คนในแสงทำผิด ต้องขอโทษเท่าไหร่ถึงพอ ?
คนในแสงทำผิด ต้องขอโทษเท่าไหร่ถึงพอ ? เราควรยกโทษให้เซเล็บที่บ้งทุกคนรึเปล่า จากกรณีล่าสุดที่มีการเรียกร้องการออกมาขอโทษและรับผิดชอบของนักแสดงในบ้านเราต่อพฤติกรรมที่เคยกลั่นแกล้งเพื่อนในชั้นหลายคน ที่หนึ่งในนั้นมีคนที่เป็นออทิสติกอยู่ด้วย กลายเป็นบทเรียนราคาแพงของคนที่ใช้ความรุนแรง บูลลี่คนอื่นที่เรามองเห็นด้วยกัน ทำไมถึงต้องชดใช้ด้วยการได้รับการอภัยจากเหยื่อและสังคมโดยเฉพาะคนดัง เราใช้คำถามว่าการทำเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องในอดีตที่อาจเกิดขึ้นจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความยังไม่ได้ตระหนักจากในวัยเด็กหรือวัยรุ่นได้จริงไหม การบูลลี่และการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้น เราพูดไม่ได้เลยว่าแบบไหนที่เจ็บปวดที่สุด มันหลายรูปแบบมาก ล้อเลียนหน้าตา ผิว ฐานะทางการเงิน เชื้อชาติ รสนิยม บอกว่าแซวเล่น ล้อเลียนชื่อเฉพาะ ศาสนา แกล้งเล็กน้อย ผลัก ทำให้ตกใจ สาดน้ำ เขียนสีบนตัว ไปจนถึงทำร้ายร่างกาย และอีกหลายวิธี ทุกอย่างมันกลายเป็นแผลทางใจได้ทั้งนั้น ความรุนแรงในการกลั่นแกล้งและบูลลี่ที่เกิดในโรงเรียน ทำให้หลายคนที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นและกำลังหาคุณค่าในตัวเองต้องเป็นซึมเศร้า วิตกกังวล ในบ้านเรามีเคสให้เห็นทุกปี เด็ก ม.ต้น ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองจากการถูกเพื่อนบูลลี่ไม่สามารถแบกรับความเจ็บปวดจากคำที่ได้รับมา เรามองว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก จากความรู้สึกอับอายกลายมาเป็นบาดแผลทางใจไปจนถึงการตัดสินใจฆ่าตัวตาย แม้ว่าสำหรับหลายคนที่เป็นผู้ถูกกระทำที่สามารถผ่านมันมาได้ด้วยความเข้มแข็งก็ยังมีรอยแผลในใจอยู่ดี ความทรงจำพวกนั้น ถ้ามันกลับมาก็ทำให้รู้สึกแย่กับตัวเอง ฝันร้าย และเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าได้ ในมุมภาพใหญ่ระดับประเทศ การลงโทษของคนที่เป็นผู้กระทำที่กลั่นแกล้ง บูลลี่คนอื่นมีโทษหนักแค่ไหน มันมากพอที่จะชดเชยความเจ็บปวดของเหยื่อได้หรือยัง เรามีกรณีศึกษาในประเทศเกาหลีใต้และในสหรัฐอเมริกาหลายเคสมาก ความเข้มข้นของการลงโทษจากสังคมในสองประเทศนี้ ถ้าเจอคนดังหรือคนที่มีผลต่อสังคมเคยเป็นคนที่เคยแกล้ง บูลลี่คนอื่น จุดสุดท้ายคือการลงชื่อเรียกร้องให้ถอดถอนจากอาชีพศิลปิน นักแสดง และได้รับโทษตามกฎหมายในกรณีที่เป็นการกระทำที่รุนแรง (ลองอ่านการลงโทษและเคสเพิ่มเติมได้ที่อ้างอิง) ในจุดของคนที่เป็น คนในแสงของสังคม มีพื้นที่สื่อเป็นของตัวเองยิ่งเป็นบทเรียนร่วมอย่างดี การขอโทษและให้มองการกลั่งแกล้ง บูลลี่เป็นเพียงเรื่องคึกคะนอง เราตั้งคำถามว่ามันจะเป็นการทำให้การกระทำเหล่านี้จะกลายเป็นตัวอย่างที่ถูกมองว่าเป็นการกระทำที่เกือบจะปกติ […]
สรุปเลือดกรุ๊ปบีค้องโสดมั้ย หรือที่จริงการไม่มีใครเอาไม่เกี่ยวกับกรุ๊ปเลือด
“หรือเป็นเพราะเลือดกรุ๊ปบีหรือเปล่า” สารภาพ ในหัวใครยังมีเพลงติดหูอยู่ เพลงมาแรงสุด ในเนื้อเพลงพูดถึงการโดนเท ตัดพ้อ เพราะว่าเราเป็นกรุ๊ปนี้ เธอเลยไม่เอา ตกลงมันเกี่ยวไหมที่ตัดสินว่ากรุ๊ปบีต้องโสด (หรือจริง ๆ จะเลือดกรุ๊ปไหนก็ยังโสด ) ตกลงแล้วกรุ๊ปเลือดจะตัดสินตัดสินเราได้ไหม เรามาดูก่อนว่าความเชื่อเรื่องกรุ๊ปเลือดกับนิสัยมันมีจริง ๆ ไม่แปลกที่ชุดความคิดพวกนี้มามาถึงเราเพราะมันเคยมีทฤษฎีความเชื่อว่ากรุ๊ปเลือดสามารถบอกได้ว่าเราเป็นคนยังไง มีนิสัยแบบไหนได้เลยจากญี่ปุ่น มาเลยอันแรก ตั้งแต่ปี 1920 มีทฤษฎีความเชื่อของ Tokeji Furukawa ศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่น (นับว่าเป็นการศึกษาครั้งแรกเลยก็ว่าได้) เขาพูดเอาไว้ว่า “กรุ๊ปเลือดของมนุษย์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของอารมณ์” จากการประเมินทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ตอนนั้นคนก็เริ่มเอาเรื่องกรุ๊ปเลือดกับนิสัยไปโยงกันละ ทีนี้ต่อมา ปี 1971 Nomi นักเขียนชาวญี่ปุ่น ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อว่า “Understanding Affinity by Blood Type” เกี่ยวกับการให้คำแนะนำและทำนายการใช้ชีวิตตามกรุ๊ปเลือด บอกไว้ว่า “1 ใน 4 ของพฤติกรรมและบุคลิกภาพของบุคคลนั้นเป็นผลมาจากกรุ๊ปเลือด” สิ่งที่เกิดขึ้น ชุดความคิดนี้ก็ถูกส่งต่อกันมาเรื่อย ๆ เวลาผ่านมา แนวคิดนี้กระจายไปทั่ว เอเชียนี่หนักแน่มาก ทุกแพลตฟอร์ม ทุกคนหันมาดูกรุ๊ปเลือดตัวเองกับตำราทายนิสัยต่าง ๆ […]
ตึงจริง สวีเดน! ทั้งที่ประเทศดีติดอันดับโลก แต่ทำไมถึงมีวงเดธเมทัล เยอะจนล้นวงการ
ตึงจริง สวีเดน! ทั้งที่ประเทศดีติดอันดับโลก แต่ทำไมถึงมีวงเดธเมทัลเยอะจนล้นวงการหรืออยากได้อะไรที่มันท้าทาย เวลานึกถึงประเทศแถบสแกนดิเนเวีย เพลงแบบไหนที่เด้งขึ้นมาหัว ถ้าเราจะรู้สึกว่าเป็นโฟล์ค ไม่ก็เพลงบรรเลงช้า ๆ ที่มันดูเข้ากับบรรยากาศภูมิประเทศไลฟ์สไตล์แบบผู้เจริญ อ่อน นุ่ม แต่เราตกใจมาก พอรู้ว่าดนตรีที่มีจนล้นประเทศกลับเป็นแนวเดธเมทัล (Death Metal) งงเลย ได้ไง อย่างสวีเดนที่มีวงเมทัลเยอะจริง เขาดุดันกันด้วยหรอ เราเลยลองไล่ย้อนดูประวัติรากของดนตรีแล้วก็ได้เจอว่า Swedish Death Metal หรือ SDM มีการก่อตัวของดนตรีมานานมากแล้วตั้งแต่ปี 1980 ซึ่งเริ่มที่เมืองโกเธนเบิร์ก (Gothenburg) ความน่าสนใจคือแนวเพลงนี้กระตุ้นความรู้สึกของความลำบาก สับสัน ระบายอารมณ์ และความตาย จนถึงขั้นถูกเรียกว่า “Goth” ตามชื่อเมืองและมีวงเมทัลเกิดใหม่เรื่อย ๆ แล้วถ้าย้อนไปเก่ากว่านั้น เรารู้ว่าคนสวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก (อาจจะมี) บรรพบุรุษเป็นชาวไวกิง (Vikings) ซึ่งเป็นกลุ่มนักรบที่ฮาร์ดคอร์ แล้วก็ให้กำเนิดดนตรี Viking-Metal ด้วยที่ไว้ใช้สำหรับปลุกใจ งานเลี้ยงค่ำ และสรรเสริญเทพเจ้าในเทพนิยายนอร์ดิก ทีนี้พอกลับมาสวีเดนที่เมทัลแตกแยกออกไปหลายแขนงจัด เดธเมทัล เฮฟวี่เมทัลขึ้นเป็นแนวดนตรีที่สัมพันธ์กับความต้องการตอบสนองชีวิตคนในประเทศที่สุด จนมีสัดส่วนที่น่าตกใจมาก […]
New Year Resolution แล้วยังไปได้ไม่ไกล ลองเริ่มทำอะไรก็ได้ที่อยากทำจากเรื่องเล็ก ๆ
ลองเคารพตัวเองอีกที ถ้าตั้ง New Year Resolution แล้วยังไปได้ไม่ไกล ให้เริ่มทำอะไรก็ได้ที่อยาก จากเรื่องเล็ก ๆ จะหมดปีแล้วเป็นยังไงบ้าง ลิสต์ที่เคยตั้งไว้ว่าจะทำ ได้ทำไปกันแล้วบ้างไหมหรือเผลอผลัดมาเรื่อย ๆ หลายคนอาจจะรู้สึกเฟลพอมานั่งรีวิวตัวเองตลอดทั้งปีว่ายังไม่ได้เริ่มเลย ไม่เป็นไร อย่าเพิ่งตำหนิตัวเอง มาลองดูกันอีกที มาดูว่าทำไมเราถึงควรวาง New Year Resolution ลง การเลิกมองมันก่อนช่วยให้เราลดความกลัวในการก้าวออกจากเซฟโซนที่เราติดอยู่ได้ เราจะเจอว่าหลายครั้งที่เราหรือเพื่อน ๆ เองก็ตามพอตั้งเป้าประจำปีสัก 1-3 เป้าใหญ่แล้วพอจะเริ่มลงมือ กลับรู้สึกว่ากังวลกับตัวเองว่ามันต้องใช้ปัจจัยหลายอย่าง ความพร้อม ใจ เวลา เงิน และอื่น ๆ สุดท้ายเราเลยไม่ได้ลงมือกับมันสักที เทคนิคที่อยากให้ลองคือการแตกเช็คลิสต์จากเป้าใหญ่ของเราเองให้ละเอียดเท่าที่ทำได้ ไล่ไปจากจุดเริ่มต้น พร้อมกับการบันทึก จะบันทึกวิธีไหนก็ได้ เขียน ถ่ายรูปเก็บไว้ บันทึกเป็นเสียงหรือสร้างแอดเคาท์ส่วนตัวสักที่สำหรับโพสต์บันทึก พลังของการบันทึกจะช่วยให้เราเห็นความก้าวหน้าของตัวเองจากจุดเริ่มต้น ช่วยให้เวลาที่เรามาย้อนดูบันทึกของตัวเองก็ใจฟูด้วยทำให้เราหมดไฟยากขึ้น ซึ่งการบันทึกไม่จำเป็นจะต้องบันทึกเฉพาะด้านดีด้วย เราจะบันทึกความท้อ อุปสรรค ปัญหาที่เราเจอลงไปด้วยก็ได้พร้อมวิธีที่เราใช้แก้สถานการณ์นั้น ตัวอย่าง เป้าของเราคือการสอบวัดระดับภาษาให้ได้ในภายในปลายปี เรามองเห็นแล้วว่าเราจะเริ่มจากการเก็บคำศัพท์ไปก่อนวันละ 10 คำ (ใน […]
ย้อนดูความสวยในประวัติศาสตร์ที่ผู้หญิงต้องแลกมาด้วย “ความเจ็บปวด”
ปฏิเสธไม่ได้เลย “ความสวย” เป็นเรื่องที่แทบทุกคนใฝ่ฝัน แล้วถ้าพูดคำว่าสวย เราคงอยากได้ยินจากคนที่เราเชื่อว่าเขาชื่นชมเราจริง ๆ เพื่อน ๆ เคยอยากได้คำชมว่าสวยไหม ความสวยที่ผ่านมาจากจุดเริ่มต้น มันแทบไม่เคยเปลี่ยนเลย เรายังคงตามหาความสวยให้ตัวเอง ซึ่งมันก็กลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของคนทุกยุค ที่พยายามแต่งหน้า บำรุงผิว ทำผม แต่งตัว เล็บ และอื่น ๆ เพื่อให้คนรอบตัวยอมรับ ซึ่งตลาดก็ทำหน้าที่เสิร์ฟสิ่งเหล่านี้ให้ผู้บริโภค แต่รู้ไหมเราเจอว่าผู้หญิงในอดีตมีค่านิยมความสวยที่แปลกมาก เพราะผู้หญิงบางคนถึงกับยอมเสี่ยงชีวิตของตนเอง เพื่อปฏิบัติตามมาตรฐานความงามของยุคสมัยนั้น ๆ ต่อให้ต้องยอมทนเจ็บปวดจากการทำสวยมากก็ตาม เพื่อให้ตัวเองถูกยอมรับจากครอบครัว สามี ชุมชน แวดวงสังคม โดยถ้าไม่ทำก็คงถูกกีดกัน ซึ่งอาจถึงขั้นโดนมองว่าแปลกในสมัยนั้นเลยก็ว่าได้ ทีนี้มาดูกันว่าในอดีตมีความเชื่อเกี่ยวกับค่านิยมความสวยงามอะไรบ้างที่แปลกประหลาด และอาจเป็นความสวยที่เพื่อน ๆ คาดไม่ถึงมาก่อนว่ามันเคยเกิดขึ้นจริงมาแล้ว ยืดกะโหลกเพื่อให้หน้าผากดูสวย ความเชื่อของชาวมายันโบราณเชื่อว่าการมีหน้าผากที่แบนเรียบถือว่าเป็นความงดงาม ซึ่งพวกเขาทำการกดและผูกกะโหลกเป็นรูปทรงต่าง ๆ ทนใส่เสื้อรัดรูปที่ทำจากโลหะจนกระดูดซี่โครงหัก ในศตวรรษที่ 19 มีกระแสนิยมบอกว่าผู้หญิงควรมีเอวเล็ก ซึ่งคอร์เซ็ต (เสื้อผ้ารัดรูป) สมัยก่อนทำมาจากโลหะ ทำให้ผู้หญิงที่สวมคอร์เซ็ตทุกวันต้องทรมานจากกระดูกซี่โครงหักและอวัยวะที่ถูกเคลื่อนย้ายนั่นเอง อาบสารหนูเพราะคิดว่าจะทำให้ผิวขาวและดูเด็ก ในยุควิกตอเรีย (ช่วงปี 1837-1901) ผู้หญิงจุ่มตัวเองลงในสารหนูเพื่อให้มีผิวที่ขาวราวกับน้ำนม และก็มีเครื่องสำอางจำนวนมากที่ใส่สารหนูลงไปเพราะเชื่อว่าจะทำให้ผิวดูขาวขึ้นและอ่อนวัยขึ้น ยอมใส่รัดเท้าจนกระดูกหัก เริ่มตั้งแต่ยุคต้นของศตวรรษที่ 10 […]
ผู้หญิงกับรอยสัก ประวัติศาสตร์ของศิลปะบนเรือนร่างและจุดยืนทางสังคม
ผู้หญิงกับรอยสัก ประวัติศาสตร์ของศิลปะบนเรือนร่างและจุดยืนทางสังคม เอาเรื่องประวัติรอยสักก่อน ถ้าย้อนกลับไป นักโบราณคดีบอกว่า ตั้งแต่ก่อนปี 1991 การสัก น่าจะเกิดขึ้นเมื่อ 2,000-3,000 ปีก่อน (ก็คือหมายความว่ามีมาก่อนคริสตศักราช) โดยมีการค้นพบจากเครื่องเคลือบดินเผาของจีน ซึ่งมีรูปคนที่มีลายสักและมีการพบมัมมี่ที่มีลายสักในอียิปต์อีกด้วย ที่นี้รอยสักของผู้หญิง เริ่มมาตอนไหน มันเริ่มจากที่กรีก ตอนนั้นรอยสักทำหน้าที่เหมือนเป็นสัญลักษณ์บนใบหน้าของทาสและอาชญากร ผ่านมาสักพักการใช้รอยสักรูปแบบนี้ก็เริ่มแพร่หลายในทวีปยุโรปมากขึ้นนั่นเอง สรุปก็คือตอนนั้นรอยสักก็ถูกทำให้เป็นสัญลักษณ์ของนักโทษและผู้รับใช้ ส่วนในไทย แต่ก่อนการสักก็ไม่ต่างกัน ก็จะมีการสักหลายตำแหน่งเลย ทั้งสักที่ข้อมือ (แสดงการขึ้นทะเบียนเป็นไพร่) ทั้งสักที่หน้าผาก (แสดงว่าเป็นนักโทษจําคุก) มันคือการประจานความผิดตามกฎมณเฑียรนั่นแหละ ซึ่งจะเป็นผู้ชายที่ถูกทำแบบนี้ มาถึงการสักของผู้หญิงบ้าง เรื่องซ่อนเร้นของรอยสักที่อยู่บนตัวผู้หญิง มันมีนัยะของการเป็นสัญลักษณ์เชิงเสริมอำนาจในยุคสตรีนิยม ที่ผู้หญิงสักเพื่อเรียกร้องสิทธิของตัวเองที่ไม่ยอกถูกกดขี่ไม่ว่าจะเรื่งออะไรก็ตาม ไม่ยอมรับการถูกบังคับทำแท้ง การถูกทำร้ายจากผู้ชาย รวมถึงอำนาจกดขี่ ซึ่งมันก็สะท้อนให้เห็นถึงของความเข้มแข็งของผู้หญิงสมัยก่อนมาก ๆ การสู้กับความเหลื่อมล้ำทางเพศ สุดท้ายก็มีผู้หญิงคนแรกที่สักเกิดขึ้นจริง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า Olive Oatman เธอเป็นผู้หญิงผิวขาวที่มีรอยสักสักสีน้ำเงินบริเวณคางที่มีไว้เพื่อระบุตัวตนในชีวิตหลังความตายของเธอนั่นเอง จากรอยสักของโลกจนมาถึงผู้หญิงมันเดินทางไกลมาก ตอนนี้จากเมื่อ 20 ปีที่แล้วก็เหมือนกัน ผู้หญิงก็ยังไม่เยอะ แทบจะไม่มีใครสักเลย แต่การสักของผู้หญิงก็ถูกใจอีกครั้งตอนที่อาจารย์หนู กันภัย สักให้แองเจลีนา โจลี ดาราฮอลลีวูด จากนั้นเราก็เริ่มเห็นผู้หญิงพากันไปสักยันต์ 5 แถวกัน โดยที่ใช่เพื่อบูชาอย่างเดียว […]
กระแสเพลง Speed-Up บน Tiktok กำลังทำลายคัลเจอร์การฟังเพลงอยู่รึเปล่า
กระแสเพลง Speed-Up บน Tiktok กำลังทำลายคัลเจอร์การฟังเพลงอยู่รึเปล่า จะพูดว่าเป็นอีกรสชาติหนึ่งของเพลงในโซเชียลตอนนี้ก็ได้ โดยเฉพาะใน Tiktok เต็มไปหมด ที่เพลงในทุกวงการโลกจะถูกมิกซ์ใหม่ให้มันส์กว่าเดิม แบบไม่แคร์เวอรชั่นออริจินัลแล้ว ถ้ายังงงว่าอะไรคือเพลง Speed-Up มันคือเพลงที่เอามามิกซ์ใหม่ด้วยการเร่งจังหวะให้เร็วขึ้น และใช้ High-pitched เปลี่ยนเสียงร้องให้เป็นเสียงแหลม มันถูกมองว่าเป็นเพลงแบบ Happy hardcore มาก ๆ เพราะว่าพอออกมาก็คือต้องสนุกสุด มันส์สุด ไม่สนความเพราะด้วย จริง ๆ การมิกซ์เพลงแบบนี้มันมีนานมาแล้ว แต่ที่แมสมาก ยิ่งกับปีนี้ก็เพราะ Thomas S. Nilsen และ Steffen Ojala Soderholm เป็น 2 คนจากนอร์เวย์ที่ใช้ Nightcore (เทคนิคมิกซ์เพลงแบบเร่งจังหวะ) เป็นตัวต้นเรื่องให้ Tiktok ผลิตเพลงแบบนี้ออกมากับเพลงอิต (จากเพลงดั้งเดิม) เสิร์ฟพวกเราชาว Tiktokers ตอนนี้การใช้ Nightcore ทำเพลง Speed-Up มีอยู่เต็มไปหมด ถ้าเสิร์ชดูก็จะเจอเยอะมากเพลงมิกซ์ Tiktok […]
เข้าใจวัฒนธรรม Mosh Pit การเต้นสุดเดือดของสายเมทัลและฮาร์ดคอ
เข้าใจวัฒนธรรม Mosh Pit การเต้นสุดเดือดของสายเมทัลและฮาร์ดคอร์ที่หลายคนมองว่าบ้าบิ่นและอันตราย มอชพิท หรือ Mosh Pit ถ้าเราย้อนดูเหมือนว่าจะคล้ายกับพิธีกรรมของชนเผ่าในปาปัวนิวกินีเมื่อกว่า 40,000 ปีก่อน ที่ผู้อาวุโสในเผ่าจะทำการแบ่งปันของบางอย่างให้ถ้าออกมารวมกลุ่มเต้นชนกัน ซึ่งพอไล่มาในช่วงที่มีการเรียกสิ่งนี้ว่ามอชพิทจริง ๆ ก็น่าจะเป็นช่วงประมาณปี 80’s ที่มีวง Hardcore punk เล่นดนตรีสดแล้วคนมอชกันเลยเรียกสิ่งนี้ว่าแมชพิท (Mash pit) แล้วเหมือนก็ถูกได้ยินว่า มอชพิช วัฒนธรรมมอชพิทแพร่กระจายไปพร้อมกับการเล่นดนตรีในสายพังค์ ร็อค และเมทัล แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะโอเคกับการเต้นนี้ แม้แต่ศิลปินเองก็ตาม อย่างครั้งหนึ่งที่ซานเบอร์นาร์ดิโน (San Bernardino) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย คอรีย์ (Corey Taylor) นักร้องนำสลิปน็อต (Slipknot) วงเมทัลระดับโลกเคยสั่งหยุดเล่นสดกลางคันด้วยเหมือนกัน เพราะเห็นว่าทุกคนกำลังมอชพิทกันแบบบ้าระห่ำเกินไปถึงขนาดที่บางคนชักและมีการจุดไฟเผาเสื้อเอามาโบก ก็อันตราย เจ้าหน้าที่เลยเข้ามาดับไฟและรักษาความปลอดภัย นอกจากครั้งนี้ ศิลปินอีกหลายคนก็ไม่เอ็นจอยกับสิ่งนี้เพราะมองว่าเหมือนคนดูสนใจที่จะมอชมากกว่าการแสดง แต่ก็ยังมีอีกหลายคนโอเคอยู่ ทีนี้มามองในมุมของพฤติกรรมบ้าง นักมานุษยวิทยาในอังกฤษ อธิบายว่าคนที่ทำมอชพิทจะเคลื่อนที่แบบสุ่ม ไร้ทิศทาง และกระแทกกันจนทำให้เจ็บตัวได้ ซึ่งถ้าจินตนาการภาพแบบฟิสิกส์ เวลาคนมอชกันมันเหมือนอนุภาคของแก๊สที่กำลังเคลื่อนที่ กระดอนไปมา และถ้ามองแบบจิตวิทยามันเป็นการที่คนทำต้องการดำดิ่งไปกับดนตรีและปล่อยร่างกายให้เคลื่อนไหวอิสระตามอารมณ์ที่ถูกกระตุ้นจากเพลง ดูเหมือนจะเป็นการสื่อสารแบบกลุ่ม […]
ทำไมเราถึงกล้า “ทิ้ง” ทุกอย่างตอนสิ้นปี
มีอะไรที่อยากทิ้งมาทั้งปีแต่ไม่กล้าไหม รอเวลาปีใหม่ถึงจะตัดใจได้ รู้ไหม ทำไมเราถึงกล้า “ทิ้ง” ทุกอย่างตอนสิ้นปี เริ่มต้นพอเดินทางมาตลอดทั้งปีกับประสบการณ์และสิ่งที่เราเจอ ทำให้พอถึงเดือนธันวาคมหรือช่วงกลายเป็นเวลาของการที่เรารวบรวมความทรงจำ เรามักจะถูกกระตุ้นให้หันกลับไปมองตัวเองใน 12 เดือนที่ผ่านมาเหมือนเป็นการรีวิวตัวเอง ทำให้เรามีจุดหนึ่งที่เปลี่ยนจากความเศร้า คิดถึง หรือหวงแหนบางอย่างที่เราไม่กล้าปล่อยแม้มันทำให้เราเศร้า เจ็บปวด เป็นการชื่นชมและอยากให้ความรักตัวเองตัวเองมากที่สุดแทน นี่เลยเป็นเหตุผลที่ทำให้เราเลือกที่จะใช้เวลานี้ในการกล้าปล่อยมือจากสิ่งที่เรายึดติดไว้แล้วบอกตัวเองให้ก้าวต่อไป พูดได้ว่าเป็นความเต็มใจของเราที่อยากสะสางเรื่องบางอย่างของตัวเองสักที ซึ่งสิ้นปีและปีใหม่กลายเป็นเวลาที่เหมาะสุดสำหรับการทิ้ง แล้วก็ไม่ใช่เรื่องการทิ้งเท่านั้น พลังของสิ้นปีหลายครั้งก็ทำให้เรากล้าที่จะเริ่มต้นบางอย่างที่เรากลัวหรือเอาแต่ผลัดมาตลอดด้วย ต่อให้เป็นเช็คลิสต์เล็ก ๆ ของตัวเองอย่างการซื้อของ ออกเดินทาง ลงคอร์สเรียน เริ่มอ่านหนังสือ เขียนไดอารี่ ออกกำลังกาย หาหมอ ตรวจสุขภาพ ฯลฯ ดร.จูดิธ ซิลล์ส (Judith Sills) นักจิตวิทยาคลินิค ก็บอกว่าสิ้นปีนี่แหละเป็นเวลาที่เหมาะและดีสุดที่เราจะได้บอกตัวเองให้มีแพชชั่นที่จะเริ่มต้นทำเริ่มพวกนี้ ไปพร้อมกับการทิ้ง ปล่อยวาง ใจดีกับตัวเองได้แล้ว ถึงเวลาที่เราต้องทิ้งสิ่งที่ทำให้เราเจ็บปวดได้แล้วนะ ทิ้งความคาดหวังว่าเราจะต้องเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ ทิ้งความคิดเก่า ๆ และความล้มเหลวล้มเหลว กล้าเริ่มต้นใหม่ ไม่ว่าจะเรื่องอะไร ถ้าเริ่มต้นใหม่แล้วไม่เวิร์ค ให้ทิ้งอีกที แล้วลองเปลี่ยนวิธีดู ถ้ามันผิดพลาด จนเรารู้สึกผิด ให้รู้จักให้อภัยตัวเองโดยเฉพาะเรื่องความสัมพันธ์ เรียนรู้มันไป และทิ้งความกังวลจากความเห็นของคนที่ไม่รู้จักเราดีพอด้วยนะ ทุกวันนี้ยังมีเรื่องที่เราไม่กล้าทิ้งไหม มาถึงตรงนี้จะหมดปีแล้วนะ คิดว่ากล้าที่จะปล่อยมันไปหรือยัง สำหรับใครที่ทิ้งได้แล้ว เก่งมาก
FESTIVAL TYCOON ฝันของคนรักคอนเสิร์ต
ฝันของคนรักคอนเสิร์ต ที่ไหนไม่ถูกใจก็จัดเทศกาลดนตรีของตัวเองใน Festival Tycoon ไปเลย ไม่ต้อง้อใคร จะมีหลังคา โฟโต้บูธดี ๆ แค่ไหนก็ได้ นี่เป็นเกมชื่อว่า Festival Tycoon เป็นวิดิโอเกมที่ Johannes Gäbler ใช้เวลาพัฒนาทุ่มเทมากกว่า 2 ปี ชอบมาก เพราะหลัก ๆ ของเกมนี้คือ เราสร้างและจัดงานเทศกาลดนตรีของเราได้เอง จัดเวที ตกแต่งงาน ม็อคอัพมาสคอตได้หมด แถมยังสร้างตัวละครต่าง ๆ วางแผนไลน์อัพศิลปินที่เราต้องการได้ นอกจากนี้ตัวเกมยังมีองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง และเก็บรายละเอียดอย่างเยอะ! ไม่ว่าจะเป็น การสร้างร้านค้า ร้านขายอาหาร ห้องน้ำ การจัดระเบียบตัวละครต่าง ๆ การหาสปอนเซอร์ ก็คือใครเจ็บจากคอนฯ ไหนมา ไม่ถูกใจ เราก็เก็บเรื่องพวกนั้นมาสร้างเฟสติวัลดี ๆ ของเราได้ รวมถึงจ้างวงดนตรีได้หลายประเภทด้วย ในนี้บอกว่าทั้งโฟล์คและร็อค เราคิดว่าน่าจะทำได้มากกว่านี้ด้วย ที่สำคัญฝึกเราเรื่องบริหารด้วย สิ่งที่เราออกแบบมานั้นก็ต้องมีการบริหารในงบประมาณที่จำกัด และเราต้องดูแลความต้องการของวงดนตรีแต่ละวง ก็คือเรียกได้ว่าเหมือนจริงสุด สำหรับคนรักดนตรีที่มีความฝันอยากมีเฟสติวัลเป็นของตัวเอง […]