มใจของฝ่ายหนึ่งที่อยากจะซัพพอร์ตในเดทนั้น เรามองว่าเรื่องนี้คุยกันต่อได้ เพื่อนแต่ละคนคิดยังไงบ้าง

Rollercoaster Relation(shit) ความสัมพันธ์สุขสุด เศร้าสุดเหมือนรถไฟเหาะ

Rollercoaster Relation(shit)

เลี้ยงเราไว้ในความสัมพันธ์ แล้วถึงจุดหนึ่งเธอก็ทิ้งมัน 🔪💔 ใครเจออยู่บ้างมีช่วงที่รู้สึกสุขสุดกับความสัมพันธ์ไปได้ดี แต่แล้วอยู่ ๆ บางก็รู้สึกเหมือนอยู่คนเดียว ดาวน์มากตอนที่อีกคนหายไปก่อนที่เขาจะกลับมาหาเราใหม่ ทำไมเรารู้สึกเหมือนโดนเล่นกับความรู้สึก เรากำลังเจอ Rollercoaster Relationship อยู่ จริง ๆ รูปแบบความสัมพันธ์นี้มีหลายระดับและแทรกอยู่ในแต่ละรูปแบบความสัมพันธ์ด้วย อย่างความสัมพันธ์ที่ยังไม่มีชื่อเรียก ไม่ได้ตกลงกันก็อาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะที่เราคิดว่ามันคือการเป็นคุย เมื่ออีกคนมีเวลาที่เฟดไปจากเราและเขาอาจะมีตัวเลือกในความสัมพันธ์ สุดท้ายเขาก็เล่นกับใจเรา มีช่วงเดท มีเซ็กส์ ให้เรารู้สึกรักแล้วปล่อยเราไว้มาหาเราเป็นระยะให้เราเหงา เศร้า และตั้งคำถามกับตัวเอง เหมือนเลี้ยงเราเป็นแฮมสเตอร์ไว้ในกรง หรืออีกแบบที่ความพันธ์แบบนี้อยู่ในคู่ในคบกันแล้วก้เหมือนเกมเลยอะ อีกฝ่ายขยันเล่นกับความรู้สึก อารมณ์ขึ้นลง ดีสุด ใจดีสุดไปพร้อมกับก็ใจร้าย ทิ่มแทงกันสุด ๆ ด้วย ซึ่งมันมีความ Toxic ประมาณหนึ่งเลยที่ในความสัมพันธ์มีความไม่มั่นคงทางอารมณ์ มองดูแล้วแบบไหนก็มีความเจ็บปวด เราคิดว่าในทุกวันนี้ที่การสร้างความสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องยากโดยเฉพาะในโลกออนไลน์ เพื่อนอาจจะกำลังเจออยู่ไหม แล้วกับมันตอนนี้เป็นยังไง

ทำงานก็เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว จะเอาเวลาไหนมาเดท

ทำงานก็เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว จะเอาเวลาไหนมาเดท

ทำงานก็เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว จะเอาเวลาไหนมาเดท 🧑🏻‍❤️‍👩🏼 ยิ่งโต งานยิ่งเยอะ ความรับผิดชอบกับงานต่าง ๆ ทุกวันหมดไปกับการทำงานและเหนื่อยล้า ถ้ายิ่งโสดด้วยบางทีก็มีเคว้ง นี่เป็นปรากฎการณ์ของคนรุ่นใหม่จาก Waithood ที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตและการเมือง การจะให้ใครจะสักคนเข้ามาอยู่ในชีวิตของคนวัยทำงาน อย่างหนึ่งจากตัวเอง เราก็สบายใจกว่าถ้ามีความพร้อมระดับหนึ่ง มีเงินใช้จ่ายเพื่อการเดทที่สะดวกสบายได้ ในเมื่อที่เดทดี ๆ ที่ฟรีมีน้อย รายได้ต้องพอซื้อสถานที่ที่ดี ของขวัญ กินของดี ๆ ได้ สิ่งนี้ก็ผูกกับการทำงานที่ทุ่มเทให้ได้เงินมากขึ้น แต่แล้วเวลาทีเหลือจากการทำงานก็ลดลงไปอีกที่จะไปสร้างความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ กลายเป็นว่าตัวช่วยที่มองเห็นก็เป็นแอปฯ หาคู่ ในเมื่อกว่าจะเลิกงาน มีเวลาไปเจอใคร เดินทางอีกการคุยกันในแอปฯ ให้โอเค แล้วมาเจอกันช่วงเย็นหรือวันหยุดที่ตรงกันอาจจะง่ายกว่า แต่มันมีประสิทธิภาพแค่ไหนกับคนที่มองหาความสัมพันธ์แบบจริงจังเพราะพื้นที่นี้ทุกคนต่างมีตัวเลือก ในขณะที่เพื่อนอีกหลายคนที่ไม่เลือกที่ใช้แอปฯ หรือเหนื่อยกับมันแล้ว การจะหาใครก็ใช้การรอจังหวะ การได้รู้จักแทน จากเพื่อนของเพื่อนหรือวงสังคมใหม่บ้าง แต่รูปแบบนี้ก็ใช้เวลา แล้วการที่จะมีแพลนเดทช้า ๆ ค่อย ๆ คุยทำความรู้จัก ซัพพอร์ตกันจากงาน ก็มีทั้งคู่ที่ประสบความสำเร็จ และคู่ที่ติดหล่มอยู่ในความคลุมเครืออีก รู้สึกว่าเรื่องนี้มันยากจริง ๆ แล้วรอบตัวเพื่อนทำงานที่โสดเหมือนกันก็ยังอยู่วังวนนี้ อยากชวนคุยว่าตอนนี้มีใครกำลังเจอเหมือนกันบ้าง หรือไม่มีปัญหาก็คุยและคบไปพร้อมกับทำงานได้ จัดการเวลายังไง ใช้วิธีแบบไหน […]

POLYAMORY ผิดไหมที่รักหลายคนพร้อมกัน

POLYAMORY ผิดไหมที่รักหลายคนพร้อมกัน

ผิดไหมที่รักหลายคนพร้อมกัน 💑💏 เราจะเห็นความสัมพันธ์แบบนี้อยู่บ่อย ๆ ในต่างประเทศ อย่างหนังหรือซีรีส์วัยรุ่นที่ตัวละครรักกันหลายคน และมีรสนิยมทางเพศที่หลากหลาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือความสัมพันธ์แบบ Polyamory และในบ้านเรามีบ้าง มันคือการที่เราดีลเป็นแฟนกันมากกว่าหนึ่งคน โดยที่ทุกคนรู้สึกดีกันหมด ไม่ติดเรื่องเพศใด ๆ และคบกันแบบเปิดเผย จะแต่งงานหรือไม่แต่งงานก็ไม่ติด อย่างข่าวของ Una Healy นักร้องสาววง The Saturday จากอังกฤษ เธอออกมาพูดเป็นนัย ๆ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์แบบ Polyamory กับ David Haye (นักมวย) และ Sian Osborne (นางแบบ) แล้วนางก็ดูแฮปปี้กับความสัมพันธ์แบบนี้มาก ๆ ซึ่ง Polyamory มันต่างจากความสัมพันธ์แบบเปิด (Open Relationship) ที่เรามีแฟนแค่คนเดียวแล้วดีลกับแฟนว่าใครคนใดคนหนึ่งสามารถมีเซ็กส์กับคนอื่นได้ แต่มีข้อแม้ว่าห้ามพัฒนาความสัมพันธ์เด็ดขาด จริง ๆ แล้วไม่ผิดเลยที่จะรักหลายคนในเวลาเดียวกัน เพราะมันขึ้นอยู่กับรสนิยมความชอบด้วย แล้วที่สำคัญต้องคุยกันตกลงกันให้ดีว่า เธอและเธอและเธอ อยากมีความสัมพันธ์แบบไหน อย่าลืมว่าต้องยินยอมกันทุกฝ่ายนะ

KAROSHI SYNDROME คัลเจอร์ทำงานถวายหัวในญี่ปุ่น ยอมทำงานจนตาย ดีกว่าอดตาย บ้านเราจะรับมือยังไง

KAROSHI SYNDROME คัลเจอร์ทำงานถวายหัวในญี่ปุ่น ยอมทำงานจนตาย ดีกว่าอดตาย บ้านเราจะรับมือยังไง

ร่างกาย กูขอโทษ Karoshi Syndrome คัลเจอร์ทำงานถวายหัว ยอมทำงานจนตาย ดีกว่าอดตาย เรากำลังเจออยู่รึเปล่า 👻🎌 อย่างที่รู้กัน ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ทุกคนทำงานกันหนักมาก วินัยสูง แล้วเป็นเรื่องปกติจนมีเคสที่ทนแรงกดดันจากการทำงานไม่ไหว สุดท้ายคือร่างกายรับไม่ไหว หัวใจล้มเหลวหรือฆ่าตัวตายด้วยเหมือนกัน ซึ่งมันกลายเป็นชื่อเรียกคาโรชิซินโดรม ภาวะนี้ไม่อยู่แค่ในญี่ปุ่นเท่านั้น มีคนกำลังเป็นคาโรชิ ซินโดรมยู่ทั่วโลกเลย มีงานศึกษาที่ยืนยันภาวะนี้ด้วยว่าสถิติสูงมากกับทุกคนที่ทำงานเฉลี่ย 55 ชั่วโมงขึ้นไปต่ออาทิตย์ก้คือเสี่ยง 17% ที่จะทำงานจนตายได้ แล้วก็สูง 35% เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ตอนนี้ญี่ปุ่นก็ยังสู้กับภาวะนี้อยู่ พอกลับมาที่บ้านเราถึงเราจะพยายามสร้างวัฒนธรรม Work Life Balance กันอยู่ แต่จะรับมือยังไง ยังมีคนทำงานอีกมากมายที่กำลังสู้กับชั่วโมงการทำงาน ภาระงานที่หนัก โหด และมากเกิน แม่งเป็นปัญหาที่มีปัจจัยหลายเลเยอร์มาก บางทีปัญหาก็ไม่ได้เกิดจากนายจ้างเสมอไปด้วย เชิงระบบก็เกี่ยว เราคิดว่ารัฐบาลวางแผนควบคุมชั่วโมงการทำงานที่สอดคล้องกับประเภทงานและเพิ่มอัตรารายได้ให้มากพอกับค่าครองชีพก็อาจจะช่วยลดคาโรชิซินโดรมลงที่ทำให้เราไม่กลัวอดตายจนยอมทำงานหนัก

ความเคว้งกับชีวิตเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หยิบหนังสือเล่มนี้

ความเคว้งกับชีวิตเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หยิบหนังสือเล่มนี้ ทุกวันนี้เราใช้ชีวิตตามลูป จากเรียนสู่การทำงาน เดินทาง พักผ่อน หาความบันเทิงให้กับตัวเองบ้าง แต่ลึก ๆ ข้างในความคิดมีคำถามว่าตกลงแล้วเราใช้ชีวิตเพื่ออะไร ความหมายของชีวิตคืออะไร หนังสือเล่มนี้อาจจะพอช่วยพาสำรวจคำตอบที่เราอยากหาได้มากขึ้น ผ่านการมองคอนเซ็ปต์ของชีวิต กิจกรรมผู้คน ลูปต่าง ๆ กลไกสังคม ฯลฯ ไม่ว่าปลายทางหลังอ่านจบเพื่อนเจอไหมคำตอบที่อยากได้ไหมก็ตาม แต่เราอยากให้ลองดูนะ ถ้าชอบแบบแทรกปรัชญาและผสมเล่าเรื่อง น่าจะชอบที่วูล์ฟ (นักเขียน) เขียนเป็นสำเนียงแบบนี้มาก ๆรวมถึงปกด้วย ตกหลุมรักไปอีกเล่ม Meaning in Life and Why It Matters ความหมายชีวิตSusan Wolf เขียนธีรภัทร รื่นศิริ แปลสำนักพิมพ์อิลลูมิเนชันส์เอดิชันส์

จบไม่สวย ช่างแม่ง บริษัทออสเตรเลีย รับเปลี่ยนจดหมายแฟนเก่า เป็นกระดาษเช็ดตูด

จบไม่สวย ช่างแม่ง บริษัทออสเตรเลีย รับเปลี่ยนจดหมายแฟนเก่า เป็นกระดาษเช็ดตูด

จบไม่สวย ช่างแม่ง บริษัทออสเตรเลียเปลี่ยนจดหมายแฟนเก่าเป็นกระดาษเช็ดตูด 🧻💔 มันมีอะไรแบบนี้ด้วย เปลี่ยนความโกรธให้มีประโยชน์ แค้นนี้ต้องชำระของจริง ฟีลแบบความสัมพันธ์จบแต่ความรู้สึกยังอยู่ ดังนั้นของที่เธอทิ้งไว้ จดหมายที่เธอเคยเขียนให้ เอามาทำเป็นทิชชู่ไว้เช็ดตูดไปเลย แรงดี แต่โคตรชอบ กิมมิคมันอยู่ตรงนี้ที่เป็นกระดาษชำระก็ความหมายว่าให้ล้าง ทิ้งความทรงจำที่ไม่ดีในความรักครั้งเก่า ๆ แล้วมันไม่ใช่แค่อีเวนต์ แต่ทำกันจริงจังเป็นเรื่องเป็นราว เปิดเป็นบริษัทในออสเตรเลีย นอกจากรับจดหมายจากแฟนเก่าแล้วก็รับกระดาษรีไซเคิลอื่นด้วยที่เอามาทำทิชชู่ได้ ดูมีประโยชน์ ไม่ต้องเก็บของพวกนี้ให้รกสายตา อยากให้มีที่ไทยบ้าง อยากเอาพวกโปสเตอร์และจดหมายจากแฟนเก่าไปทำ เพื่อนคิดว่าถ้าบ้านเรามีแบบนี้ ทุกคนจะแห่กันไปทำทิชชู่เยอะไหม

รักหรือจำกัดอำนาจ ความหนักที่คนเป็นลูกต้องแบกไว้ เมื่อเกิดในครอบครัวเอเชีย

รักหรือจำกัดอำนาจ ความหนักที่คนเป็นลูกต้องแบกไว้ เมื่อเกิดในครอบครัวเอเชีย

เชื่อไหมว่าส่วนใหญ่ความต่างของลูกที่เกิดในครอบครัวที่อยู่ในการเลี้ยงดูของพ่อ แม่ ผู้ปกครองเอเชียจะเชื่อฟังและยอมจำนนโดยธรรมชาติมากกว่าลูกที่เกิดจากครอบครัวฝั่งตะวันตก 👨‍👩‍👧‍👦 การยอมจำนนนี้มาจากการห้าม การตี การสั่งสอน และตีกรอบในทัศนคติของของบ้านฝั่งเอเชียมองสิ่งนี้เป็นความรัก ความคาดหวัง และความห่วงใยกับลูก แต่ในระดับภาวะทางอารมณ์และจิตใจถูกเติมเต็มอย่างพอดีแค่ไหน การที่เกิดคำนิยามการเลี้ยงดูของบ้านเอเชียว่าแบบเฮลิคอปเตอร์และแม่เสือ ในรายละเอีดดมันชัดมากว่าคนเป็นลูกอยู่ในการเลี้ยงที่ถูกจำกัด ตั้งคำถาม ต่อรองกับอำนาจในบ้านของผู้ใหญ่แทบไม่ได้เลยด้วยซ้ำ ถ้าจะบอกว่าสิ่งนี้มันเป็นการสร้างพื้นที่ความปลอดภัย ฝึกวินัย และเป็นเกราะหุ้มกันภัยทางสังคมชั้นดี เราก็ตั้งคำถามกับความอิสระที่จะเรียนรู้ใช้ชีวิตด้วยตัวเอง แม้แต่กับเรื่องเล็ก ๆ ประจำวันว่ามันอยู่ตรงไหนของกระบวนการเลี้ยงลูกในรูปแบบนี้ เราเจอเสมอที่ปลายทางของการหยุดสิ่งนี้เป็นเลือกการเก็บกระเป๋าออกมาจากอำนาจของคนในบ้าน จบลงด้วยการทวงถามบุญคุณ การทดแทนค่าเลี้ยงดู ค่าน้ำนม ลูกบางคนที่ยังติดอยู่ก็หวังที่จะโตขึ้นอย่างไว ๆ ทั้งทางอายุและความสามารถในการหารายได้ เพื่อให้ตัวเองพ้นออกมาตัดสินใจอย่างใช้ชีวิตอิสระและสบายใจ สุดท้ายวงจรของการเติบโตและออกมาจากบ้านก็ไม่ใช่ความผลิบาน แต่เป็นความต้องการพ้นจากอำนาจที่ทำให้ไม่เป็นตัวเอง น่าเศร้านะที่เราเจอทั้งรายงาน วิจัยเยอะมาก ว่าการเลี้ยงดูนี้ทำให้ภูมิคุ้มกันที่ดีทางจิตใจหายไป เคสที่แย่สุดมันทำให้วิตกกังวล ซึมเศร้า และฆ่าตัวตาย เรื่องนี้เลยเป็นเรื่องที่อยากชวนคุย เราเคารพทุกการเลี้ยงดูที่มีความพร้อมและเสรีจากผู้ใหญ่ในบ้าน ในขณะเดียวกันก็หวังว่าการใช้อำนาจที่ทำให้ลูกเจ็บปวดไม่ว่าจะทางไหนก็ตามจะได้รับการตระหนักมากขึ้น

SITUATIONSHIP ไม่เหงาทั้งคู่ แต่ไม่คบกัน ถ้าอยากจริงจังก็คือ แยกย้าย

SITUATIONSHIP ไม่เหงาทั้งคู่ แต่ไม่คบกัน ถ้าอยากจริงจังก็คือ แยกย้าย

ไม่เหงาทั้งคู่ บอกว่ารัก แต่ไม่คบกัน 🧑🏻‍🤝‍🧑🏼 แฮปปีวาเลนไทน์ ใครยังไปไม่ถึงไหน ติดกับความสัมพันธ์แบบที่อธิบายไม่ได้อยู่บ้าง รู้สึกดี เที่ยวด้วยกัน มีเซ็กส์กัน บอกรักกัน แต่ไม่มีสถานะที่ชัดเจน มันคือ Situationship คำจำกัดความของความสัมพันธ์ที่ถ้ามีการทวงถามถึงสถานะเท่ากับ แยกย้าย สิ่งที่แย่ที่สุดของ Situationship คือฝ่ายที่ต้องการความชัดเจนเพราะไม่อยากสงสัยแล้วว่าตัวเองอยู่จุดไหน แต่พอยังต้องอยู่ในลูปนี้ก็รู้สึกโดดเดี่ยว สูญหายจากอีกคน หนักที่สุดก็คือกระทบความมั่นใจในตัวเองและสุขภาพจิต ความยากของการออกจาก Situationship เรามองว่าแต่ละคนมีความเหงาและต้องการตอบสนองอยู่แล้ว ถึงจะเป็นความสัมพันธ์แบบนี้มันก็ช่วยหล่อเลี้ยงใจอยู่ต่อให้แค่จะระยะหนึ่งก่อนที่เราจะรู้ว่าต้องการอีกฝ่ายมากขึ้น จริง ๆ มันมีความคล้ายกันกับ FWB แต่ต่างกันตรงที่ไม่ได้มีการตกลงพูดชัดว่าเป็นแบบไหน คนที่ใจแข็งเท่านั้นถึงจะรอดกับลูปพวกนี้ ยากนะที่เราจะแยกความรู้สึกออกจากการผูกพันกันได้ในเมื่อเราถูกทรีตอย่างดีใน Situationship อยากรู้เหมือนกันว่าใครอยู่ในความสัมพันธ์แบบนี้ตอนนี้ เป็นยังไงบ้าง หรือออกมาได้แล้ว

แปลกไหม ถ้าเบื่อแฟนทั้งที่คบกันดีอยู่

แปลกไหม ถ้าเบื่อแฟนทั้งที่คบกันดีอยู่ ยังไม่ตอบคำถาม แต่มีอะไรให้ถามตัวเองก่อนว่าระหว่าง เราเบื่อในความสัมพันธ์ของตัวเองกับเรากำลังสบายเลยว่าง ๆ ปล่อยตัว มันคือแบบไหนที่เราเบื่อ เพราะการรู้สึกเบื่อในความสัมพันธ์บอกเลยไม่แปลก ต่อให้เราคิดว่าก็รักกันดีอยู่ ทำไมเบื่อวะ จริง ๆ มันคือ เรากับความสัมพันธ์ กำลังเปลี่ยนเป็นความสบายใจ มั่นคง แทนความหวือหวาแบบก่อน ระยะนี้เราสังเกตตัวเองและอีกคนได้ว่ามันโอเคแค่ไหนหรือแย่ถึงขนาดกับทำให้ทั้งคู่ขาดแพชชั่นต่อกันไปเลยไหม คบกันไปนาน ๆ หลายเรื่องที่เคยเป็นเรื่องหลักอาจจะกลายเป็นเรื่องรองด้วยซ้ำ พวกเซอร์ไพรส์ ของขวัญ เดท เซ็กส์ มันมีงานศึกษายันพวกคู่หลังแต่งงานก็ชี้ชัดอยู่ว่าเราเบื่อกันได้ ความเบื่อของเราหลัก ๆ จะมาจากเรื่องการหลวมตัวที่จะ Emotionnal support กันด้วยเลยทำให้ต่างคนรู้สึกเบาบาง เฉย ๆ มากขึ้นแบบเจออะไรมาก็จัดการเอง อยู่คนเดียวก็ได้ ซึ่งอันนี้น้ำหนักมันเยอะกว่าพวกเรื่องเดท เซ็กส์อีก การใช้คำพูดดี ๆ กอด จับมือ ซอฟท์สกินชิพพวกนี้คือการซัพพอร์ตทางอารมณ์หมดที่เราจะทำได้ให้ลดความเบื่อต่อกันได้ จะเพิ่มกิจกรรมชวนไปเดินเล่น ทำกิจกรรมใหม่ ๆ อีกก็ได้ แต่ทำอย่างแรกเป็นหลักก็ช่วยได้เยอะ คบกันมานาน ๆ มันเบื่อกันได้อยู่แล้วแต่มันก็ปรับตัวกันได้เหมือนกัน เริ่มต้นให้คุยกันดู