ทำไมรู้สึกเศร้าเวลาฝนตก ? ชวนทำความรู้จักโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

ทำไมรู้สึกเศร้าเวลาฝนตก ? ชวนทำความรู้จักโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

เคยเป็นไหมที่รู้สึกเศร้า เหนื่อยล้า ไม่อยากพูดคุยกับใคร และรู้สึกอยากแยกตัวจากสังคม โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวหรือฤดูฝน ไม่แน่ว่าคุณอาจเป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลหรือ Seasonal Affective Disorder (S.A.D) ก็ได้นะ ☔ งานวิจัยของต่างประเทศบอกว่า แสงแดดมีผลต่อการใช้ชีวิต เนื่องจากมีวิตามิน D ที่ส่งผลต่อการหลั่งสารสื่อประสาทอย่างเซราโทนิน (Seratonin) หรือสารเคมีแห่งความสุข เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูที่มีแสงแดดน้อย ไม่ว่าจะฝนตก เมฆครึ้ม อากาศหนาว สภาพแวดล้อมนั้นอาจส่งผลให้เซราโทนินหลั่งผิดปกติ ทำให้เราอารมณ์อ่อนไหว หรือเศร้าง่ายมากขึ้น แถมการขาดแสงแดดอาจกระตุ้นการผลิตเมลาโทนิน (Melatonin) มากเกินไปในบางคน โดยปกติแล้วร่างกายจะหลั่งสารนี้ในเวลากลางคืนเพื่อให้ร่างกายเกิดความต้องการนอนหลับ เพราะงั้นฤดูกาลที่เปลี่ยนไปอาจทำให้สารในร่างกายเปลี่ยนแปลง เราจึงอาจรู้สึกเฉื่อยชา เหงาซึม หรือง่วงนอนมากกว่าเดิม ถ้าเรารู้ตัวว่าเริ่มรู้สึกเศร้าเพราะปัจจัยเหล่านี้ อยากให้ลองปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เริ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่สร้างความผ่อนคลาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเพื่อให้เหงื่อออกสักหน่อย แม้แต่การพักผ่อนที่เพียงพอ หรือฟังเพลงที่ชอบก็สามารถช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าตามฤดูกาลนี้ได้ หากรู้สึกว่าไม่ไหว การรักษาด้วยการเข้าพบนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ก็ไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่จะทำให้เราได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ที่สำคัญอย่าลืมนะ ไม่ว่าอากาศจะเป็นอย่างไรก็ควรรักษาสุขภาพกายและสุขภาพใจให้มีความสุขอยู่เสมอ 

LAW OF DETACHMENT ศิลปะแห่งการตัดขาด ศาสตร์ของการใจดีกับตัวเอง

Law Of Detachment ศิลปะแห่งการตัดขาด ศาสตร์ของการใจดีกับตัวเอง

ถ้าตรงนี้คือการนั่งคุยกันแบบเพื่อน เราอยากถามว่าช่วงนี้เป็นยังไงบ้าง รู้สึกว่าตัวเองกำลังแบกรับอะไรเต็มไปหมดอยู่รึเปล่า แล้วมีเรื่องไหนที่อยากทิ้งมันไหม  ในความกังวลของเรา รู้สึกไหมว่ากำลังติดกับดักที่กดดันตัวเองให้ประสบความสำเร็จเรื่องชีวิต เรียน งาน หรือความสัมพันธ์ โดยที่ต่อให้เราคิดว่าทำในส่วนของตัวเองดีที่สุดแล้วแต่เราก็ยังปล่อยวางไม่ได้ ทำไมเราไม่มีใจตัดขาดจากสิ่งนั้นสักที การปล่อยวาง ยากตอนตัดสินใจเริ่มต้นเพราะเราต้องเรียนรู้ที่จะให้สเปซกับตัวเอง เพื่อทิ้งเรื่องที่เราแบกรับไว้ ทิ้งสิ่งที่เราเคยคาดหวังกับตัวเองลง ขึ้นอยู่กับแต่ละเรื่องด้วยว่าสิ่งที่เราจะทิ้งไปนั้นมันต้องใช้พลัง เวลา และความกล้าแค่ไหน เมื่อไหร่ที่จะรู้ว่าถึงเวลาที่เราต้องตัดขาดแล้ว ถ้าเต็มไปด้วยความกังวล ท็อกซิก ลองคุยกับตัวเองว่าสิ่งนั้นส่งสัญญาณยังไงกับเรา ทำให้เรารู้สึกยังไง ณ ปัจจุบัน เรารู้สึกเหมือนความสุขและความปลอดภัยทางใจของตัวเองถูกหยิบหายไปเรื่อย ๆ นั่นคือจุดตัดที่ทำให้เรารู้กับตัวเองแล้วว่า ถึงเวลาที่เราต้องทิ้งความสัมพันธ์ นอกเหนือจากนี้เราต้องพิจารณาดูด้วยว่าสิ่งที่เราอยากทิ้งเป็นเรื่องแบบไหน เราควรปล่อยวางลงเพื่อให้ตัวเองได้พักสักระยะก่อนที่จะกลับไปเริ่มต้นกับมันอีกครั้ง หรือควรตัดขาดและไม่กลับไปมองหามันอีกเลยเพื่อตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ งาน หรือเรื่องไหนก็ตาม เราต้องรู้จักวางมันเพื่อโอบอุ้มตัวเองไว้ ในที่สุดท้ายที่เราตัดขาดอย่างสมบูรณ์ นั่นคือช่วงเวลาที่เราได้เติบโต หันกลับมาใจดีตัวเองนะ

TRUMAN SYNDROME ความรู้สึกสูญหาย เมื่อเราเคยคิดว่าโลกจ้องมองเราอยู่ตลอด

TRUMAN SYNDROME ความรู้สึกสูญหาย เมื่อเราเคยคิดว่าโลกจ้องมองเราอยู่ตลอด

เพื่อนหลายคนอาจจะเคยได้ยินนิยามของ Truman Syndrome ว่าเป็นกลุ่มอาการจิตเวชของคนที่รู้สึกสูญหายกับตัวเอง วิตกกังวลว่าตัวเองอยู่หน้าม่านของการถูกจ้องมองและถูกวางแผนชีวิตจากใครสักคนอยู่แบบทรูแมนโชว์ ในความคิดของทรูแมนซินโดรมจะเชื่อว่าตัวเองเป็นตัวเอกที่ถูกจ้องมอง แคร์คนอื่นน้อยลง บุคลิกภาพนี้มีทั้งความพิเศษและสิ่งที่น่ากังวล คนที่มีอาการหลายคนมีมนุษย์สัมพันธ์กับคนรอบตัวได้ดีมาก รู้จักการเข้าสังคม และการวางตัวต่อสาธารณะชน แต่อีกหลายคนก็มีบุคลิกภาพที่แยกตัวเนื่องจากมีความกลัวต่อการจะถูกจ้องมอง จับตาดู ซึ่งแย่ที่สุดคือ มีความคิดไม่ยอมรับตัวเอง รู้สึกสูญหาย และอยากหายไปจากโลกใบนี้ และด้วยความคิดที่กลัวตัวเองตกเป็นเป้าของการมองและการตัดสินในความคิดของคนอื่น สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด อย่างที่พูดไปก่อนหน้าว่าทรูแมนซินโดรมเมื่อเกิดความรู้สึกสูญหายกับตัวเอง อาจจะนำไปสู่ความทุกข์ทรมานทางอารมณ์ ความเสี่ยงในการเป็นซึมเศร้าสูงตามด้วย พร้อมกับความรู้สึกสุดท้ายที่รู้สึกว่าโลกนี้ไม่มีอะไรที่เป็นของจริง ปัจจุบันทรูแมนซินโดรมแทรกซึมเกิดขึ้นกับคนที่ได้รับผลกระทบจากโซเชียลมีเดียค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะคนที่มีความกังวลกับภาพลักษณ์ของตัวเองต่อคนอื่นแต่ก็ยังคงต้องการสนใจจากคนอื่นด้วยเช่นกัน ยิ่งคนบุคลิกภาพนี้อยู่ในแสงที่คนสนใจมากเท่าไหร่ ก็มีโอกาสที่จะเกิดภาวะนี้ขึ้นได้ ประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ภูมิต้านทานทางสังคม การเลี้ยงดู สุขภาพจิตพื้นฐาน ซึ่งในรายงานก็พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับภาวะหลงตัวเองด้วย ตอนนี้ทรูแมนซินโดรมถูกจัดอยู่ในกลุ่มอาการจิตเวชที่ต้องได้รับการปรึกษาและรักษาจากจิตแพทย์ ร่วมกับการกินยา ซึ่งนี่เป็นข้อมูลบางส่วนของทรูแมนซินโดรม หากเพื่อมีใครที่กังวลว่ามีความเสี่ยงหรือมีหลายจุดที่ดูคล้ายกับภาวะนี้ อยากแนะนำให้เข้าไปพูดคุยอย่างจริงจังกับนักจิตวิทยาและจิตแพทย์นะ

ALL OF US เพลงแก้ปวดหลังกับชาวออฟฟิสซินโดรม

ALL OF US เพลงแก้ปวดหลังกับชาวออฟฟิสซินโดรม

“All Of Us” เพลงแก้ปวดหลังที่นักวิจัยออกแบบ ยืนยันแล้วจาก 200 กว่าคน ฟังแล้วช่วยได้จริง เหมาะกับชาวออฟฟิศซินโดรม 🎵 ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าดนตรีถูกใช้ในแง่ของการบำบัดทั้งทางจิตวิทยา รวมถึงให้ความผ่อนคลายจากความเครียด แต่ความอัศจรรย์ของเพลงที่หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยรู้ คือ เพลงช่วยลดความเจ็บปวดได้ หลายครั้งเพลงก็ถูกในการผ่าตัดและทำคลอด นี่เลยเป็นไอเดียเริ่มต้นที่ McCann London ใช้สร้างโปรเจกต์ร่วมกับดร.แคลร์ ฮาวลิน (Claire Howlin) นักวิจัยเชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาในมหาวิทยาลัยดับลิน (University College Dublin) ร่วมกันออกแบบเพลงนี้ใช้ชื่อว่า All Of Us ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 286 คน ที่กำลงัรู้สึกปวดหลัง ปวดหัว ปวดตัว และปวดกล้ามเนื้อทั่วไป เพลงนี้ที่สามารถช่วยปวดหลังเราได้ ถูกอธิบายว่ามันเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ของเสียงที่ในเพลงเป็นดนตรีบรรเลงที่มีการใส่เครื่องสายเป็นหลัก พร้อมกับเปียโน และระฆัง ช่วยเราให้เวลาฟังแล้วรู้สึกเบา กว้าง ผ่อนคลายเป็นพิเศษ จนสมองลดความสนใจจากการปวด ทำให้หลั่งสารโดปามีนออกมาช่วยให้เรารู้สึกสบายตัวมากขึ้น ลองฟังดู bit.ly/456KoAs แล้วบอกหน่อยว่ากับตัวของเพื่อนเอง เพลงนี้ช่วยลดปวดหลังได้จริงไหมที่มันด้วยโน้ต บีต และซาวด์แบบนี้ 

5 ปี 10 ปี ไม่มีความฝัน ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะทุกคนมีจังหวะชีวิตเป็นของตัวเอง

5 ปี 10 ปี ไม่มีความฝัน ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะทุกคนมีจังหวะชีวิตเป็นของตัวเอง เราถึงเอาไม้บรรทัดแห่งความสำเร็จไปใช้วัดใครไม่ได้ จากประเด็นที่ครีเอเตอร์คนหนึ่งแชร์ประสบการณ์ที่อยากให้ทุกคนรู้จักการวางเป้าหมายชีวิตในอนาคต 5-10 ปี ข้างหน้าของตัวเองพร้อมกับแสดงความคิดเห็นว่าไม่ให้โทษระบบสังคม เศรษฐกิจโลก และการเมือง แต่ให้เริ่มขวนขวายด้วยตัวเอง ในเมื่อแต่ละคนมีต้นทุนทางเศษฐกิจไม่เท่ากัน เพื่อนคิดว่าความคิดนี้น่ากลัวแค่ไหน  หากเรามองภาพกว้างว่าทุกวันนี้ว่าในโลกโซเชียลมีเดียพยายามเสนอภาพและหล่อหลอมชุดความสำเร็จให้ทุกคนมานำเสนอด้วยกัน สิ่งนี้สามารถสร้างได้ทั้งแรงผลักดัน แรงบันดาลใจ และแรงกดดันกับคนตัวเล็กที่กำลังพยายามอยู่จากต้นทุนที่ตัวเองมี อีกอย่างที่จะไม่นึกถึงไม่ได้ คือ ปัจจัยสังคมที่ส่งผลกับชีวิต ความฝันของแต่ละคน ไม่ว่าจะเรื่องครอบครัว ภาระที่หักรายได้ ชุมชน ประกันชีวิต ทุนสังคม และสวัสดิการ ที่เข้าถึงได้ไม่เท่ากันตามการอยู่อาศัย รวมถึงเรื่องการเมืองด้วย ซึ่งมันมีเรื่องเชื่อมโยงกันมันเยอะมาก ซึ่งแต่ละปัจจัยก็กดทับแต่ละคนไม่เท่ากันอีก แล้วจะตัดสินขาดได้อย่างไรว่าทุกคนควรมีเป้าหมายชีวิตที่เป็นสเต็ปก้าวหน้าแบบนั้น แรงกดที่แต่ละคนแบกรับนั้นค่อย ๆ หักกำลัง แพสชัน ความฝัน และต้นทุนที่มีลงเรื่อย ๆ โดยที่ยากด้วยซ้ำที่จะเตรียมการทุนสำรองชีวิตในอนาคต แค่ใช้ชีวิตประจำวันให้ผ่านไปได้อย่างดีก็น่าชื่นชมมากแล้ว เราเชื่อเสมอว่า เราแต่ละคนมีช่วงเวลาเติบโตเป็นของตัวเอง รวมถึงมีโอกาสที่จะได้ค้นหา ลองผิดลองถูกตามแผนที่ตัวเองวางไว้อย่างปลอดภัย แม้จะเจอความล้มเหลวหรือความรู้สึกท้อใจก็ไม่ใช่การตัดสินว่าเราไม่ได้พยายาม ดังนั้นไม่ว่าเพื่อนจะมีชีวิตอย่างไร วางแผนอนาคตหรือกำลังตั้งใช้ชีวิตในตอนนี้อยู่โดยไม่ได้มีเป้าหมาย เราก็ชื่นชมในแบบนั้น 에그벳 구독자 […]

Atelophobia ไม่รู้จะก้าวข้ามกำแพงนี้ยังไง เรากลัวตัวเองดีไม่พอ

ในโลกที่สอนให้ทุกคนไม่ยอมแพ้ แข่นขันกับตัวเอง ทุกคนมีฟีดโชว์แสดงความสำเร็จ เรากลับรู้สึกสูญหาย ตัวเล็กลงเรื่อย ๆ กลัวตัวเองดีไม่พอ และยากเวลาที่ต้องแบกรับอะไร ทำความเข้าใจ Atelophobia ภาวะที่เมื่อเราเข้าสู่ความคิดของการรู้สึกหล่นหาย สงสัยในความสามารถของตัวเอง กลัวดีไม่พอเวลาที่จะเริ่มต้นทำอะไรก็ตามแม้แต่เรื่องเล็ก ๆ ถ้าต้องเลือกระหว่างลองทำ ลองผิดลองถูกก็เลือกไม่ทำไปเลยดีกว่า เลี่ยงทุกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะทำให้ตัวเองรู้สึกว่าสุดท้ายจะทำได้ไม่ดีพอ ความน่าเป็นห่วงคือภาวะนี้มีมีเอฟเฟกต์กับร่างกายเกิดกับแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งมีทั้งใจสั่น นอนไม่หลับ เหงื่อออก ขาดสมาธิ ย้ำคิดย้ำทำ ไปจนกระทบกับจิตใจเกิดความวิตกกังวลระดับรุนแรงที่ต้องปรึกษาแพทย์และใช้ยาร่วมด้วย  จะเห็นว่า Atelophobia เป็นส่วนหนึ่งของโรควิตกกังวล ถ้าจะพูดว่าสาเหตุของภาวะนี้เพราะคนที่เป็นมีภูมิต้านทานต่อการเผชิญหน้าและความกลัวน้อยอาจจะไม่ใช่ทั้งหมด การเติบโตจากเลี้ยงดูที่เข้มงวดตั้งแต่เด็ก การเจอสถานการณ์จากบุคคลที่ 3 ที่ทำให้ตัวเองฝังใจเวลาที่ตัวเองลงมือทำบางอย่างจนรู้สึกแย่ที่สุดเวลาที่ตัวเองล้มเหลวก็ส่งผลให้เกิด Atelophobia ได้เหมือนกัน ทุกคนมีความอ่อนไหวและการตั้งความหวังกับตัวเองกับตัวเองไม่เหมือนกัน ความกลัวต่อการทำทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหนก็ตาม เราเข้าใจนะ สิ่งที่จะช่วยได้ คือ คนใกล้ตัวก็ต้องเข้าใจ เปิดพื้นที่ให้มีเวลาตัดสินใจได้อย่างคอมฟอร์ต ถึงจะทลายความกลัวพวกนี้ได้

วิจัยบอกสายใยแห่งสัมพันธ์ ถ้าเพื่อนเครียด เราจะเครียดไปด้วย

วิจัยบอกสายใยแห่งสัมพันธ์ ถ้าเพื่อนเครียด เราจะเครียดไปด้วย มีใครรู้สึกว่าเป็นแบบนี้บ้าง ถ้าเพื่อนในกลุ่มเครียดสักคนไม่ว่าจะเรื่องงาน เงิน สุขภาพ ความรักหรือครอบครัว เรื่องไหนก็ตาม คนในแก๊งก็จะกังวลด้วย  น่าสนใจเพราะเรื่องนี้มักเกิดขึ้นกับกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่วัยทำงานถึงช่วงอายุ 28 ปี จากงานศึกษานักวิจัยเจอว่า ความเครียดของคนนั้นจะส่งผลกับเพื่อนที่อยู่ในกลุ่มด้วย ยิ่งถ้าทุกคนมีความเครียดกันหมด ระดับความของกลุ่มจะพุ่งสูงขึ้น ส่วนเหตุผลที่ความเครียดระดับบุคคลถ่ายทอดเชื่อมโยงกันในกลุ่ม นักวิจัยอาจระบุชัดเจนเลยไม่ได้ แต่ตั้งข้อสังเกตใช้แนวคิดจิตวิทยาความสัมพันธ์มนุษย์อธิบายว่า อาจเพราะพื้นฐานเวลาที่เรารู้สึกมีส่วนร่วมกับกลุ่ม เราจะพยายามทำความเข้าใจสถานการณ์ของคนอื่น และสังเกตอารมณ์เพื่อนเพื่อช่วยปลอบใจหรือหาทางออกให้ ซึ่งมันเป็นเหมือนอิทธิพลทางอารมณ์ร่วมกันนั่นเอง ที่สำคัญงานวิจัยชิ้นนี้เล็งจะศึกษาต่อกับช่วงอายุที่มาขึ้นอยู่ ส่วนทางออกที่นักวิจัยมองเห็นถ้าทั้งกลุ่มมีความเครียดสูงด้วยกันจนไม่มีใครผ่านมันไปได้ ก็คือการให้การปรึกษาแบบกลุ่มจากนักจิตวิทยาจะเป็นวิธีที่ช่วยได้จริงที่สุด อยากรู้เหมือนว่าถ้าเป็นวัยผู้ใหญ่เลยยังมีการเชื่อมโยงความเครียดในกลุ่มเพื่อนเหมือนกันไหม ถ้าไม่ ก็น่าคิดต่อเพราะว่าเพราะอะไร จะเกี่ยวข้องกับการที่รู้สึกร่วมกับกลุ่มน้อยลงตามวัยหรือเปล่า ทุกคนคิดยังไงบ้าง มีใครที่เพื่อนเครียดแล้วเครียดตามด้วยไหม

เราไม่อดทน หรือแค่กล้าออกมาเมื่อรู้ตัวเอง

เด็กสมัยนี้ไม่อดทนหรือกล้าที่จะออกมาจากสิ่งที่ตัวเองรู้ว่าควรล้มเลิก หนึ่งในเรื่องที่เราเจอเยอะมากในตอนนี้ เพื่อนรอบตัวจำนวนไม่น้อย กำลังตั้งคำถามกับสิ่งตัวเองอดทนอยู่ และความรู้สึกหลงทางในการค้นพบตัวเอง ไม่แน่ใจว่าตัวเองทำอะไรได้ดีหรือสิ่งที่ชอบจะทำให้เลี้ยงตัวเองและเป็นทุนสำรองในชีวิตให้รู้สึกปลอดภัยได้ยังไง การทำงาน สถานการณ์ครอบครัว และสภาพสังคม เป็นตัวหลักที่หลอมรวมความหนักอึ้งของความรู้สึกที่สับสนกับตัวเอง เมื่อต้องอยู่ในจุดที่ตัดสินใจเลือกในแต่ละทาง อดทนกับงานที่ตัวเองหมดไฟเพื่อเลี้ยงปากท้อง อยู่ในอำนาจของผู้ใหญ่ในบ้านเพื่อแสดงความกตัญญู ใช้ชีวิตอย่างปกติในเมืองโดยที่ปล่อยให้สิทธิพื้นฐานโดนกัดกิน หรือกล้าหาญที่จะออกมา  ในสายตาของคนที่อยู่มาก่อน การล้มเลิกส่วนใหญ่ถูกมองเป็นการขบถและการยอมแพ้ ถูกมองว่าเราไม่อดทน ปรับตัวไม่ได้กับสภาพแวดล้อมสังคมที่เป็นชีวิตจริงในแบบผู้ใหญ่ การตัดสินก้าวออกมาจากสิ่งที่ตัวเองรู้ว่าไม่ทนอีกต่อไปมักถูกเสียงไล่หลังว่า นี่แหละเด็กรุ่นใหม่ที่ไม่รู้จักอดทน มันเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า ถ้าเราบอกว่าไม่ใช่ แต่มันคือความกล้าหาญที่จะมีพื้นที่ให้ได้ค้นหาและรักตัวเอง สำหรับทุกการล้มเลิกที่กำลังหาเส้นทางเริ่มต้นใหม่ต่างหาก คิดยังไง ทำไมเราถึงพูดว่ามันคือความกล้าหาญ เพราะทุกเสียงจากเรื่องที่เราได้ฟัง การล้มเลิกต้องใช้ความกล้าอย่างที่สุดในการตัดสินใจครั้งใหญ่ที่จะเดินออกมาจากที่เดิมที่คุ้นเคย สุดท้ายการพูดว่าการล้มเลิกคือการถอดใจ การอดทนเป็นของคนชนะเท่านั้น มันอาจจะไม่ใช่ คำพูดนี้สร้างวัฒนธรรมการอดทนอดกลั้นที่น่ากลัว ทุกคนมีปลายทางที่สำเร็จได้จากการรู้ว่าอะไรที่สิ่งที่ใช่กับตัวเอง ดังนั้น ไม่ใช่ไม่อดทนไม่ทน แต่เราไม่ทรยศความรู้สึกตัวเอง

Hoarding Disorder โรคชอบเก็บของจะทิ้งก็เสียดาย ได้แต่เก็บไว้

ผ่านมากี่ปี ของในห้อง ของในบ้านที่กองสุมไว้เยอะขึ้นกว่าเดิมแค่ไหนแล้ว สงกรานต์หยุดยาวนี้มีแผนจะกลับไปเคลียร์ไหม หรือมองว่านั่นคือของที่ไม่กล้าทิ้ง 🚮 Hoarding Disorder คำนิยามถึงคนที่ชอบเก็บของไม่ยอมทิ้งอะไรว่าเป็นโรคทางจิตเวทอย่างหนึ่ง จากจุดเริ่มต้นเป็นคนสะสมของที่ตัวเองรัก สนใจ จนกินพื้นที่อาศัยของตัวเองเรื่อย ๆ ไปสู่การเริ่มเก็บสะสมสิ่งอื่นตามด้วยเหมือนกันและไม่กล้าทิ้ง น่าติดตาม รายงานศึกษามองว่าพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นเยอะในคนที่สูงอายุ แต่คนรุ่นใหม่โดยเฉพาะวัยกลางคนจำนวนมากก็อาจกำลังเผชิญกับการเป็นโรคนี้ด้วยเหมือนกันจากการสะสมของที่ตัวเองช้อป ใช้เงินจับจ่ายมา แล้วไม่กล้าเก็บแพคเกจทิ้งหรือเคลียร์ทำความสะอาด นอกจากนี้ในขั้นรุนแรงของ Hoarding Disorder ก็จะเริ่มกลายเป็นเก็บของทั่วไป ของที่ไม่มีมูลค่า เศษกระดาษ ขยะต่าง ๆ ไปจนสัตว์มีชีวิตด้วย จากนั้นจะรู้สึกอยากใช้เวลาอยู่แค่กับพื้นที่นี้ เริ่มเลี่ยงแสง และปลีกตัวอยู่คนเดียวกับของที่เก็บไม่อยากพบปะใคร จิตแพทย์มองว่ามันคือโรคที่เกี่ยวเนื่องกับโรควิตกกังวล โรคสมาธิสั้น โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือโรคซึมเศร้า ดังนั้นการแก้ไขและรักษามีวิธีที่ดีสุดคือการเข้าพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัย กินยา และทำแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ถ้าเริ่มสังเกตว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวจะเป็น Hoarding Disorder ก็อยากให้คุยกันนะว่ามันอันตราย มีผลกระทบกับสุขภาพแน่นอนด้วยเชื้อโรคจากของที่สะสม แล้วชวนไปคุยเพื่อวางแผนรักษาหรือจิตแพทย์นะ

เดทแรก เลี้ยงข้าว VS แชร์กัน ? เมื่อความเป็นเพศแฝงอำนาจในความสัมพันธ์

เดทแรก เลี้ยงข้าว VS แชร์กัน ? เมื่อความเป็นเพศแฝงอำนาจในความสัมพันธ์

เดทแรก เลี้ยงข้าว VS แชร์กัน ? 💏 ถึงที่ผ่านมาระบบอำนาจและระบบความเชื่อในโลกธุรกิจยังแฝงด้วยมุมมองเรื่องเพศ และผูกติดอยู่กับแนวคิดชายเป็นศูนย์กลาง (Androcentric) เพราะคำว่าสุภาพบุรุษที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยที่ทำให้เกิดชุดความคิดของที่คาดหวังการเป็นดูแลอีกฝ่าย ทำให้ผู้หญิงและคนที่มีความหลากทางเพศถูกมองว่ามีอำนาจน้อยกว่าในที่สาธารณะ และความสัมพันธ์ ย้อนกลับไปใกล้ ๆ ที่มีผลสำรวจเมื่อสองปีก่อนความเชื่อที่ว่าเดทแรกผู้ชายควรเป็นคนจ่ายก็ยังสูง 78% แล้วเป็นฝั่งผู้ชายที่เชื่อเองด้วย เพราะไม่อยากรู้สึกผิด รวมถึงรู้สึกว่ามันเป็นวิธีการที่จะปกป้องและแสดงความมีน้ำใจกับอีกฝ่าย แต่ถึงตอนนี้ที่เราตระหนักในเรื่องของความเท่าเทียมทางเพศ มันก็ทลายความเชื่อเดิม เพศไหนก็หารายได้และมีอาชีพเป็นของตัวเองแล้ว ดังนั้น นอกเหนือจากการตกลงแชร์ค่าใช้จ่ายอย่างเท่า ๆ กันเวลาออกเดทที่ถูกมองว่าแฟร์ที่สุดกับทั้งสองฝ่าย มันก็อาจจะเป็นความเต็มใจของฝ่ายหนึ่งที่อยากจะซัพพอร์ตในเดทนั้น เรามองว่าเรื่องนี้คุยกันต่อได้ เพื่อนแต่ละคนคิดยังไงบ้าง