ต่างประเทศไม่มีสถานะคนคุย คำว่า “คนคุย” สุดท้ายมันคือไม่ได้คบรึเปล่า

คุยแล้วชอบหาย ทำไมต่างชาติไม่ใช้คำว่า “คนคุย” เพราะสุดท้ายมันไม่ได้คบรึเปล่า หลายคนอาจจะชินกับคำว่า คนคุยและการเป็นคนคุยไปแล้ว ในบ้านเรานิยมใช้คำนี้ในช่วงเริ่มความสัมพันธ์กันมาก ซึ่งเราก็พอรู้กันว่ามันหมายความว่าเรากำลังคุย ๆ กันหรืออยู่ดูใจกันอยู่ เรื่องนี้มองได้หลายมิติมาก ถ้าลากยาวไปยันเรื่องผังเมืองก็มีส่วนเกี่ยว ถ้าเราลองมองที่จุดเริ่มต้นของสถานะคนคุยในบริบทนี้ หลายครั้งก็มาจากออนไลน์ (Online dating) ต่าง ๆ ระดับในความสัมพันธ์มันก็เลยเริ่มมาจากการรู้จักกันผ่านการพูดคุยจากแอพฯ ในขณะที่ต่างประเทศหลายที่ มีผังเมืองและพื้นที่สาธารณะที่เอื้อมากพอที่จะให้ผู้คนได้มาเดินเล่น ทำกิจกรรม พบเจอจนประทับใจกันก่อนที่จะชวนกันไปออกเดทได้ ซึ่งถ้าเดทกันแล้วรู้สึกว่าไม่ใช่ก็จะไม่ได้คุยกันต่อ จริง ๆ มันก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้างระหว่าง การออกเดทกับสถานะแบบคนคุย ซึ่งการออกเดทมันก็เป็นขั้นตอนของการดูใจ ดูนิสัยเหมือนกัน ถ้าเริ่มชอบก็คุย เดทกัน มีเซ็กส์กันได้ (ซึ่งในขั้นนี้ก็ตกลงกันได้ว่าทั้งคู่จะมุ่งหมายแค่กันและกันหรือสามารถเดทกับคนอื่นไปด้วยได้) สุดท้ายถ้าไม่ใช่ก็ยอมรับแล้วแยกย้ายกันไป กลับกันถ้ารู้สึกรู้ดี อยากชัดเจนก็เลื่อนสถานะเป็นการคบหาดูใจแบบจริงจัง (ที่ไม่ศึกษาคนอื่นไปด้วยแล้ว) แต่สำหรับสถานะคนคุย (ในบ้านเรา) พอมาดูก็มีหลายขั้น (Stage) มาก อย่างการคุยจนโอเคแล้ว พร้อมที่จะมาเจอกันเพื่อเดทกันในกรณีนี้เราเจอบ่อยกับความสัมพันธ์จากแอพฯ หรืออีกกรณีคนคุยก็เป็นแบบที่เป็นคนคุยแล้วก็จบที่คุย (แบบยังไม่ทันไม่ได้เดท) กันก็มี สรุปแล้วคำว่าคนคุยในต่างประเทศมันก็คือการเดท ดูใจเลย ซึ่งสุดท้ายก็อาจแยกย้ายกัน แต่เราเข้าใจว่าหลายคนก็บอบช้ำมากจากเป็นคนคุยแล้วไม่ได้คบ ยิ่งกว่าไม่ได้คบคือยังไม่ทันได้เจอกันเลย มันขึ้นอยู่การตกลงกันและระดับที่ผูกมัดกันด้วยแหละ ยังไงถ้าใครมีประสบการณ์แล้วอยากแชร์ […]

เด็กรุ่นใหม่มีภูมิต้านทานไม่กลัวทัวร์ลง 

อะไรทำให้เด็กรุ่นใหม่มีภูมิต้านทานไม่กลัวทัวร์ลง กล้าที่จะเชื่อในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูก เดี๋ยวนี้โซเชียลไปไวมาก พอพูดคำว่าทัวร์ลง เตรียมเจ๊เกียวมาจอด ถูกแบน หลายคนคงกลัวและพยายามเลี่ยงคอมเมนต์ขึ้นสเตตัสที่ให้แสงจนล่อเป้าตัวเองให้เจอแรงลบกระแทกจากทุกคนจากการถูกคอนเมนต์กลับในเชิงลบ ถึงแม้ตอนนี้กฎหมาย พ.ร.บ.คอมฯ จะถูกใช้อย่างจริงจังและลงโทษอย่างหนักแล้ว แต่เรื่องนี้เราก็มองว่ามันท้าทายกับจิตใจเราหลายอย่างมาก บางครั้งเราสนุกกับการอเสพทัวร์ที่ไปลงกับใครสักคน แต่เราก็หวั่น ๆ กลัวว่าตัวเองจะโดนเหมือนกัน ซึ่งที่ผ่านมาเราก็จะเห็นเคสที่โดนทัวร์ลงหลายเคส ผลกระทบของทัวร์ลงหลัก ๆ คือมันสร้างความบอบช้ำทางอารมณ์และจิตใจให้ที่โดน การรับความคิดเห็นลบ ๆ ในโซเชียล ไม่ว่าจะจากถูกตำหนิ ถูกใช้คำด่า คำหยาบคาย หรือคำแช่งต่าง ๆ จากใครบ้างก็ไม่รู้ที่เราอาจที่ไม่รู้จัก จนทำให้เราให้รู้สึกดาวน์ ติดใจกับคำพูดหลาย ๆ คำ เครียด เสียใจ มูฟออนไม่ได้ กังวล ไปจนถึงซึมเศร้าได้ แต่หลายครั้งเราก็จะเห็นการเปิดพื้นที่ของตัวเองจากแอคเคาท์ส่วนตัวในการต้องรับทัวร์เหมือนกัน เราก็ตั้งคำถามว่าหรือจริง ๆ คนรุ่นใหม่ก็พร้อมที่จะเจอทัวร์จากคนในโซเชียลโดยไม่กลัว เราเลยลองดูจากผลการศึกษาแล้วก็เจอของ McKinsey บริษัทปรึกษาการจัดการระดับโลกที่ทำให้เราเข้าใจมากขึ้นถึงเหตุผลที่ทำไมคนรุ่นใหม่สามารถรับการถูกทัวร์ลงได้ ซึ่งจากรายงานก็บอกว่าคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ Gen Z ก็ไม่ได้มองว่าโลกเชิงบวกเท่ากับคนรุ่นก่อน.เหตุผลเพราะหลายครั้งความต้องการทางสังคมของคนรุ่นใหม่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองหรือรับได้โอกาสได้ยากจากการแข่งขันสูงจากการเรียน การกินอยู่ การทำงาน การเดินทาง การสนับสนุนทางสังคม รวมถึงสังคมในโซเชียลมีเดียที่เป็นความแตกต่างทางที่คนรุ่นใหม่ต้องเจอ ก็ส่งเลยส่งผลให้คนรุ่นใหม่อย่าง Gen […]

เลิกฝันถึง ‘ไอต้าว’ แบบในหนังโรแมนติกที่อินอยู่ได้แล้ว ถ้าไม่อยากโสดทั้งชีวิต

เลิกฝันถึง ‘ไอต้าว’ แบบในหนังโรแมนติกที่อินอยู่ได้แล้ว ถ้าไม่อยากโสดทั้งชีวิต ทั้งที่มีคนคุยหรือใครให้เดทด้วยอยู่ แต่ก็ยังรู้สึกไม่ใช่ เราเคยคิดหรือเปล่าว่าอยากให้อีกคนเป็นแบบที่หวังไว้ อยากถูกทรีทตามบาร์ของตัวเอง อยากให้มีโมเมนต์น่ารัก ๆ หวาน ๆ เหมือนในหนังหรือซีรีส์บ้าง ได้ของขวัญ ดอกไม้ หรือเซอร์ไพรส์บ้าง ทำไมความคิดนี้ถึงต้องระวังเพราะอาจทำให้เราโสดยาวได้ การที่เราตั้งบาร์อยากให้อีกฝ่ายมีส่วนที่เหมือนหรือปฏิบัติกับเราแบบตัวละครในหนังรักที่เราชอบส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์ได้มาก ๆ โดยตรงด้วย มันเป็นเพราะว่าเวลาที่เรามีความสัมพันธ์กับอีกคน เป็นธรรมชาติมากที่เราจะต้องเจอลักษณะนิสัย การกระทำ หรือทัศนคติที่แตกต่างกันในหลายเรื่องได้ กลายเป็นว่าพอมีหลายอย่างที่ยังไม่แมชท์กันช่วงแรก มันก็เลยสร้างผลกระทบกับความคาดหวังที่เรามีอยู่แล้ว ทำให้เรารู้สึกลบกับความสัมพันธ์ที่มีอยู่ ทำให้เราตั้งคำถาม และปิดกั้นตัวเองจากอีกฝ่ายได้ เราเจอข้อมูลสรุปจากวิจัยของ The Medindia Medical ที่พูดถึงประเด็นนี้ไว้น่าสนใจมาก ว่าจริง ๆ หนังรักโรแมนติกอาจจะไม่ได้ทำให้เราคาดหวังแบบนี้ในตอนที่เราโตแล้วเสพมันเท่านั้นแต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าตัวเองว่าได้รับทัศนคติหรือความคิดในการมีความสัมพันธ์จากหนังมาด้วยตั้งแต่ที่ดูหนังตอนเด็กหรือวัยรุ่นแล้ว ในแง่ที่เราจะมีภาพตั้งไว้เป็นความหวัง ทั้งเรื่องเดทครั้งแรก การจะคบใครเป็นคนแรก โมเมนต์ต่าง ๆ ที่อยากให้มีถ้ารักกับใครสักคน ความเชื่อว่ารักอยู่เหนือทุกอย่าง รวมถึงการเข้าหาอีกคนด้วยที่ในหนังรักหลายเรื่องชอบให้เราฟินกับฉากตามจีบ การแอบทำโน่นนี่ให้หรือเซอร์ไพรส์ในแบบที่คาดไม่ถึง อย่างการบุกไปที่ทำงานหรือที่บ้าน ซึ่งจริง ๆ มันเป้นการคุกคามได้เลย แต่หลายคนเข้าใจว่าสามารถทำได้เพราะมันก็เป็นการแสดงความรัก.นอกจากนี้มันยังทำให้เราเซ็ตภาพความสัมพันธ์แบบตายตัวด้วยที่เราคิดว่าเพอร์เฟคตามที่เรามอด้วย มันก็ส่งผลทั้งเรื่องเราอาจจะพยายามเร่งเครื่อง อยากให้ความสัมพันธ์มันพัฒนาไว ๆ จนทำให้อีกคนรู้สึกอึดอัด […]

MOLEDRO ความรู้สึกที่เราผูกพันกับตัวละครในซีรีส์ที่เรารักขนาดนี้

Moledro ความรู้สึกที่เราผูกพันกับตัวละครหรือศิลปินที่รักมากถึงจะไม่มีวันได้เจอกัน เคยเป็นมั้ย ดูหนัง ดูซีรีส์ ฟังเพลง เสพงานแล้วก็รู้สึกผูกพันกับนักแสดงหรือศิลปินคนนั้นขึ้นมาเลย ทั้งที่เขาอยู่กันคนละขอบโลกกับเราหรือไม่ก็มีชีวิตอยู่ตั้งแต่หลายร้อยปีก่อนแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกเหมือนเชื่อมโยงกัน Moledro (โมเลโดร) เป็นศัพท์ที่เกิดขึ้นมาอธิบายความรู้สึกนี้ได้ดีมากถึงการที่เราได้ดูผลงานของศิลปินแล้วรู้สึกผูกพัน ไม่ว่าศิลปินจะเป็นนักเขียน นักร้อง นักวาด จิตรกร ฯลฯ โดยที่เราเสพงานของเขาแล้วเรารู้สึกประทับใจ ตราตรึง จนเอาออกจากหัวไม่ได้ แล้วก็เหมือนมีก้อนมวลอารมณ์บางอย่างเกิดขึ้นในใจไปอีกสักพัก ถึงแม้ว่าศิลปินจะเป็นคนยุคก่อน เคยมีชีวิตและเสียชีวิตไปแล้ว เราก็รู้สึกเชื่อมโยงกับเขา เหมือนเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกเขาในตอนนั้น หรือถ้าเป็นศิลปินที่มีชีวิตอยู่ที่เราไม่มีวันได้เจอก็รู้สึกผูกพันกับเขา รู้สึกเหมือนเติบโตและผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากมาด้วยกัน นอกจากนี้ไม่ใช่แค่ผลงานศิลปะจากศิลปินเชิงวิจิตรศิลป์ (Fine art) หรือผลงานการแสดงเท่านั้น แต่มันอาจจะเป็นผลงานจากใครบางคนที่เราเจอแล้วรู้สึกหลงรัก (Crush) กลับมาก็ยังนึกถึงก็ได้ อย่างเวลาที่เราเดินทางไปเที่ยวแล้วไปเจอภาพวาด เครื่องหมายบางอย่างตามกำแพง บนผนัง ตามต้นไม้ บนหินก้อนใหญ่ บนพื้น หรือแม้แต่กองหินเล็ก ๆ ก็ตาม อยากรู้ใครเคยมีความรู้สึกแบบ Moledro นี้บ้างกับศิลปินหรือนักแสดงคนไหน แชร์กันได้นะ________________________________________   อ้างอิงhttps://bit.ly/3PNZsL7https://bit.ly/3aSlnC2https://bit.ly/3OqcZY1

เราต้องหยุดแค่ไหน ถึงจะทำให้มีใจกลับมาทำงานได้แฮปปี

ทำไมรู้สึกหยุดกี่วันก็ไม่พอ มันต้องหยุดแค่ไหน ถึงจะทำให้มีใจกลับมาทำงานได้แฮปปีสักที 👩🏻‍💻 หมดวันหยุดแล้ว วันนี้วันจันทร์กลับมาโลกแห่งความจริง หลายคนรู้สึกดาวน์และเครียดที่ต้องกลับมาเจองานแบบเต็มวันเป็น 10 ชั่วโมง หลังจากจบทริปไป ทั้งที่การเที่ยวหรือพักผ่อนทำให้เรารู้สึกได้ชาร์จแบตจริง แต่เพราะอะไรเราถึงอยากหยุดเพิ่มอีก มันต้องแค่ไหนถึงจะพอ จากงานวิจัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่บอกว่าถ้าเราทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ (เฉลี่ย 5 วัน วันละ 11 ชั่วโมง หรือ 6 วัน วันละ 9.1 ชั่วโมง) จะทำให้เราเสี่ยงโรคหลายโรค ทั้งโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ความดัน รวมถึงทำให้เกิดความเครียดและกระทบกับสุขภาพจิตด้วยสูงถึง 52% เลย ซึ่งมันก็คือเราหยุดแค่เสาร์-อาทิตย์ หรือวันอาทิตย์วันเดียวด้วยซ้ำ แน่นอนมันทำให้เราเหนื่อยล้าในแต่ละอาทิตย์มากแน่ ๆ ถ้าเรามีลูปแบบนี้ พอมีวันหยุดทีเราเลยเอ็นจอยกับมันมากแล้วพอมันหมดลงเราเลยดาวน์ นี่ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้เราไม่พอใจวันหยุดยาวที่ได้สักที ทีนี้พอลองดูงานศึกษาเพิ่มเติมที่ศึกษาคนที่เป็นคนทำงานกว่า 900 คน คนที่ทำงาน เฉลี่ย 7.6 ชั่วโมงต่อวัน (คิดเป็น 38 ชั่วโมงใน 5 […]

ผู้ชายและผู้หญิงหญิงที่ไม่ชอบหนังเรื่องเดียวกันในที่สุดก็จะเลิกกันในที่สุด

“ผู้ชายและผู้หญิงหญิงที่ไม่ชอบหนังเรื่องเดียวกันในที่สุดก็จะเลิกกัน” จริงหรอ ถ้าไม่ชอบดูหนังเหมือนกันจะคบกันได้ไม่ยาว การดูหนังด้วยกันมันก็คงง่ายแหละ ถ้าดูเรื่องไหนด้วยกันก็ได้ แต่ปกติกว่าเราจะดูหนังสักเรื่องแต่ละครั้งด้วยกัน มันมีการถาม เลือกเรื่อง วางแผน และจัดเวลาว่าง เพื่อมานั่งดูอยู่แล้ว กว่าจะเรื่องเลือกที่อยากดูเหมือนกันได้บางคู่ก็ใช้เวลานานเลย บางทีไม่มีเรื่องที่อยากดูเหมือนกันก็มี เราอยากรู้เหมือนกันว่าที่ ฌ็อง ลุก กอดาร์ พูดไว้จริงมั้ย เรายังไม่ขอตอบข้อสงสัยนี้ แต่ขอชวนทุกคนดูข้อมูลศึกษาพวกนี้แล้วมาคิดไปด้วยกันก่อนผ่านงานวิจัยที่ศึกษาคู่รักที่ใช้เวลาดูหนังด้วยกัน เราลองดูงานที่ตีพิมพ์ใน Journal of Consulting and Clinical Psychology ที่ศึกษาโปรแกรมลดการหย่าร้างของคู่แต่งงาน หนึ่งในวิธีการที่วิจัยเลือกใช้ ก็คือการให้คู่รักดูหนังด้วยกันแล้วพูดคุยกันถึงตัวละคร ความสัมพันธ์ เนื้อในหนังเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง ปรากฎว่าผลลัพธ์ที่ออกมา การดูหนังและคุยกันเกี่ยวกับหนังช่วยลดการหย่าลงได้จริง เหตุผลก็คือพอแต่ละฝ่ายได้นึกคิด คุยกันจากสถานการณ์ในหนัง มันช่วยให้ทั้งคู่ได้เรียนรู้สถานการณ์ในหนังแล้วมาคิดต่อกับเรื่องของตัวเองเลยช่วยลดการทะเลาะและเลิกกันได้ นอกจากนี้ตามที่รอน โรกเก้ (Ron Rogge) ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตวิทยาคลินิก มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ (University of Rochester) สหรัฐอเมริกาก็บอกอีกว่าตั้งแต่ที่มีเรื่องโรคระบาดกับล็อกดาวน์ การดูหนังด้วยกันจากสตรีมมิ่งโดยเฉพาะใน Netflix ต่อให้อยู่ไกลกันก็ช่วยกระชับความสัมพันธ์ได้ แล้วถ้ายิ่งดูหนังโรแมนติกด้วยกันก็ยิ่งทำให้ผูกพันและรักกันมากขึ้นด้วย นี่ก็อาจจะพอตอบคำถามได้ว่าการดูหนังด้วยกันจากหนังแบบเดียวกันทำให้ไปด้วยกันได้ดีกว่า แต่ยังไงก็ตามต่อให้ทั้งคู่จะชอบหนังเรื่องเดียวกัน แนวเดียวกันในตอนนี้ แต่เวลาผ่านไปเราก็อาจจะเปลี่ยนชอบหนังแนวอื่นก็ได้ […]

PROPAGANDA โฆษณาชวนเชื่ออยู่รอบตัว เราต่างเคยเป็นเหยื่อของมัน

Propaganda โฆษณาชวนเชื่ออยู่รอบตัว เราต่างเคยเป็นเหยื่อของมัน ถูกจำกัดความคิดให้อยู่แค่ในสิ่งที่คนมีอำนาจอยากให้เรารู้และเชื่อตามที่ให้เชื่อเท่านั้น บทเรียนจาก The Sea Beast ที่อาณาจักรเติบโตได้จากคำลวง การปกครองพื้นที่จะเป็นเรื่องง่าย ถ้าทุกคนเชื่อฟังและเชื่อในสิ่งที่อยากให้เชื่อ นี่ก็เป็นกุศลอุบายเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับพลังอำนาจในการปกครองที่เราได้เรียนรู้จากแอนิเมชัน เราจะเห็นว่าระบบ Propaganda ในเรื่องถูกใช้ ดังนี้ ใช้เพื่อให้คนในปกครองเชื่อฟังและเกรงใจอำนาจของตัวเอง ใช้เพื่อชักจูงคนในปกครองให้สร้างชื่อเสียงและอำนาจให้ตัวเอง ใช้เพื่อคนในปกครองไปทำลายชื่อเสียงและอำนาจของคนหรือกลุ่มที่ตัวเองต้องการ ใช้เพื่อสร้างความเกลียดชัง ทำให้รู้สึกว่าฝั่งตรงข้ามเป็นภัย อันตราย ต้องสู้และจำกัดทิ้ง ในประวัติศาสตร์ ถ้าเราดูกระบวนการทำงานของ Propaganda ก็เป็นการป้อนข้อมูล ชุดความคิดให้คนในปกครอง ในเมื่อมันคือโฆษณาชวนเชื่อ ผู้โฆษณา (ผู้ปกครอง) ก็จะทำการเลี้ยงข้อมูลให้กับกลุ่มเป้าหมาย (คนในปกครอง) ด้วยสื่อทุกรูปแบบที่ใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นทีวี วิทยุ หนังสือ สิ่งพิมพ์ เพลง โฆษณา การประกาศต่าง ๆ หรือแม้แต่การพูดปากต่อปาก เพื่อชักจูงให้คิดและทำให้ทางเดียวกันโดยที่ข้อมูลเหล่านั้นอาจเป็นสิ่งที่เติมแต่งหรือลวงขึ้นมาก็ได้ ถ้าเปรียบทำงานของสารใน Propaganda เป็นเหมือนอาหารเสริม ผู้มีอำนาจก็เป็นเหมือนคนเลี้ยงดูเรา เราที่เป็นเหยื่อ ถูกป้อนอาหาร เราก็จะถูกสอนให้ต้องกิน ยอมกินเข้าไปด้วยความเชื่อว่าสิ่งที่กินไปเป็นอาหารที่ดี ถูกต้อง ต่อให้ในความจริงมันอาจส่งผลทางลบกับเรา แต่เราก็จะเชื่อว่ามันดีและกินมันต่อไป […]

รู้จัก JOMO มั้ย (Joy of Missing Out) ลองปิดโซเชียลหนีไปทำอะไรที่ชอบ

อยากลองพัก หนีโลกไปปล่อยใจ ไม่ต้องรับรู้อะไรจากโซเชียลบ้างมั้ย เราก็เป็นบ่อยกับที่ผ่านมาที่อยากรู้ว่าทุกคนกำลังดูอะไร พูดเรื่องอะไรกันอยู่ตลอดเวลา อยากตามให้ทัน จนมีบางช่วงที่ติดโทรศัพท์มาก ๆ แบบนั่งไถหน้าจอ เช็คโซเชียลตลอด มันก็สนุกที่ตามเรื่องในโลกได้ทัน คุยกับทุกคนรู้สึก แต่มันก็มีจุดที่เหนื่อยจนอยากพัก เราก็เลยรู้ตัวเองเลยว่ากำลังเข้าลูป FOMO อยู่แน่ ๆ มันไม่ใช่แค่กระทบกับนิสัยการใช้เวลากับโซเชียลของเรา แต่มันส่งผลมายันเรื่องการทำงานของเราด้วย หลายคนก็อาจจะเป็นเหมือนกันที่ต่อให้เป็นวันหยุด ลาพักเที่ยวแล้วแต่เราก็ยังห่วงงานแล้วก็ยังหยุดเล่นโซเชียลไม่ได้ด้วย เรื่องนี้เราเจอข้อมูลยืนยันซ้ำอีก จากผลสำรวจล่าสุดของ LinkedIn ก็รายงานว่าคนทำงานอย่างพวกเรากว่า 70 เปอร์เซ็นต์ก็ยอมรับว่าต่อให้ลางานแล้ว เราก็ยังปปล่อยวางจากขาดเลยได้ เราจะกังวล คอยเช็คงาน เช็คอีเมล และข้อความจากที่ทำงานอยู่ตลอด แล้วก็เหมือนกันด้วย ที่เรายังเล่นโซเชียลหนัก ๆ ต่อให้เป็นทริปไปเที่ยวแบบจะปล่อยใจแต่ก็หยุดที่จะพักจากมันไม่ได้จนรู้สึกเพลียและเหนื่อยล้า ตอนนี้ถ้าเรากำลังรู้สึกตัวว่าเรากำลังเสพติดที่จะต้องรู้เรื่องราวจากโลกโซเชียลตลอด แล้วเราอยากออกมาจากจุดนี้ อยากให้ลองกล้าที่หาทางพัก แบบ JOMO หรือว่า Joy of Missing Out ดู มันก็คือแบบตรงกันข้ามด้วยวิธีหลักคือเราจะต้องกล้าที่จะยอมปล่อยตัวเองให้พลาดบางเรื่องไปบ้างด้วยวิธีพวกนี้  ลองให้ตัวเองไม่ต้องรับรู้ทุกเรื่องที่ทุกคนกำลังสนใจ ทุกกระแสสังคม ตามติดทุกเทรนด์หรือทุกแฮชแท็ก  กำหนดเวลาอยู่กับหน้าจอ การเล่นโซเชียลขอตัวเองดู เพื่อให้มีเวลาได้หยุดพัก วางโทรศัพท์หรือคอมฯ […]

คนโสดร้องไห้แล้ว นอนกอดแฟนแล้วหลับไป ช่วยให้หลับง่ายกว่านอนคนเดียว

คนโสดร้องไห้แล้ว มีใครเป็นบ้าง นอนกอดแฟนแล้วหลับไป หลับง่ายกว่านอนคนเดียว 💤 หลายคนอาจจะสงสัยทำไมตัวเองหรือเพื่อนถึงรู้สึกว่านอนกับแฟน คนรักแล้วหลับง่ายกว่า เรื่องนี้มีคำตอบจากงานศึกษาในวารสาร Social Psychological and Personality Science ที่ศึกษาคู่รักที่อยู่และนอนด้วยกันกว่า 700 คน ตั้งแต่อายุระหว่าง 35-86 ปี พบว่าคู่ที่นอนด้วยกันพร้อมคนรักของตัวเอง มีคุณภาพการนอนที่ดีกว่านอนคนเดียว โดยรู้สึกว่ากังวลกับเรื่องต่าง ๆ ที่เจอมาน้อยลง หลับง่าย สบาย ไปจนถึงฝันดี นอกจากนี้ ในงานศึกษาจากมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก (University of Pittsburgh) สหรัฐอเมริกา ก็ให้ข้อมูลว่าการนอนกอดกันหลับไปนอกจากจะช่วยลดระดับความเครียด ตื่นตัว วิตกกังวลให้กับเราแล้ว การนอนกอดกันในท่าที่ทั้งคู่สบายทำให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย รู้สึกได้อยู่ในอ้อมอกเหมือนได้รับการปกป้อง ปลอบโยน ถ้ายิ่งก่อนนอนมีการเทคแคร์ รีเซ็ตปรับอารมณ์ด้วยกันจนอารมณ์ดี สงบทั้งคู่พอเข้านอนด้วยกันแล้วก็จะยิ่งทำให้รู้สึกผ่อนคลายจนหลับลึกได้ ถ้าอธิบายในทางร่างกายการสัมผัสนอนกอดกันหลับไปมีผลโดยตรงต่อการหลั่งสารเคมีในสมอง ซึ่งคือสารโดปามีน ฮอร์โมนแห่งความสุข และออกซิโทซินที่สูงขึ้น โดยสารนี้เกี่ยวข้องกับความผูกพันธ์ และจะหลั่งทำให้เรารู้สึกดีในเวลาที่มีเซ็กส์ ซึ่งการนอนกอดกันก็สามารถเติมส่วนนี้ได้ รวมถึง จากรายงานของมหาวิทยาลัยเซาท์แคโรไลนา (University of South Carolina) […]

LIVEHOUSE ทางเลือกดูดนตรี ที่ยังขาดแคลนในบ้าน

ทำไม Livehouse เป็นทางเลือกที่ดีในการดูดนตรี ที่ยังขาดแคลนในบ้านเราอยู่ ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมดนตรีในบ้านเราอยู่ได้ เติบโตขึ้นจากวิสัยทัศน์ของผู้จัด ค่าย และตัวศิลปินที่ผลักดันผลงานของตัวเองสู่คนฟังทั้งในประเทศและต่างประเทศ เราเห็นสิ่งนี้มานานมากแล้วว่ามันคือการยืนด้วยขาของตัวเอง ในขณะที่วงการดนตรี ศิลปะได้รับการสนันสนุนจากรัฐน้อยมาก ๆ ยิ่งกับภาพธุรกิจดนตรีขนาดเล็กที่แทบไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเลย ซ้ำยังมีขั้นตอนที่ซับซ้อน ต้องใช้เวลากว่าจะสามารถขออนุญาตจัดงานหรือใช้พื้นที่ได้ ในมุมของผู้ผลิตเองไม่ว่าจะเป็นศิลปินหรือค่ายก็มีความพยายามในการที่ผลักตัวเองให้มีรายได้ อยู่รอด ซึ่งกำลังที่ทำได้ก็ต่างกันตามขนาดของบริษัท จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่การส่งเพลงเข้าตลาดอยากที่จะทำเพื่อให้เกิดรายได้ให้ได้มากที่สุด การทำเพลงเพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดได้ตามที่คนในบ้านพร้อมทาน ย่อยง่าย เพลิดเพลิน ก็ไม่แปลกที่ในแง่ความหลากหลายทางดนตรีจะถูกจำกัดลงจนมีวนเวียนอยู่จำนวนหนึ่ง ตามความต้องการที่จะให้ถึงหูคนฟังแล้วทุกคนพร้อมรับด้วยความคุ้นชิน มากกว่าจะแบ่งเวลามาใช้เพื่อลองชิมดนตรีแบบใหม่ที่ต้องใช้เวลาเสพหรือเวลาทำความรู้จัก เพราะมันแตกต่างไปจากเดิมที่ตัวเองเคยฟัง ทำให้ตอนนี้ความหลากหลายและสไตล์ดนตรีที่ผลิตออกมาเพื่อให้ตอบรับความต้องการคนฟังเลยคลอดออกมาพร้อมกับฟังก์ชันที่ทุกคนจะสามารถฟังแล้วร้องตามได้ ตีความง่าย เข้าติ๊กต็อกได้ ไปอยู่ตามร้าน ผับ บาร์ทุกคนก็พร้อมจะเอ็นจอยกับเพลงได้ทันที มันก็ส่งผลให้เกิดวงจรแบบนี้ซ้ำเรื่อย ๆ สิ่งนี้ส่งผลอย่างไรกับฝั่งผู้ผลิตและศิลปิน ผู้ผลิตเองก็จะต้องพยายามทำเพลง ผลงานที่ขายได้ออกมา ศิลปินก็ต้องเลือกหยิบจับผลงานของตัวเองที่ทุกคนพร้อมรับฟังออกมา ไม่แปลกเลยที่การเสิร์ฟเพลงถึงหูคนฟังก็จะวนเวียนซ้ำเดิมเพื่อตอบสนองความต้องการของคนฟังส่วนใหญ่เหมือนเดิม ในขณะที่การจ้างงานของเจ้าของพื้นที่ ผู้จัดเองก็ต้องเน้นมองหาและเลือกศิลปินที่มีผลงานที่จะสามารถดึงดูดลูกค้าให้มาร้านได้จากการมีฐานคนฟัง มีความน่าเชื่อมากพอว่าในการจ้างแต่ละครั้งจะสามารถดึงคนมาจำนวนตามเป้าที่ตั้งไว้ ขายเครื่องดื่มและอาหารได้จนได้กำไร ทั้งหมดทำให้การฟังเพลง เสพดนตรีจากฝั่งของผู้บริโภคเกิดการหมุนเวียนแบบเดิมดนตรีที่เกิดขึ้นจากงานโชว์ก็จะถูกเข้าถึงจากคนที่อายุ 20 ปีขึ้นไปก่อน ในขณะกลุ่มคนฟังที่อายุน้อยกว่าที่ยังไม่สามารถเข้าสถานบันเทิงได้ก็จะต้องฟังจากออนไลน์ สตรีมมิ่ง และรอฟังตามคอนเสิร์ตหรือเฟสติวัลดนตรีเท่านั้น ซึ่งการเกิดขึ้นของศิลปินสร้างผลงานนอกเหนือจากความต้องการหลักของตลาดผู้บริโภคเลยมีพื้นที่รองรับจำกัด แม้เราจะเห็นว่าตอนนี้ช่องทางออนไลน์เป็นที่นิยมที่จะใช้ประโยชน์พอสมควร แต่การสร้างฐานแฟนคลับที่แข็งแรงก็ยังคงต้องพึ่งการโชว์ดนตรีสดด้วย ซึ่งมันก็จะเกิดขึ้นจากการผลักดันของกลุ่มในวงการขนาดเล็กด้วยกันก่อนที่จะเติบโตขึ้นจนสามารถผลักดันตัวเองสู่ตลาดหลักได้จนทำให้คนฟังได้รับรสชาติแนวดนตรีใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากเดิมมากขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่ไลฟ์เฮาส์ (Livehouse) สามารถเข้ามาเติมเต็มช่องว่างนี้ได้ที่จะช่วยเพิ่มพื้นที่ให้ฝั่งศิลปิน เพิ่มรสชาติของแนวดนตรี ความหลากหลายให้คนฟังได้ชิมสิ่งใหม่เรื่อย ๆ ก่อนสร้างความคุ้นเคย การเปิดรับ และถูกป้อนเข้าสู่ตลาดที่กำลังแข็งขันกันอยู่ ในวันที่ทุกคนถามถึงพื้นที่เล่นดนตรีที่มีคุณค่า […]