ELECTRIC NEON LAMP จากค่าย TERO MUSIC วงป็อบร็อคที่ไม่ยอมแก่ ชอบหนีจากเซฟโซน

ลิโด้แนะนำ electric.neon.lamp จากค่าย TERO MUSIC วงป็อบร็อคที่ไม่ยอมแก่ ชอบหนีจากเซฟโซน จากไลน์อัพ Bud Livehouse #17 กับเพลงล่าสุด แม้ ให้กับรักข้างเดียวที่เธอไม่เคยรู้ จบไปแล้วแต่เธอยังอยู่ในความทรงจำ! นอกจากนี้ยังมี SURFF และ Uncle Ben เศร้ากันให้สุด แง บัตร Sold out แล้ว ไม่มีหน้างานนะทุกคน ใครพลาดน่าเสียดาย เห็นไลน์อัพรอบหน้าอย่าลังเล กดไว้เลย มาสร้างสีสันซีนและทำซีนดนตรีไทยให้หลากหลายที่ Bud Livehouse กัน สมาชิกเจน เจนศักดิ์ดา จาระณะ ร้องนำเต้ วทัญญู สุริยวงศ์ เบสแป๊ก รัชชา วัฒนจิตรานนท์ กลองอุณ คีตา วังขจรวุฒิศักดิ์ กีตาร์ : ถึงตอนนี้มองตัวเองว่าเป็นวงป็อบร็อคอยู่ไหม เพราะอะไร เจน – เราก็ยังมองว่าเป็นป็อบร็อคอยู่นะเหมือนเดิม เพลงที่เราเล่นถึงซาวด์ดีไซน์มันจะเปลี่ยนไปมันก็อยู่บนพื้นฐานของป็อบร็อคมาตลอด แต่ตอนที่เราทำเพลงเดี๋ยวนี้ในใจเราจะไม่ค่อยมีธงกันแล้วแหละว่าอยากให้ออกมาแบบไหน ส่วนเวลาที่เราแจมกันแต่ละคนจะมีภาพในหัวของตัวเอง ซึ่งมันออกมาโดยธรรมชาติของมัน […]

3 เพลงจาก MAKARA วง Psychedelic rock ไทย

ลิโด้แนะนำ 3 เพลงจาก MAKARA วง Psychedelic rock ไทย ซาวด์ขยี้แสบ ๆ ที่มี D69 หนึ่งในสมาชิกเป็น Virtual Character ศิลปินจากไลน์อัพ Bud Livehouse #16 ทำความรู้จักกันและฟัง The Sloppy of The Sky, Gypsy Treatment และ Toy ก่อนมามันส์วันพุธนี้ นอกจากนี้ยังมี Common people like you และ SLUR บอกเลยวันนี้โดดกันสุด โยกหัวกันมันส์ บัตร Sold out แล้ว ไม่มีหน้างานนะทุกคน ใครพลาดเสียดายไปอีกนาน ขอเตือนเห็นไลน์อัพรอบหน้าแล้วอย่าลังเล ถ้ากลัวไม่ทันกดแจ้งเตือนเพจหรือไอจีไว้เลยมาสร้างสีสันซีนและทำซีนดนตรีไทยให้คึกคักเหมือนเดิมที่ Bud Livehouse กัน MembersQ Makara Dolsuklert Vocal, GuitarMax Thakorn Aunyaphanon […]

คิดว่า TikTok กำลังทำให้เรากลายเป็นคนสมาธิสั้นหรือเปล่า 

คิดว่า Tiktok กำลังทำให้เรากลายเป็นคนสมาธิสั้นหรือเปล่า  มีใครติดติ๊กต็อกมาก ๆ ถึงขนาดตื่นมาต้องขอสักที ก่อนเรียนหรือทำงานอีกที ว่าง ๆ คิดไรไม่ออกก็เข้าไปไถฟีด แม้แต่ตอนก่อนนอนก็ต้องอีกสักรอบแล้วก็ดูเพลินมากจนรู้ตัวอีกทีก็ผ่านไปเป็นชั่วโมงแล้วบ้าง ความโหดของการใช้คลิปสั้นเพลิน ๆ ดูไว จบไว บวกกับอัลกอริทึ่มที่ดึงคอนเทนต์ที่เราสนใจหรือมาให้เราเราเสพเรื่อย ๆ จำนวนมาก นอกจากนี้ติ๊กต็อกก็จะลองหยอดคอนเทนต์อื่น ๆ ในหมวดเดียวกันเพื่อสำรวจด้วยว่าสนใจด้วยไหม เช่น ถ้าเรากำลังเสพคลิปน้องหมา แมว น่ารัก ๆ ติ๊กต็อกก็ลองหยอดคลิปงูให้เราว่าเรากดข้ามไหม ถ้าไม่แล้วเราสนใจเราก็จะไหลไปตามดูต่อตามที่เสนอมาให้เรา การเสนอคลิปขึ้นมาให้เราดูเรื่อย ๆ ถ้ามันเป็นเรื่องที่เราสนใจอยู่แล้วมันก็เป็นเหมือนการให้รางวัลตามเราต้องการ และคอนเทนต์ใหม่ที่ติ๊กต็อกลองหยอดให้เราก็เป็นเหมือนรางวัลที่เราคาดไม่ถึง นี่เป็นการใช้หลักจิตวิทยาของติ๊กต็อกที่ต้องการให้ผู้บริโภคอย่างเราเสพติด ใช้เวลาอยู่ในแอพฯ ได้นานและมากที่สุดจนเราไม่รู้ตัวว่ามันผ่านไปแล้วนานขนาไหน อาจเป็นครึ่งชั่วโมงหรือหลายชั่วโมง ที่สำคัญเวลาที่เราดูคลิปในติ๊กต็อก ความเป็นคลิปบันเทิงแบบสั้น (Short funny clip)ทุกครั้งหลังเวลาเราดูจบ สมองของเราจะหลั่งสารโดปามีนออกมาเล็กน้อย ซึ่งเป็นสารสารเคมีแห่งความสุขและความฮึมเหิม เราอิ่มเอมใจและต้องการเรื่อย ๆ ทำให้สุดท้ายเราเลยเลือกไถฟีดดูคลิปเพิ่มต่อไป เมื่อธันวาคมปีที่แล้ว The New York Times ก็ได้ออกมาเผยแพร่ข้อมูลว่าตั้งแต่ช่วงมีโรคระบาดติ๊กต็อกกลายเป็นแอพฯ ทำให้เราติดที่จะใช้เวลากับมันทุกวัน และเวลาเฉลี่ยก็อยู่ที่ 89 […]

3 เพลงจาก Olin MattiBlue อินดี้ป็อบที่มีซาวด์และจังหวะหลากหลาย

ลิโด้แนะนำ 3 เพลงจาก Olin MattiBlue อินดี้ป็อบที่มีซาวด์และจังหวะหลากหลาย ศิลปินจากไลน์อัพ Bud Livehouse #15 ซ้อมฟังและรู้จักตัวตนพวกเขาผ่าน Timemachine, Everysunrise และ Daisy ก่อนมาร้องด้วยกันดัง ๆ ในวันพุธนี้ นอกจากนี้ยังมี The Kopycat และ HYBS บอกเลย Vibe ดีแน่ รอบนี้บัตร Sold out แล้ว เสียดายมากถ้าใครพลาด เตือนอีกครั้ง รอบหน้าเห็นไลน์อัพแล้วอย่าลังเล ถ้ากลัวไม่ทันติดตามเพจลิโด้ กดแจ้งเตือนไว้เลย มาสร้างสีสันซีนดนตรีในบ้านเรากับลิโด้ที่ Bud Livehouse กันเถอะ สมาชิก อิ๊น อินท์ ลิ้มมณีวิจิตร ร้องนำ, กีตาร์เปา พฤตินัย พงษ์ปรีชา เบสคอปเตอร์ ศุภวิชญ์ นันทจันทูล กลอง Timemachine วง – แรงบันดาลใจเพลงนี้คือ เราไปเจอภาพที่ทำให้เรารู้สึกถึงอดีตเลยเปรียบสิ่งต่างๆที่กระตุ้นให้เราคิดถึงเหมือนเครื่องย้อนเวลา อย่างท่อน […]

เข้าใจคนใกล้ตัวที่เป็นแพนิคว่าเป็นอาการวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจริง ไม่ได้คิดไปเอง

เข้าใจคนใกล้ตัวที่เป็นแพนิคว่าเป็นอาการวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจริง ไม่ได้คิดไปเอง รู้ไหมจริง ๆ อาการแพนิคเริ่มต้นเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และทุกคนมีสิทธิเป็นหรืออาจจะเคยผ่านมาแล้ว เคาส์ เบิร์นเฮาร์ดท์ (Klaus Bernhardt) ผู้เชี่ยวชาญโรควิตกกังวล เจ้าของคลินิคสถาบันเฉพาะทางบำบัดอาการหวาดกลัวกังวล กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน อธิบายว่าในชีวิตทุกคนจะเคยผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้สัมผัสกับอาการแพนิคเฉียบพลันมาก่อนอาจเห็นได้ชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพนิค มาจากการกระตุ้นมีหลายอย่างมาก ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าการแพ้ยาอย่างยาปฏิชีวนะ การขาดวิตามินบี 12 ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ หรือแม้แต่การกินแป้งเยอะ ๆ จนท้องอืดก็ทำให้เกิดการแพนิคได้ ส่วนอาการแพนิคที่เกิดขึ้นคนที่เป็นจะมีความรู้สึกกังวล กลัว ตัวชา เกร็ง ใจสั่น ปวดท้อง ปวดกระเพาะ แน่นหน้าอก บางทีก็เจ็บแปลบขึ้นมา เวียนหัวหรืออาจะมีคันที่แขนขาร่วมด้วย ที่ผ่านมาหลายคนจะเกิดความคิดอคติกับคนที่เป็นแพนิคมองว่าเป็นการคิดไปเอง นอกจากปัจจัยจากการแพ้หรือทางร่างกายที่เราพูดไปแล้ว เราเลยอยากให้มาเข้าใจคนที่แพนิคเพิ่มขึ้นผ่านความคิดของคนที่เป็นดูว่าเป็นยังไง ในแง่ของความคิดของคนที่เป็น ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นเป็นประจำ อย่าแรกอาจะมีสาเหตุมาจากความคิดและความรู้สึกเชิงลบ มันส่งผลทำให้สมองสร้างสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่หลั่งแบบเดียวกับตอนที่มีความเครียดสูงทำให้กลายเกิดความวิตกกังวลได้ ซึ่งมันไม่ได้ออกมาทันทีแต่จะผ่านการเป็นชุดความกลัวที่ฝังสะสมไว้แล้วสุดท้ายก็เกิดอาการแพนิคขึ้น ต่อมาสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง เราอาจจะคิดว่าคนที่แพนิคจะมีอาการตอนที่เจอสถานการณ์ที่กดดัน ตกใจ หรือเครียดเท่านั้น ในความจริงเวลาที่สงบ ๆ แพนิคก็เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะการที่นั่งอยู่เงียบ ๆ เวลากลางคืน เวลาอยู่บนถนนที่รถติดนาน […]

จะดีแค่ไหน ถ้าบ้านเรามี PUBLIC SPACE มากขึ้น

ตอนนี้บ้านเรามี Public space มากขึ้นแค่ไหน ในแบบที่แบบเรียบง่าย สร้างสรรค์ และใช้งานได้จริง ช่วงนี้ที่หลาย ๆ คนสนใจ ออกมาร่วมกิจกรรมในพื้นที่สาธารณะไม่ว่าจะเป็นนั่งเล่นในสวน ฟังดนตรีในสวนหรือสยาม เดินเล่นลานคนเดิน ดูงานที่หอศิลป์ สตรีทอาร์ต และพื้นที่จัดแสดงต่าง ๆ พอได้เสพบรรยากาศ ผู้คน ดนตรี ศิลปะก็ทำให้มีความสุข อารมณ์ดีกันมากขึ้น นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่พื้นที่ Public space มีความสำคัญกับพวกเรา ยิ่งมีพื้นที่ดี ๆ แบบนี้มากเท่าไหร่ สุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของเราก็ยิ่งดีมากขึ้นตามไปด้วย ข้อดีอย่างแรกของพื้นที่สาธารณะที่มีประโยชน์กับความเป็นเมืองและพวกเรามาก ๆ คือช่วยลดพื้นที่ที่ว่างเปล่าที่ไร้ประโยชน์ เสื่อมโทรม หรือถูกทิ้งร้างได้ ถ้ามีการวางแผนพัฒนาออกแบบพื้นที่จนออกมาดี และมีทีมรักษาดูแล ต่อมาถ้าออกแบบมาในเป็นพื้นที่สีเขียวก็เป็นประโยชน์กับสุขภาพของคนในเมือง ช่วยให้เราได้สูดอากาศ ทำให้เราได้บรรเทาร่างกายจากมลพิษ ใช้ออกกำลังกาย เดินเล่น หลบร้อนผ่อนคลายความเครียดได้ นอกจากนี้โดยทั่วไปพื้นที่สีเขียวหรือสวนสาธารณะมักจะมีแหล่งน้ำ ซึ่งก็ทำให้เกิดระบบนิเวศน์ที่ชุ่มชื้น เป็นแหล่งอาศัยธรรมชาติให้กับสัตว์ด้วย ช่วยทำให้เราเพลิดเพลินกับการใช้สายตา นั่งมอง และเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติจากสัตว์และพืชต่าง ๆ ทีนี้มองกลับมากับพื้นที่สีเขียวใหญ่ ๆ ของเรา สวนสาธารณะยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของสภาพอากาศและการเดินทาง รวมถึงการกระจายอยู่ของจำนวนสวนสาธารณะที่กระจุกอยู่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ […]

ชวนฟัง Instrumental ศาสตร์แห่งซาวด์บรรเลงที่จะทำให้เราใจฟู! 🎧💖

ฟังดนตรีไร้เนื้อดียังไง ชวนฟัง Instrumental ศาสตร์แห่งซาวด์บรรเลงที่จะทำให้เราใจฟู!🎼 พูดถึงดนตรีบรรเลงหรือ Instrumental music หลายคนอาจจะนึกถึงแค่ดนตรีคลาสสิก ไม่ก็แจ๊ส แต่ความจริงมันก็คือเพลงแนวไหนก็ได้ที่ไม่มีเสียงร้อง อย่างบางคนฟังจะเป็น Lo-fi, ป็อบ, ชูเกซ, หรือแม้แต่ร็อค แมทร็อคก็ได้หมดเพราะมันไม่จำกัดประเภท เหตุผลแรกจากงานศึกษาที่ดนตรีไร้เนื้อมีข้อดีกับเรามาก ๆ ด้วยลักษณะของมันที่ไม่มีเนื้อหา เนื้อเพลง และเสียงร้อง การบรรเลงทำนองไปเรื่อย ๆ ช่วยให้เราผ่อนคลายและรู้สึกสงบ ทีนี้พอเราทำกิจกรรมหรือทำงาน ซาวด์บรรเลงที่ไร้เนื้อร้องก็ส่งผลโดยตรงกับสมองของเรา มันช่วยสร้างความตื่นตัว กระตุ้นการรับรู้ข้อมูล และช่วยตัดหรือลดเสียงรบกวนรอบตัวให้เรา ซึ่งมันส่งผลทำให้เรามีสมาธิ โฟกัสเพิ่มมากขึ้น จึงมีประสิทธิภาพมาก ๆ ยิ่งกับการอ่านหนังสือ คิดงาน และทำสิ่งต่าง ๆ ที่ซับซ้อน มีเดดไลน์ หรือต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือแม้แต่กับการเรียนก็มีโมเดลให้เห็นว่าในหลายคลาสที่มีเปิดดนตรีบรรเลงระหว่างการเรียนการสอน ส่งผลให้คนที่เรียนสามารถจำเนื้อหาได้มากขึ้น มีทักษะเรียนรู้ภาษาได้ไวและดีขึ้น กับการคิด วิเคราะห์ คำนวณก็เช่นกัน ส่วนการส่งผลกับอารมณ์และจิตใจ ดนตรีไร้เนื้อนอกจากจะทำให้เราผ่อนคลายแล้วก็ช่วยลดความหงุดหงิด ความเครียดที่เรามีจากภาระงานและสถานณ์การณ์ที่กดดันได้ รวมถึงลดอาการตื่นตระหนก วิตกกังวลได้เหมือนกันโดยประสิทธิภาพก็ขึ้นอยู่กับเพลงไร้เนื้อแต่ละแนวที่เปิด ซึ่งทำให้หลายครั้งมีการใช้ดนตรีไร้เนื้อหรือเพลงบรรเลง เพื่อบำบัดผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคแพนิค และอาการทางจิต […]

มารู้จักกับ WEDNESDAY ผ่านเพลง Kafkaeques และ Chizuru/ April

พุธนี้แล้ว ใครอยากลองรสชาติใหม่ มารู้จักแนวดนตรี Instrumental (เพลงไร้เนื้อ) ว่าเป็นยังไงกับ Wednesday หนึ่งในศิลปินจากไลน์อัพ Bud Livehouse #14 ผ่านเพลง Kafkaeques ท่วงทำนองยาว ๆ ที่ผสมซาวน์หลากหลายแต่เข้ากันได้ดี และ Chizuru/ April ซิงเกิลล่าสุดที่เคี้ยวง่ายขึ้น ลองฟังดู ได้พลังล้น ๆ นอกจากนี้ยังมี Faustus และ January ใครอยากรับเพลงจากดนตรีเต็ม ๆ แนะนำให้มา หาฟังไม่ได้ง่าย ๆ เลยนะ คุ้มค่ากับการได้ลิ้มรสซาวด์ที่ดีแน่นอน บัตรยังมีอยู่ รีบซื้อก่อนที่จะ Sold out ใครพลาดรอบนี้ เสียดายมาก มาสร้างสีสันซีนดนตรีในบ้านเรากับลิโด้ที่ Bud Livehouse กันเถอะ   (พุท พุทโธ สุขศรีวัน) : จุดเริ่มต้นที่ทำให้ตัดสินใจเริ่มทำ Wendnesday ด้วยตัวเองกับแนว Instrumental พุท – จริง […]

เช็คลิสต์ PDPA วัยรุ่นอย่างเราต้องระวังแค่ไหน

ใจเย็นทุกคนอย่าเพิ่งวิตก มาเช็คลิสต์ PDPA ฉบับย่อแบบเข้าใจง่าย วัยรุ่นอย่างเราต้องระวังแค่ไหน!  ถ่าย Story ติดคนอื่นลงในแอคเคาท์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นในอินสตราแกรมหรือเฟซบุ๊ก เวลาเราไปคาเฟ่ สวนสาธารณะ ห้าง ฯลฯ นั่งกินหรือเดินอยู่ถ่ายสตอรี่ลว ถ้าถ่ายติดไกล ๆ เห็นหน้าไม่ชัด ไม่ต้องเซนเซอร์ก็ได้ ยิ่งถ้าเขาใส่แมสก์แล้วดูไม่ออก ระบุตัวตนไม่ได้ ไม่เป็นไร แต่ถ้าเจ้าตัวมาเห็นขอให้ลบออก หรือขอให้ลงใหม่ ให้เบลอหน้าเขา เราก็ต้องทำให้เป็นสิทธิ์ของเขาที่เขาควรได้รับ ข้อระวัง: ถ้าถ่ายติด เห็นหน้าคนอื่นชัด เราเบลอให้เขาก็ดีมาก ๆ แต่ถ้าลงไปแล้วไม่ได้เบลอ แล้วภาพหน้าที่ออกมาไม่ได้ทำให้เขาเสียหาย ไม่ใช่ช็อตที่อ้าปาก กำลังทำหน้าหลุด ๆ ก็ไม่เป็นไร (แต่เบลอไว้ก็ดีที่สุด ถ้าเห็นหน้าเขาชัด)  ลงรูปที่ติดคนอื่นข้างหลัง เหมือนกันถ้าไกลมาก ๆ แบบเป็นตัวจิ๋วเลย ไม่เป็นไร ระบุตัวตนไม่ได้ แต่ถ้าพอเห็นหน้า พอดูหน้าคร่าตาออก เบลอให้เขาหน่อยจะดีมาก ๆ แล้วถ้าเจ้าตัวมาเห็นแล้วขอให้ลบออกหรือเบลอให้ก็ต้องทำให้นะ  เจอรูปตัวเองหรือเพื่อนในเพจ อย่างเช่น หลังมาคอนเสิร์ต เราต้องทำความเข้าใจว่าคอนเสิร์ตถูกจัดเป็นที่สาธารณะอย่างหนึ่ง กรณีนี้ขึ้นอยู่ตั้งแต่ขั้นตอนให้ความยินยอม (ทั้งในตอนซื้อบัตรและก่อนเข้างาน) […]

เพลงที่เราชอบฟังตอนวัยรุ่น จะกลายเป็นเพลงที่เราเลือกฟังไปตลอดชีวิต

ทำไมเพลงที่เราชอบฟังตอนวัยรุ่น จะกลายเป็นเพลงที่เราเลือกฟังไปตลอดชีวิต เพลงก็เหมือนเพื่อน อยู่กับเราในหลายช่วงเวลาสำคัญในชีวิต หนีไม่พ้นจริง ๆ ต่อให้เป็นคนที่ชอบฟังเพลงใหม่ ๆ สำรวจโลกดนตรีก็เป็นไปได้ที่สุดท้ายเราจะกลับไปฟังเพลงตามแนวที่ตัวเองชอบฟังตอนวัยรุ่น เรื่องนี้มีเหตุผลทางจิตวิทยาที่อธิบาย ในช่วงวัยรุ่น ตั้งแต่ที่เราอายุ 12-22 ปี เป็นช่วงที่สมองของเรามีการพัฒนา ระบบความจำมีประสิทธิภาพสูงสุดในชีวิต (คาบเกี่ยวเป็นช่วงวัยรุ่นตอนปลายจนถึงผู้ใหญ่ตอนต้น) ทำให้เพลงที่เราฟังมีความเชื่อมโยงกับความทรงจำของเรามากที่สุด เราฟังเพลงแบบไหน เราเลยมีประการณ์ร่วมกับแนวเพลงนั้นเป็นพิเศษ อธิบายเพิ่มว่ายิ่งเราฟังเพลงได้เพราะเท่าไหร่ สารโดปามีน (Dopamine) สารเคมีในสมองของเราก็ยิ่งหลั่งออกมา ซึ่งมันทำให้เราทำให้เรารู้สึกตื่นตัว มีสมาธิ และไวต่อสิ่งกระตุ้นรอบตัว และทำให้มีแพชชั่นมากขึ้นด้วย ส่วนในแง่ความสัมพันธ์ ระหว่างเพลงที่เราฟังจะผูกติดกับเหตุการณ์ในชีวิตเราอย่างละเอียดมาก ๆ ผ่านความทรงจำมันเลยทรงพลังและยืนยาวมาก ๆ จนทำให้เวลาที่เราฟังเพลงเหมือนที่เราเคยฟังตอนนั้น เราจึงคุ้นชิน สบายใจ สำรวจความทรงจำ และรู้สึกเหมือนได้ย้อนกลับไปเสมอ ยิ่งกว่านั้นเพลงก็ทำหน้าที่สร้างความผูกพันของเรากับคนใกล้ชิด ไม่ว่าจะแฟน เพื่อน ครอบครัว หรือคนที่เราเคยสนิท เพลงในตอนนั้นก็เลยฝังความทรงจำของเราให้ผูกพันกับคนเหล่านั้นมาตลอด หรือในเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ อย่างเวลาที่เราเสียใจ ผิดหวัง เป็นเรื่องปกติที่เรามักฟังเพลงที่มีเนื้อหาหรือทำนองที่เศร้า ไม่จะเป็นแนวไหนก็ตาม สุดท้ายซาวด์ ทำนองเหล่านั้นก็กลายเป็นเพื่อนที่พาเรากลับไปหาความทรงจำที่เหมือนมาผ่านมาด้วยกันระหว่างเรากับเพลง นี่เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมเพลง เสียงดนตรี หลายครั้งถูกนำไปใช้เพื่อฟื้นฟู […]